Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7368
Title: | การศึกษาอิทธิพลตะวันตกที่มีต่อการออกแบบอาคาร ศาลยุติธรรมในระหว่าง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2468) |
Other Titles: | A study of western influence upon the design of courthouses between the reigns of King Rama V and King Rama VI (A.D. 1868-1925) |
Authors: | ฐิติรัตน์ จงกลนี |
Advisors: | ผุสดี ทิพทัส เลอสม สถาปิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | ศาล การออกแบบสถาปัตยกรรม -- อิทธิพลตะวันตก |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาอิทธิพลตะวันตกที่มีต่อการออกแบบอาคารศาลยุติธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 มีที่มาจากอาคารศาลที่สร้างขึ้นในช่วงเวลานี้จะมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแตกต่างจากอาคารศาลที่สร้างในช่วงก่อนและหลัง อีกทั้งในปัจจุบันอาคารเหล่านี้มีความทรุดโทรม และถูกรื้อถอนจนเหลือจำนวนไม่มากนักที่มีความสมบูรณ์และสามารถจะเข้าไปทำการศึกษาได้ จึงเห็นว่าอาคารเหล่านี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมควรค่าแก่การทำการศึกษา แต่ยังไม่มีผู้ใดทำการศึกษาและบันทึกข้อมูลมาก่อน กรณีศึกษา คือ อาคารศาลที่สร้างขึ้นในช่วง รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ที่ยังมีตัวอาคารเหลืออยู่ในสภาพสมบูรณ์และเข้าไปทำการศึกษาได้ โดยวิเคราะห์รูปแบบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและการใช้พื้นที่ของอาคาร เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และทำการจัดรวบรวมเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนจึงได้ทำการศึกษาสืบค้นประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านการศาลการเมืองการปกครอง อีกทั้งทำการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกที่มีอยู่ในอาคารทางราชการอื่นๆ และประวัติกลุ่มสถาปนิกที่เข้ามารับราชการในประเทศไทยขณะนั้น เพื่อสรุปอิทธิพลของสถาปัตยกรรมตะวันตกที่ส่งผลต่อการออกแบบอาคารศาล จากนั้นได้ศึกษาลักษณะทางกายภาพ และวิเคราะห์อิทธิพลต่างๆ ที่ส่งผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมอาคารศาล ผลจากการศึกษาโดยอาศัยการเปรียบเทียบจากระยะเวลาและรูปแบบสถาปัตยกรรม สามารถระบุได้ถึงกลุ่มบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการออกแบบ ลักษณะและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารศาล และการจัดแบ่งหมวดหมู่ของอาคารศาล อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าอาคารศาลที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกควรได้รับการอนุรักษ์ที่เหมาะสมเช่น ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ของศาลซึ่งเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชม ภายในมีการจัดแสดงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของอาคาร และห้องพิจารณาคดี เพื่อเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์และเผยแพร่ให้กับคนรุ่นหลัง ทั้งนี้ยังเป็นการเก็บรักษาสภาพของตัวอาคารให้คงอยู่ไม่ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนักอีกด้วย |
Other Abstract: | According to a study of majority of courthouses those built during the reigns of King Rama V and King Rama VI differ from those that were build before and after this time. These ancient buildings, today, are in disreputable condition because of time and city development, in fact, only a few are in acceptable condition for this research. Even though these buildings are uncial in both history and architecture, very little research has been conducted. The objectives of this case study are to analyze only those courthouses build during the reigns of king Rama V and King Rama VI which are still in good condition and also accessible for investigation architectural features and functional usage and categorize them into groups. Historical research related to the evolution of law and politics has been examined together with the studies on architecture, influenced by western approaches, and the biographies of foreign architects, working in Thailand at that time in order to determine their possible impact on courthouse designs of that period. Geographical and other key factors are also examined to whether or not these are reflected in Thai courthouse designs. The results of the comparison between period and distinctive architectural features identified a people involved in designs the characteristics and types of architecture. In conclusion, it was formed that courthouses, influenced by western approaches require preservation. For instance, they could be converted to be a court museum accessible to the public. These could include interactive displays, which document the history. This will help maintain the building and prevent it from being damaged or altered. |
Description: | วิทยานิพนธ์(สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7368 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.493 |
ISBN: | 9741749805 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.493 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Titirut_Ch.pdf | 18.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.