Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11869
Title: | กลยุทธ์การสื่อสารในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของสตรี ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) |
Other Titles: | Communication strategies in the election campaign of female members of subdistrict administration organization (SAO) council |
Authors: | นิภากร กำจรเมนุกูล |
Advisors: | ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การสื่อสารทางการเมือง นักการเมืองสตรี การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบล |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งของสตรี ซึ่งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และศึกษากลยุทธ์การสื่อสารที่ใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของสตรี ซึ่งเป็นสมาชิกสภา อบต. โดยนำแนวคิดปรากฏการณ์นิยมมาใช้ในการศึกษา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก สตรีซึ่งเป็นสมาชิกสภา อบต. จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งของสตรี ซึ่งเป็นสมาชิกสภา อบต. ประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักคือ แรงสนับสนุน ความต้องการส่วนบุคคล และแรงกดดัน 2. สื่อที่สมาชิกสภา อบต.สตรี เลือกใช้ในการรณรงค์หาเสียง ได้แก่ สื่อบุคคล ได้แก่ การเดินเคาะประตูบ้าน การแบ่งคุ้ม (เขต) หาเสียง การปราศรัยหาเสียง และวิธีการแสวงหาโอกาสที่เหมาะสม สื่อเฉพาะกิจ ได้แก่ แผ่นป้าย ใบปลิว บัตรแข็ง รถติดเครื่องขยายเสียงเคลื่อนที่ และสื่อชุมชน ได้แก่ หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ทั้งนี้ อบต.สตรี ส่วนใหญ่เลือกใช้สื่อบุคคลเป็นสื่อหลักและใช้สื่ออื่นๆ เป็นสื่อสนับสนุน 3. กลยุทธ์การใช้สื่อของ สมาชิกสภา อบต.สตรี ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์การเลือกใช้สื่อ 2) กลยุทธ์การใช้สื่อมานำเสนอ ได้แก่ การใช้สื่อเพื่อเปิดตัว และการใช้สื่อเพื่อตอกย้ำสาร 4. เป้าหมายการใช้สื่อที่สมาชิกสภา อบต.สตรี ต้องการให้เกิดกับผู้รับสาร ได้แก่ 1) ความต้องการให้รู้ว่าตนเองลงสมัคร 2) ความต้องการให้รู้จักตัวตนผู้สมัครมากขึ้น 3) ความต้องการให้รู้จักความสามารถผู้สมัคร และ 4) ความต้องการให้จดจำชื่อและเบอร์ของผู้สมัคร 5. อบต.สตรี มีกลยุทธ์การนำเสนอเนื้อหาของสาร ดังต่อไปนี้ 1) กลยุทธ์การเน้นชื่อ-เบอร์ของผู้สมัคร 2) กลยุทธ์ไม่ลองไม่รู้ 3) กลยุทธ์อย่าผูกมัดตนเอง 4) กลยุทธ์การสร้างภาพในอนาคต 5) กลยุทธ์การขอความเห็นใจ และ 6) กลยุทธ์การเสนอผลงานที่ผ่านมา สำหรับเป้าหมายการนำเสนอเนื้อหาสารของ อบต.สตรี ได้แก่ 1) เพื่อต้องการให้รู้ว่าตนเองลงสมัคร 2) เพื่อต้องการให้เกิดความเห็นใจ 3) เพื่อต้องการให้เห็นความสามารถของผู้สมัคร 4) เพื่อต้องการให้ได้ประเมินและตัดสินใจเองจากเหตุผลที่ได้รับ และ 5) เพื่อต้องการให้มีทัศนคติเห็นด้วย 6. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้สื่อของ อบต.สตรี ได้แก่ 1) การคำนึงถึงคุณสมบัติของสื่อ 2) การได้รับการสนับสนุนจากบุคคลต่างๆ 3) การได้รับอิทธิพลเรื่องการใช้สื่อจากผู้อื่น และ 4) การได้รับอิทธิพลจากการฝึกอบรมด้านกลยุทธ์การหาเสียง |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the factors which influence the decision-making of female candidates running in the SAO council's election, and the communication strategies used by female candidates during the SAO's election. A qualitative research, with study phenomenology approach, was implemented by in-depth interviewing with 30 female members of the SAO council. The results are as follows: 1. Three main factors which influence the decision-making of female candidates for running in the SAO's election are (1) personal support (2) a personal-need and (3) social pressure. 2. The communication used by female candidates during the election campaign are both interpersonal communication and provisional media. The interpersonal communication include knocking the door, targeting the major groups in the electoral areas, making speeches, and finding potential opportunity. The provisional media used are placards, leaflets, postcards, the mobile cars and community media such as news broadcast. However, the female candidates prefer to use the interpersonal channel as a major medium and choose other kinds of media as a supplement. 3. The communication strategies employed by the female candidates include (1) the choice of media; (2) the presentation of the media. 4. The purposes of using media in the election campaign are (1) to announce their candidacy; (2) to introduce themselves; (3) to show their abilities and (4) to make the public awareness of their name and number. 5. The message campaign strategies used by the female candidates during the election period include. (1) stressing on the name and number of a candidate (2) calling for a change (3) not committing oneself (4) emphasizing optimism for the future (5) asking for a sympathy and (6) showing previous works. 6. The factors which contribute to the choice of media by female candidates include (1) the media coverage (2) the support from a network (3) the influence from previous users (4) the knowledge obtained from a training on political campaign strategies. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11869 |
ISBN: | 9746380079 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nipakorn_Ku_front.pdf | 762.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipakorn_Ku_ch1.pdf | 888.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipakorn_Ku_ch2.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipakorn_Ku_ch3.pdf | 725.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipakorn_Ku_ch4.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipakorn_Ku_ch5.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nipakorn_Ku_back.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.