Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74498
Title: การวิเคราะห์สภาพและปัญหาการดำเนินงานของสถาบันวิจัยในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: An analysis of state and problems of the operation of research institutes in Chulalongkorn University
Authors: ปราณี แหวนทองคำ
Advisors: วราภรณ์ บวรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันวิจัย
วิจัย
สถาบันอุดมศึกษา
Research institutes
Research
Universities and colleges
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายและวิเคราะห์สภาพและปัญหาการดำเนินงาน ของสถาบันวิจัยในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อมูลสภาพและปัญหาในช่วงระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2535- 2539) ผลจากการวิจัยพบว่า นโยบายของสถาบันวิจัยในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการวิจัยในแนวสหสาขาวิชา ทั้งการวิจัยแบบประยุกต์เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และการวิจัยพื้นฐานเพื่อสร้างองค์ความใหม่ เป็นแหล่งส่งเสริมด้านการเรียนการสอนและการวิจัยของนิสิต เป็นแหล่ง ฐานข้อมูลของงานวิจัย ใหับริการวิชาการแก่สังคม ตลอดจนประสานงานวิจัยกับหน่วยงานกับองค์กรต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ ด้านโครงสร้างการบริหาร สถาบันวิจัยในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีโครงสร้างการบริหารโดยคณะกรรมการ 2 ชุดคือ 1) คณะกรรมการอำนวย เป็นผู้กำหนดนโยบายและติดตามผล 2) คณะกรรมการบริหาร เป็นที่ปรึกษาในการบริหารและดำเนินภารกิจของสถาบัน แต่ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติควรมีการประชุมมากขึ้น และมีบุคคลภายนอกมาเป็นคณะกรรมการครึ่งต่อครึ่ง เป็นต้น ในส่วนของโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายใน มีการแบ่งโครงสร้างออกเป็นฝ่าย ๆ ตามภารกิจของสถาบัน แต่ยังขาดความชัดเจนในการระบุภาระหน้าที่ ด้านบุคลากร สถาบันวิจัยจำแนกบุคลากรที่เป็นบุคลากรประจำออก เป็นตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้ ตำแหน่งนักวิจัย เจ้าหน้าที่วิจัย เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์และพบว่าบุคลากรโดยเฉพาะนักวิจัยและเจ้าหน้าที่วิจัยมีจำนวนไม่เพียงพอ คุณวุฒิและประสบการณ์ไม่หลากหลายตามภารกิจของสถาบันวิจัย และมีปัญหาในด้านการพัฒนาบุคลากรเพราะไม่มีงบประมาณเพียงพอ นอกจากนี่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างข้าราชการสายต่าง ๆ ด้านงบประมาณ งบประมาณที่สถาบันวิจัยได้รับไม่เพียงพอ เนื่องจากงบประมาณแผ่นดินมีจำกัด และส่วนใหญ่เป็นหมวดเงินเดือนบุคลากร นอกจากนี้การได้รับทุนอุดหนุนจากแหล่งทุนภายนอกลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ด้านการวิจัยสถาบันวิจัยมีการดำเนินงานด้านการวิจัยในแนวสหสาขาวิชาโดยวิธีวิจัยแบบประยุกต์เป็นส่วนใหญ่ หัวข้อการวิจัยนั้นมีความหลากหลายตามภารกิจ และมีแนวโน้มในการวิจัยแบบพื้นฐานมากขึ้น แต่สถาบันวิจัยยัง มีปัญหาในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ยังมีปริมาณไม่เพียงพอ ด้านการบริการ วิชาการแก่สังคม สถาบันวิจัยมีการสำเนินงานด้านการบริการในหลายรูปแบบดังนี้ การให้คำปรึกษาแนะนำการจัดประชุมสัมมนา การจัดอบรม และการทำเอกสารออกเผยแพร่ ส่วนในการเผยแพร่ผลงานวิจัยนั้นมีรูปแบบต่าง ๆ เช่น การตีพิมพ์บทความในวารสาร การเผยแพร่ทางสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และทางวิทยุ มีการเผยแพร่ผลงานออกในรูปของเอกสารการวิจัย ส่วนการตีพิมพ์บทความในวารสารต่างประเทศนั้นยังมีน้อย เนื่องจากมีข้อจำกัดต้านงบประมาณและด้านภาษาต่างประเทศ
Other Abstract: This research aims to study policies and state, as well as problems of the operation of research institutes in Chulalongkorn University. The results, based on Five-year status (1992 - 1996), are as follows: Their policies emphasized multidisciplinary research, including applied research for supporting socio-economic development and basic research for constructing new knowledge. In addition, their policies also covered promoting students studying and research; providing data base for research and academic service to society. In general, the institutes administrative structure could be divided into two committees: 1) Administrative committee, handling policy establishment and monitoring; 2) Executive committee, advising the institutes operation. It was found that practically there were problems with insufficient meetings and composition of the committee members, that preferably more outsiders. Regarding internal structure, various divisions prevailed based on institutes' tasks; however, there were no clear definitions of the responsibilities existed. Personnel in the institutes comprised of researchers, research assistants instructors and scientists; nontheless, insufficient researchers and research assistants, including their variations of educational background and experiences are main concerns. The institutes received insufficient budget because of the limitation of government budget, the major amount of personnel salary, plus the decrease of external fund. Additionally, the institutes conducted multidisciplinary research on variouse issues which mainly were applied research. There was a tendency of more basic research; however, the institutes encountered the problem with insufficient instruments and material. Concerning the aspect of academic service to society, The institutes implemented many activities related: counselling, seminars, trainings and publications publishing. Their research paper were published in many journals, other types of publications and radio broadcast; however, less publishing in international journals was found, due to a lack of budget and a limitation of language capacity.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74498
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.362
ISBN: 9746389483
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.362
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranee_wh_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ953.14 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_wh_ch1_p.pdfบทที่ 11.09 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_wh_ch2_p.pdfบทที่ 23.07 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_wh_ch3_p.pdfบทที่ 3823.77 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_wh_ch4_p.pdfบทที่ 45.39 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_wh_ch5_p.pdfบทที่ 51.55 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_wh_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.