Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10303
Title: ความรับรู้ ความคาดหวัง ความพึงพอใจและการยอมรับของชาวชุมชนมุสลิมในเขตหนองจอก ต่อบทบาทในการพัฒนาชุมชนของอิหม่าม
Other Titles: The perception, expectation, satisfaction and acceptance of muslims in Nong Chok district upon the roles in community development of Imams
Authors: กุสุมา กูใหญ่
Advisors: จาระไน แกลโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: มุสลิม -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การพัฒนาชุมชน
อิหม่าม
ผู้นำศาสนาอิสลาม
การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
การรับรู้
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ความคาดหวัง ความพึงพอใจ และการยอมรับบทบาทในการพัฒนาชุมชนของอิหม่าม ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นชาวชุมชนมุสลิมในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 400 คน จาก 14 ชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบความแตกต่าง (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างรายคู่ ตามวิธีของ Scheffe และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW ผลการวิจัยพบว่า ชาวชุมชนมีการรับรู้บทบาทที่เป็นข้อกำหนด และบทบาทที่ปฏิบัติจริงของอิหม่าม ในระดับปานกลาง มีการรับรู้คุณลักษณะและพฤติกรรมการสื่อสารของอิหม่ามในระดับสูง มีความคาดหวังและความพึงพอใจในบทบาทต่างๆ ของอิหม่ามในระดับสูง และมีการยอมรับในความเป็นผู้นำของอิหม่ามในระดับสูงเช่นเดียวกัน จากการทดสอบสมมติฐาน ปรากฏผลดังนี้ 1. ชาวชุมชนที่มีลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพทางสังคมในชุมชน และคุณลักษณะที่ต่างกัน มีการรับรู้บทบาทของอิหม่ามแตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มที่เป็นคนพื้นเพเดิมในชุมชนที่ต่างกัน มีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน 2. ชาวชุมชนที่มีลักษณะทางประชากร ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ความเป็นคนพื้นเพเดิมในชุมชน สถานภาพทางสังคมในชุมชน และคุณลักษณะที่ต่างกัน มีความคาดหวังบทบาทของอิหม่ามแตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มที่มีเพศที่ต่างกัน มีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน 3. ชาวชุมชนที่มีลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ สถานภาพทางสังคมในชุมชน และคุณลักษณะต่างกัน มีความพึงพอใจในบทบาทของอิหม่ามแตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มที่มีรายได้ และเป็นคนพื้นเพเดิมในชุมชนที่ต่างกัน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน 4. ชาวชุมชนที่มีลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพทางสังคมในชุมชน และคุณลักษณะต่างกัน มีการยอมรับในความเป็นผู้นำของอิหม่ามไม่แตกต่างกัน ยกเว้นกลุ่มที่เป็นคนพื้นเพเดิมในชุมชนที่ต่างกัน มีการยอมรับไม่แตกต่างกัน 5. การรับรู้บทบาทของอิหม่าม มีความสัมพันธ์กับความคาดหวัง ความพึงพอใจในบทบาทของอิหม่าม และการยอมรับในความเป็นผู้นำของอิหม่าม 6. ความพึงพอใจบทบาทของอิหม่าม มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังในบทบาทของอิหม่าม และการยอมรับในความเป็นผู้นำของอิหม่าม 7. ความคาดหวังในอิหม่าม มีความสัมพันธ์กับการยอมรับในความเป็นผู้นำของอิหม่าม
Other Abstract: The purpose of the research is to examine the relationship among the perception, expectation, satisfaction and acceptance of muslime different in demographics characteristics upon the roles in community development of Imams. The research is a survey on 400 samples of muslim people dwelling in 14 communities of Nong Chok district, Bangkok. The statistics to be used are percentage, mean, t-values, one-way ANOVA and Pearson's product-moment correlation coefficients which is calculated by SPSS package program. The results could be summed up that the prescriptive and descriptive roles of Imams were aware of at medium level whereas characteristics and communication behaviors of Imams were aware of at high level. Moreover, the results of the research indicated that the higher the expectation and satisfaction of these roles, the higher the acceptance of Imam's leadership. Upon the testing of hypotheses, it could be concluded as follows : 1. The perception of Muslim people as community members on Imam's roles was found to be significantly varied by gender, age, education, occupation, income, social status and characteristics of respondents, except nativity to community. 2. The expectation on Imam's roles was found to be significantly varied by age, education, occupation, income, nativity to community, social status and characteristics of respondents, except gender. 3. The satisfaction on Imam's roles was found to be significantly varied by gender, age, education, occupation, social status and characteristics of respondents, except income and nativity to community. 4. The acceptance on Imam's leadership was found to be significantly varied by gender, age, education, occupation, income, social status and characteristics of respondents, except nativity to community 5. The perception on Imam's roles significantly correlated with Muslim people's expectation and satisfaction on Imam's roles and acceptance on Imam's leadership. 6. The satisfaction on Imam's roles significantly correlated with Muslim people's expectation on Imam's roles and acceptance on Imam's leadership. 7. The expectation on Imam's roles significantly correlated with muslim people's acceptance on Imam's leadership.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10303
ISBN: 9746380087
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kusuma_Ko_front.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_Ko_ch1.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_Ko_ch2.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_Ko_ch3.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_Ko_ch4.pdf5.12 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_Ko_ch5.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open
Kusuma_Ko_back.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.