Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62659
Title: การบริหารโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของกรมโยธาธิการ : ศึกษาเฉพาะกรณีการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
Other Titles: Large Scale Project Management of Public Works Department : A Case Study of King Taksin Bridge Construction
Authors: วินัย สิทธิมณฑล
Advisors: ไพโรจน์ สิตปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การบริหารโครงการ
กรมโยธาธิการ
โครงการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาในการพัฒนาประเทศที่สำคัญประการหนึ่งคือ การใช้สอยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้สิ้นเปลืองไปโดยไม่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จะเห็นได้ชัดเจนกรณีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐบาลซึ่งใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่ผลการดำเนินงานโครงการมักจะล่าช้าไม่สำเร็จตามแผนการที่กำหนดไว้ บางครั้งไม่ทันต่อการแก้ไขปัญหา ทำให้วงเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และประชาชนต้องสูญเสียโอกาสที่จะได้ใช้สอยสิ่งก่อสร้างตามเป้าหมาย ซึ่งถ้าพิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแล้วจะเป็นเงินจำนวนมาก ความสูญเสียต่างๆดังกล่าวนี้แม้จะเป็นการสูญเสียที่ไม่ผิดระเบียบของทางราชการแต่ก็ไม่ถูกต้องตามลักษณะการบริหารโครงการที่ดี หากรัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องจะสามารถลดความสูญเสียดังกล่าวได้แล้ว จะช่วยให้การพัฒนาประเทศเป็นไปในลักษณะประหยัดและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เลือกศึกษาการบริหารงานโครง[การก่อ]สร้างขนาดใหญ่ของกรมโยธาธิการ โดยศึกษาเฉพาะกรณีการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อทราบขั้นตอนการดำเนินงานก่อสร้างขนาดใหญ่ของกรมโยธาธิการเฉพาะโครงการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2. เพื่อตรวจสอบว่าการบริหารงานโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของกรมโยธาธิการเป็นไปในลักษณะใด สอดคล้องหรือใกล้เคียงกับหลักการหรือทฤษฎีการบริหารโครงการหรือไม่ 3. เพื่อให้ทราบถึงปัญหาข้อขัดข้องที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความล่าช้าของโครงการ 4. เพื่อให้ทราบถึงปัญหาในข้อ 3 โดยเปรียบเทียบกับหลักการทางทฤษฎีการบริหารโครงการ เพื่อจะได้เสนอข้อคิดเห็นและคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของทางราชการต่อไป จากการศึกษาพบว่า โครงการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นส่วนหนึ่งของโครงการถนน 10 ปี สำหรับพระนครและธนบุรี กำหนดเริ่มงานก่อสร้างในปีพ.ศ.2514 และกำหนดแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2516 แต่ข้อเท็จจริงปราก[ฏ]ว่างานก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีพ.ศ.2526 หลังกำหนดตามเป้าหมายประมาณ 10 ปี สาเหตุแห่งความล่าช้าสามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 ระยะคือ ก.ระยะเตรียมการก่อสร้าง มีปัญหาดังนี้ 1. การเลือกสถานที่ก่อสร้าง เนื่องจากมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดระบบการจราจรในกรุงเทพมหานครหลายหน่วยงานกว่าจะตกลงกันได้ว่าควรจะสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ปลายถนนสาธรต้องเสียเวลาไป 2 ปีเศษ 2. การเลือกชนิดของตัวสะพาน คณะผู้สำรวจออกแบบเบื้องต้นได้เสนอให้สร้างสะพานแบบปิด-เปิดได้ แต่คณะเจ้าหน้าที่ของธนาคารพัฒนาแห่งเอเซียซึ่งรัฐบาลจะกู้เงินมาใช้ในการก่อสร้างเห็นว่าควรสร้างสะพานแบบปิดตายจะลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 300 ล้านบาท รัฐบาลจึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นชุดหนึ่งเพื่อศึกษาความเหมาะสมเป็นไปได้ และในที่สุดได้เลือกสร้างสะพานแบบปิดตายโดยให้กรมอู่ทหารเรือย้ายอู่ซ่อมเรือไปที่ป้อมพระจุล กิจกรรมต่างๆดังกล่าวนี้ต้องเสียเวลาพิจารณาไปประมาณ 2 ปี 3. การหาแหล่งเงินกู้ ระยะแรกรัฐบาลได้ติดต่อขอกู้เงินจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย จนถึงขั้นที่ธนาคารได้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจความเหมาะสมของโครงการและได้แนะนำให้สร้างสะพานแบบปิดตายดังกล่าวแล้ว แต่ในระยะหลังกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการแห่งญี่ปุ่น (O.E.C.F.) ได้เสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกว่า รัฐบาลจึงตกลงกู้มาดำเนินการซึ่งต้องมีการทบทวนการดำเนินงานกันใหม่ และเสียเวลาไปประมาณ 3 ปี 4. การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทำให้คณะกรรมการบริหารโครงการต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย การทำงานไม่ต่อเนื่องและเกิดความสับสน ข. ระยะดำเนินการก่อสร้าง มีปัญหาสำคัญดังนี้ 1. การเวนคืนที่ดิน ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากนายกรัฐมนตรี ดำเนินการต่างหากจากคณะกรรมการบริหารโครงการซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเวนคืนที่ดินไม่สอดคล้องกับแผนการก่อสร้าง เพราะขณะที่กรมโยธาธิการได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างนั้นยังไม่สามารถเวนคืนที่ดินและมอบพื้นที่ดินสำหรับก่อสร้างให้ผู้รับจ้างเหมาดำเนินการได้ทั้งหมด ความยุ่งยากในการเวนคืนที่ดินเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการก่อสร้างและต้องต่ออายุสัญญาออกไปอีก 256 วัน ถึงกระนั้นงานก่อสร้างก็ไม่แล้วเสร็จตามสัญญา ปัญหาสำคัญเนื่องจากผู้ถูกเวนคืนเห็นว่าทางราชการกำหนดค่าทดแทนให้น้อยเกินไปกว่าจะเบิกได้ก็ล่าช้าไม่สามารถจะจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ได้ทันกับความต้องการของราชการ ฝ่ายเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเวนคืนเห็นว่าการเวนคืนมีปัญหาเนื่องจากข้อกฎหมายกรณีที่มีการขัดขืนไม่ยอมรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างออกจากเขตก่อสร้าง เจ้าหน้าที่ก็ไม่มีอำนาจใดๆ เข้าจัดการ และการกำหนดค่าทดแทนก็ต้องดำเนินการภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดซึ่งทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับค่าทดแทนต่ำมาก 2. การรื้อย้ายสาธารณูปโภค ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภค เช่น ประปา ไฟฟ้าและโทรศัพท์ บางครั้งล่าช้าไม่สอดคล้องกับแผนการก่อสร้าง 3. การนำเทคนิคการก่อสร้างสมัยใหม่มาใช้ การก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้นำเอาระบบการก่อสร้างที่เรียกว่า “Push Bridge” มาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยซึ่งจะต้องทำการก่อสร้างสะพานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อมีปัญหาด้านการเวนคืนที่ดินและการรื้อย้ายสาธารณูปโภคดังกล่าว งานก่อสร้างต้องหยุดชะงัก ผลการวิจัยพบว่า โครงการก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีลักษณะและขั้นตอนการบริหารโครงการสอดคล้องกับทฤษฎีการบริหารโครงการ แต่ในทางปฏิบัติมีปัญหาและอุปสรรคเกือบจะทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาบางอย่างอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้บริหาร ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนดำเนินงานโครงการ เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ใช้เวลานาน มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการทั้งในระดับอำนวยการและระดับปฏิบัติการ จึงมิได้มีการวางแผนดำเนินงานโครงการให้ครบทุกกิจกรรม ทำให้ไม่สามารถควบคุมระยะเวลาดำเนินงานโครงการได้ตลอดทั้งโครงการ 2) ปัญหาเกี่ยวกับการจัดองค์การแบบโครงการ ปราก[ฏ]ว่ามีการจัดองค์การแบบผสม (matrix organization) ในการบริหารงานโครงการ แต่มีปัญหาด้านความไม่สมดุลของอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินงานโครงการ ประกอบกับองค์กรย่อยที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหลักการและวิธีการปฏิบัติงานภายใต้องค์การชนิดนี้ 3) ปัญหาเกี่ยวกับผู้อำนวยการโครงการ ปราก[ฏ]ว่าผู้อำนวยการโครงการไม่มีอำนาจในการปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานที่ปฏิบัติงานในโครงการ มีลักษณะเป็นผู้ประสานงานในโครงการเท่านั้น 4) ปัญหาด้านความร่วมมือของข้าราชการและพนักงาน ปราก[ฏ]ว่าข้าราชการและพนักงานในหน่วยงานช่วยอำนวยการส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยและติดอยู่กับลักษณะการทำงานแบบประจำ ประกอบกับมิได้มีการนิเทศแนะนำวัตถุประสงค์ของโครงการ ลักษณะการทำงานและความสำคัญของเวลา ทำให้การดำเนินงานตามโครงการขาดความคล่องตัวและดูเหมือนไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร อุปสรรคข้อขัดข้องดังได้กล่าวมาแล้วนี้ทำให้การดำเนินงานก่อสร้างสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเกิดความล่าช้า ไม่สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ผลการวิจัยประกอบกับข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาต่างๆในวิทยานิพนธ์นี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของราชการบ้าง และหวังว่าคงจะช่วยลดความสูญเสียทรัพยากรการบริหารในการพัฒนาประเทศได้บ้างตามสมควร
Other Abstract: One of the major problems in developing the country has been the unwise use of our limited resources. An obvious instance can be seen in the case of the Government’s high-cost construction projects. Many of the projects are delayed due to improper management, causing difficulties in solving the problems, excessive expenses, and failure to duly use the expected facilities. This economic loss costs a huge sum of money. Although such a loss is not judged officially illegal, it represents an inefficient management of a project. The reduction of this loss will ease the country’s development programs to its fuller extent. The researcher, therefore, chose to study a large scale project management administered by the Public Works Department, investigating [especially] in the case of the King Taksin Bridge construction. The main objectives of this study were: 1) To study the procedures of the large scale construction project under the Public Works Department, [especially] in the case of King Taksin Bridge construction project. 2) To determine whether the management of the large scale construction projects under the Public Works Department corresponds to the principles of a good project management. 3) To determine the salient problems due to the delay of the project. 4) To investigate the problems in Objective 3) in comparison with the principles of project management in order to propose recommendations for solving the problems or difficulties concerned. It was found from the study that the construction of King Taksin Bridge, one of the 10-year road construction projects for Bangkok and Thonburi sides, was scheduled to commence in 1972 and to be finished in 1974. However, it was completed in 1982 which was 10 years delayed. The delay was due to these problems: I. Preparation Phase 1.Selection of the Route Alignment. As there were several governmental agencies responsible for the traffic system in Bangkok Metropolitan Area, it took over 2 years before the decision to build the bridge at the end of Sathorn Road was made. 2. Selection of Bridge Type. The preliminary survey and design team first proposed a movable bridge, but the authorities from the Asian Development Bank from which loans were to be requested recommended a closed bridge to save and estimating amount of 300 million baht. The Government appointed a working group to conduct a feasibility study and finally decided on a closed bridge by moving the ship-repair station of Naval Dockyard Department to Pom Prachun. Such activities took approximately 2 years. 3. Locating of Loan Sources. At first the Government had requested a loan from the Asian Development Bank which brought about a feasibility study group as previously mentioned. Nevertheless, the Government had finally chosen the Overseas Economic Cooperation Fund Which offered the lower interests as the source of loans. Such a reconsideration of loan sources took another 3 years. 4. Change of Governments. The changes of governments had caused the changes of the project administration committees as well. The management of the project inevitably suffered from such discontinuity and confusion. II. Construction Phase 1. Land Acquisition. The land acquisition committee appointed by the Prime Minister worked separately from the project administration committee who were also appointed by the Prime Minister. This, in part made the land acquisition hardly correspond to the construction plans. At the time the Department of Public Works signed an employment contract with the contractor, the land acquisition had not yet been conducted and the authority for the contractor to work on the entire land could not yet be conferred. Such difficulties in land acquisition posed one of the major problems to the construction. Although the contract had to be extended for 256 more days, the construction could not be completed as planned. The major problem of land acquisition was that the land owners were dissatisfied with the offered compensations which were deemed too little for them. In addition, the refunding was late. The land owners could not find new residences in time for the construction to start as scheduled. As for the land acquisition officials, the operating problem was due to certain law items. The officials had no authority to control over those who resisted the clearing from the construction sites. The compensations were to be offered at the rate set by land acquisition low which was minimal. 2. Clearing of Public Utilities. The clearing of public utilities such as water supply, electricity and telephones by the agencies concerned was sometimes delayed, not corresponding to the construction plans. 3. Application of New Construction Technique. The construction of King Taksin Bridge was the first project in the country to employ the “Push Bridge” construction system which required an uninterrupted succession of construction. The problems of delayed land acquisition and clearing of public utilities obviously obstructed the construction. Findings from the study reveal that theoretically, the management of the construction project [of] King Taksin Bridge had the characteristics and working procedures in accordance with the project management. In practice, however, there posed problems and obstacles at almost every steps, especially in the areas beyond the control of the project administrators summarized below: 1) Project Planning Problem. As the construction was a large scale, long-time project and had changes in the personnel both at the executive and implementing levels, planning of all activities for the entire project was not fully made ahead of time, resulting in difficulties in keeping the construction up to the schedule. 2) Project Organization Problem. The Matrix Organization system was applied in the administration of this project. But, there was an unbalance between the authority and duty in the management of the project. Besides, most of the sub-organizations concerned did not fully understand the principles and working methods under such a system. 3) Problem Concerning Project Director. The project director was found to have no true authority in governing the government officials and working staff under the project. He worked solely as a coordinator. 4) Problem Concerning Cooperation of Government Officials and Working Staff. Most government officials and the staff in the assistance unit were accustomed to their conventional routine working system. Also, they were not oriented to or informed of the objectives, job descriptions of the project, and the importance of time, which resulted in the lack of work flexibility and full cooperation. The above obstacles had caused the delay of King Taksin Bridge construction. Finding from this study and recommendations for the remedy of the problems are hoped to be of use for the management of governmental large scale construction projects, and to minimize the loss of administration resources in developing the country.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62659
ISBN: 9745642436
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vinai_si_front.pdf6.21 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_si_ch1.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_si_ch2.pdf22.28 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_si_ch3.pdf9.07 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_si_ch4.pdf19.56 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_si_ch5.pdf15.6 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_si_ch6.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_si_back.pdf7.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.