Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9861
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิศนา แขมมณี-
dc.contributor.advisorสุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม-
dc.contributor.authorปัทมศิริ ธีรานุรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-10T05:17:17Z-
dc.date.available2009-08-10T05:17:17Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741702655-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9861-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอน ตามแนวการสอนแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญา ที่มีต่อทักษะการคิดของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสอน ตามแนวการสอนแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญา กับบุคลิกภาพทั้ง 2 แบบ คือ แบบเก็บตัว (introvert) และแบบแสดงตัว (extravert) ที่มีต่อทักษะการคิด กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 60 คน จากโรงเรียนพิชญศึกษา แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวและแบบแสดงตัวกลุ่มละ 15 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ตามแนวการสอนแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญา ขั้นที่ 2 การสร้างเครื่องมือวิจัยและขั้นที่ 3 การทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน ตามแนวการสอนแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญา โดยใช้เวลาทดลอง 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะการคิดหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน ที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2) หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3) การสอนตามแนวการสอนแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญา และบุคลิกภาพของผู้เรียนไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน ในด้านทักษะการคิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 4) นักเรียนที่มีบุคลิกภาพต่างกัน มีคะแนนทักษะการคิดไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 กระบวนการเรียนการสอนฯ ที่ปรับปรุงแล้วประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา การจัดกระบวนการเรียนการสอนฯ และการประเมินผล ลักษณะของกระบวนการเรียนการสอนเป็นการนำ แนวการสอนแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญา ไปบูรณาการในเนื้อหาสาระของกลุ่มประสบการณ์ต่างๆ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเรียนรู้เนื้อหาสาระ ขั้นที่ 2 การเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย การทำงานร่วมกัน การพูด การฟัง และการใช้เหตุผล ขั้นที่ 3 การสร้างชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญา ประกอบด้วย การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการสืบสอบ การดำเนินการอภิปรายเชิงปรัชญา และการทำแบบฝึกหัดเชิงปรัชญา และขั้นที่ 4 การทำแบบฝึกหัดเชิงเนื้อหา ผลผลิตของการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ เอกสารประกอบกระบวนการเรียนการสอน ตามแนวการสอนแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญา แบบวัดทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และคู่มือการใช้แบบวัดทักษะการคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1en
dc.description.abstractalternativeTo study the effect of using instructional process based on a community of philosophical inquiry approach on thinking skills of the first graders and the interaction between instructional process based on a community of philosophical inquiry approach and two traits of personality on thinking skills. The samples were sixty students of the first graders from Pichayasuksa School. Thirty students were assigned to a control group, consisted of fifteen students in each group of introvert personality and extravert personality. The method of study consisted of 3 phases, first, developing the instructional process, second, developing the research tools, and field testing the developed instructional process for 12 weeks. The research results were as follows 1) the average post-test score of the experimental group was significantly higher than that of the pre-test at the .01 level 2) after the field test, the thinking skills average score of the experimental group was significantly higher than that of the control group at .01 level 3) there was no significant interaction between the developed instructional process and the two traits of personality on thinking skills of the experimental group at the .01 level, which did not accept the research hypothesis and 4) there was no significant difference between the two traits of personality and thinking skills scores at the .01 level. The instructional process consisted of principles, objectives, contents, instructional procedure and evaluation. The instructional process was designed to integrate the community of philosophical approach into the ordinary curriculum. Four instructional procedures were 1) instruction for contents 2) preparation for a community of inquiry including 1) learning to work together 2) learning to be a good speaker 3) learning to be a good listener 4) learning how to reason 3) developing of a community of philosophical inquiry 1) creating classroom atmosphere conducive to inquiry 2) doing philosophy 3) doing exercises for philosophical inquiry practice and 4) doing exercises for contents learning. The products of this study were: a Handbook of Instructional Process Based on a Community of Philosophical Inquiry Approach, a Thinking Skills Test for the First Graders and a Manual of Thinking Skills Testen
dc.format.extent5083160 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.641-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความคิดและการคิดen
dc.subjectการเรียนรู้en
dc.subjectชุมชนกับโรงเรียนen
dc.subjectปรัชญาen
dc.titleผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบ ชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญา ที่มีต่อทักษะการคิดของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1en
dc.title.alternativeEffects of using instructional process based on community of philosophical inquiry approach on thinking skills of first gradersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.641-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattamasiri.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.