Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/146
Title: | การกำหนดค่าปล่อยมลพิษ : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมฟอกหนัง |
Other Titles: | Determination of pollution charge : a case study of tannery industry |
Authors: | อภิศักดิ์ สิทธิโชคอรุณ |
Advisors: | วัฒนา สุวรรณแสง จั่นเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | อุตสาหกรรมฟอกหนัง มลพิษทางน้ำ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เนื่องจากปัญหามลพิษจากภาคอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบภายนอกต่อสังคม (Externality) นั้นได้ส่งผลให้ภาระงบประมาณของภาครัฐในการแก้ปัญหามลพิษมีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้นในการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการจัดเก็บค่าปล่อยมลพิษจากภาคอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญในเชิงนโยบายของรัฐ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการกำหนดค่าปล่อยมลพิษ ในกรณีศึกษาอุตสาหกรรมฟอกหนัง จากการปล่อยน้ำเสีย โดยใช้ข้อมูลในปี พ.ศ. 2542 และใช้แบบจำลอง Cobb-Douglas production function เป็น Model ที่ใช้ประมาณความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตและปัจจัยการผลิต โดยปัจจัยการผลิตที่ใช้ใน Model ดังกล่าวประกอบด้วย หนังดิบ สารเคมี แรงงาน ปริมาณน้ำ ซึ่งการกำหนดแบบจำลองดังกล่าวจะถูกนำไปคำนวณหาค่าปล่อยมลพิษ โดยในการศึกษานั้นได้มีสมมติฐานเบื้องต้นว่าเมื่อมีการผลิตมาก จะทำให้เกิดปัญหามลพิษมากตามการผลิต ดังนั้นในการกำหนดค่าปล่อยมลพิษจึงกำหนดจากมูลค่าส่วนเพิ่มมลพิษ เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น จำเป็นจะต้องมีการลดมลสารอันเป็นตัวที่ก่อให้เกิดมลพิษ ในการศึกษานี้มลสารที่นำมาใช้เป็นตัวแทนการศึกษาคือ ค่าบีโอดี ดังนั้นในการลดค่าบีโอดีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ในมุมมองของผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมการลดค่าบีโอดีหรือมลสารจึงเปรียบเสมือน ต้นทุนค่าเสียโอกาสในการผลิตของผู้ผลิต ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้แบบจำลอง Cobb-Douglas production function ปัจจัยการผลิตที่มีนัยสำคัญต่อปริมาณหนังฟอกในระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 คือ หนังดิบ (ค่า t-stat = 4.4970) ปัจจัยการผลิตที่มีนัยสำคัญต่อปริมาณหนังฟอกในระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ สารเคมี (ค่า t-stat = 2.0395) ส่วนปัจจัยการผลิตที่เหลือ ซึ่งประกอบด้วย แรงงานแและปริมาณน้ำใช้ มีนัยสำคัญในระดับความเชื่อมั่นที่น้อยกว่าร้อยละ 90 นอกจากนี้ผลการศึกษาได้พบว่าผลตอบแทนต่อขนาดอุตสาหกรรม (Return to Scale) เป็นแบบผลตอบแทนขนาดเพิ่มขึ้นมีค่าเท่ากับ 2.0130 และอัตราการเก็บค่าปล่อยมลพิษควรจัดเก็บที่กิโลกรัมบีโอดีละ 1,680.04 บาท |
Other Abstract: | Pollution from industries, has been rapidly increasing over years, creating more burden to government in reducing pollution. To cope with this problem, polluter should be charged to make equitability to overall social. This thesis, therefore, aims at finding the appropiate environmental charge for the wastewater disposal of tannery industry in 1999. The Cobb-Douglas production function model is used to estimate the relationship between the output and the relevant inputs consisting of raw skin, chemical, labor and water in order to find the marginal cost of each input and the pollution charge fee at the end. The basic assumption is that the more production, the more pollution. Analogous to that idea, the pollution charge, which the polluter have to pay, is determined by the value-added of pollutant they make which is the key mean to reduce the undesireable externality. The Biological Oxygen Demand (BOD) is used as a proxy of pollutant in the study. Thus, in the industrial producer's view, to reduce the BOD or pollutant is to accept the opportunity cost of producing more. The result from this study show that, only raw skin and chemical have significantly explain the output at 95% of confidence level; wheras, the rest input -- labor and water -- have significance at under the 90% of confidence level. In addition, the study finds that the industry is in the state of increasing return to scale equaled to 2.013. The wastewater polluter should be charged at 1,680.04 bath per kilogram of BOD. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/146 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.516 |
ISBN: | 9741708084 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.516 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Apisak.pdf | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.