Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77835
Title: | การบำบัดทางชีวภาพของดินที่ปนเปื้อนด้วยไพรีน/ฟีแนนทรีนและน้ำมันดีเซลโดยกลุ่มแบคทีเรีย RM-V3 และ PDE4 ที่ผ่านไลโอฟิไลเซชัน |
Other Titles: | Bioremediation of pyrene/phenanthrene-and diesel oil-contaminated soil by lyophilized bacterial consortia RRM-V3 and PDE4 |
Authors: | สุธาสินี จิตติมณี |
Advisors: | กอบชัย ภัทรกุลวณิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | การปนเปื้อนของน้ำมันในดิน ความหลากหลายทางชีวภาพของดิน Oil pollution of soils Soil biodiversity |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 และ PDE4 ได้ถูกไลโอฟิไลว์โดยใช้ 12% ซูโครสเป็นสารป้องกันความเย็น หลังจากไลโอฟิไลเซชันกลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 และ PDE4 มีการรอดชีวิต 99.7% และ 98.8% ตาม ลำดับ ฟีแนนทรีนและไพรีนที่ความเข้มข้นของแต่ละชนิด 0.05 กรัมต่อลิตรถูกย่อยสลายโดยสมบูรณ์ในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวโดย RRM-V3 ไลโอฟิไลซ์ ภายใน 3 และ 14 วัน ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 ที่เตรียมสดออกซิไดซ์ PAHs ทั้งสองชนิดที่ความเข้มข้นเดียวกันจนหมดภายใน 1 วัน เมื่อใช้กลุ่ม แบคทีเรีย PDE4 ไลโอฟิไลซ์เพื่อย่อยสลาย 1% น้ำมันดีเซล พบว่าเหลือน้ำมันดีเซล 66.69 ± 32.6% ในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวหลังจาก 14 วัน ในทางตรงข้ามกลุ่มแบคทีเรีย PDE4 ที่เตรียมสดสามารถย่อยสลาย 1% น้ำมันดีเซลจนเหลือ 9.59 ± 9.6% ภายใต้ภาวะเดียวกัน กลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 และ PDE4 ไลโอฟิไลซ์ที่ผสมกันสามารถย่อยสลายฟีแนนทรีน/ไพรีนและน้ำมันดีเซลในดินได้จนเหลือ 39.85 ± 5.4%, 42.77 ± 5.8% 41.51 ± 4.8% ตามลำดับ หลังจาก 14 วัน โดยสรุปไลโอฟิไลเซชันสามารถเก็บรักษากลุ่ม แบคทีเรีย RRM-V3 และ PDE4 ไลโอฟิไลซ์ มีกิจกรรมการย่อยสลาย PAHs ทั้ง 2 ชนิด และน้ำมันดีเซลได้น้อยกว่า เนื่องจากเซลล์อาจใช้ซูโครสเป็นแหล่งคาร์บอนเพื่อการเจริญในระยะแรกของการย่อยสลายทางชีวภาพ |
Other Abstract: | Bacterial consortia RRM-V3 and PDE4 were lyophilized using 12% sucrose as a cryoprotective agent. After lyophilization, viability of RRM-V3 and PDE4 were 99.7% and 98.8%, respectively. Phenantherne and pyrene at the initial concentration of 0.05 g/I each in liquid medium were completely degraded by lyophilized RRM-V3 within 3 and 14 days, respectively, whereas fresh RRM-V3 cells completely oxidized both PAHs at the same concentration within 1 day. Utilization of lyophilized PDE4 to degrade 1% diesel oil revealed that 66.69 ± 32.6% of diesel oil remained in liquid to degrade 1% diesel oil revealed that 66.69 ± 32.6% of diesel oil remained in liquid medium after 14 days. On the contrary, fresh PDE4 could degrade diesel oil to 9.59 ± 9.6% remaining under the same condition Mixed lyophilized RRM-V3 and PDW4 could degrade phenenthrene/pyrene and diesel oil in soil to 39.85 ± 5.4%, 42.77 ± 5.8% and 41.51 ± 4.8% remaining, after 14 days respectively. In conclusion, lyophilization could maintain the survival of both bacterial consortia RRM-V3 and PDE4. However, lyophilized RRM-V3 and PDE4 were less active in degradation of both PAHs and diesel oil because the cells may use sucrose as carbon source for growth in the first stage of biodegradation |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77835 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2195 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.2195 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suthasinee_ji_front_p.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 993.21 kB | Adobe PDF | View/Open |
Suthasinee_ji_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 758.6 kB | Adobe PDF | View/Open |
Suthasinee_ji_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suthasinee_ji_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suthasinee_ji_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suthasinee_ji_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suthasinee_ji_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.