Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9655
Title: | การประยุกต์ใช้รูปแบบ "ข่วง" กับการพัฒนาที่โล่งในเมือง : กรณีศึกษาเมืองเชียงใหม่ |
Other Titles: | The application of "Khuang" in urban open space development : a case study of Muang Chiangmai |
Authors: | พงษ์สิน ทวีเพชร |
Advisors: | นพนันท์ ตาปนานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | พื้นที่โล่ง -- ไทย -- เชียงใหม่ การพัฒนาเมือง -- ไทย -- เชียงใหม่ |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบและระบบข่วงของเมืองในระดับต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตผู้คน วัฒนธรรมประเพณีและกิจกรรมของชุมชนด้านต่างๆ เพื่อสร้างแนวทางการประยุกต์ใช้รูปแบบข่วง กับการพัฒนาพื้นที่โล่งในสภาพสังคมเมืองในปัจจุบัน เพื่อการสร้างเอกลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า รูปแบบข่วงก่อเกิดมาจากแง่มุมของการรองรับ กิจกรรมด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านคติความเชื่อและกิจกรรมเนื่องในวิถีชีวิต ที่ตอบสนองต่อวิถีชีวิตของคน ตั้งแต่ยุคบรรพกาลถึงยุคสังคมเกษตรกรรมที่มีตัวแปรหลัก อันได้แก่ คติความเชื่อดั้งเดิมอันเกี่ยวข้องกับผีบรรพบุรุษและคติทางฮินดู พระพุทธศาสนา และลักษณะการดำรงชีวิตประจำวันในช่วงเวลาขณะนั้น ทั้งนี้รูปแบบและระบบของข่วงมีระดับและหน้าที่ ในการรองรับกิจกรรมทั้งที่ชัดเจนมีหน้าที่เฉพาะกิจกรรม และการเป็นพื้นที่เอนกประสงค์สาธารณะทั่วไป อันสัมพันธ์กับกลุ่มคนและชนชั้นทางสังคม ลักษณะกิจกรรมด้านต่างๆ เช่น การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมประเพณี ระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการตั้งถิ่นฐานชุมชนเมือง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองในแถบดินแดนล้านนา เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบข่วงในอดีต กับรูปแบบพื้นที่โล่งในเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันพบว่าสภาพพื้นที่โล่งของเมืองในระดับและรูปแบบต่างๆ ได้ถูกทำลายลงแทบหมดสิ้นเนื่องมาจากปัจจัยหลักๆ หลายสาเหตุรวมทั้งเกิดความเปลี่ยนแปลงต่อรูปแบบกิจกรรม ของสังคมเมืองอันมีบริบทที่แตกต่างจากอดีต สังคมเมืองขาดความต่อเนื่องในพัฒนาการทางหลักไวยากรณ์ ด้านสุนทรียภาพ ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมและรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน และคติความเชื่อต่างๆ ส่งผลให้เกิดความไม่สอดคล้องกลมกลืน ระหว่างรูปแบบการดำรงชีวิตของสังคมเมือง ต่อลักษณะทางกายภาพและระบบนิเวศวิทยาของเมือง รวมทั้งพื้นที่โล่งเมืองเชิงวัฒนธรรมขาดหายไป การประยุกต์ใช้รูปแบบข่วงในการพัฒนาพื้นที่โล่ง เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของเมือง ได้เสนอแนะแนวทางการรื้อพื้นที่โล่งเมืองในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต และกิจกรรมของผู้คนในสังคมปัจจุบัน รวมทั้งการประสานให้มีความสอดคล้องกับลักษณะกายภาพเมือง และระบบนิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การอนุรักษ์นครประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ |
Other Abstract: | To study features and structure of various types of "Khuang" and the relationship with ways of living, culture and activities of communities in order to provide the application of "Khuang" in urban open space development which could create the identity of Chiangmai City. According to the study, "Khuang" was created by its usage, belief and ways of living of the people in the past until the period of the agricultural society. These included belief of ancestors spirit, Hinduism and Buddhism, and daily activities in that time. Moreover, the features and structure of "Khuang" were in hierarchy function supporting specific activities as well as public purposes relating to social groups and ranks. Various kinds of activities such as political administration, economics, social and culture, and ecological environments were reflecting the typical urban settlement pattern of the towns and cities in Lanna region. By comparing the structure of "Khuang" in the past with urban open space in Chiangmai nowadays, the lost of the open space was found by various reasons including the change of social activities with different contexts from the past. Urban society was lacking of the continuation of development in terms of aesthetic, culture, architecture and settlement pattern, together with the belief resulting the nonconforunity between the ways of living of the urban people and the physical and ecological elements especially the cultural open space of the city. The application of "Khuang" in urban open space development was therefore suggested in order to create the open space which could support ways of living and activities of the people in the present time, and could be integrated with other physical elements and the system of ecological environments within the historical conservation of Chiangmai City. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9655 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.217 |
ISBN: | 9743347984 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1999.217 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pongsin_Ta_front.pdf | 846.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsin_Ta_ch1.pdf | 720.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsin_Ta_ch2.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsin_Ta_ch3.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsin_Ta_ch4.pdf | 4.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsin_Ta_ch5.pdf | 3.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsin_Ta_ch6.pdf | 961.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pongsin_Ta_back.pdf | 719.76 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.