Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16741
Title: การประยุกต์ใช้ตัวควบคุมแบบมัลติพาราเมตริกโมเดลพรีดิกทีฟของการทดลองระบบสี่ถัง
Other Titles: Application of multi-parametric model predictive control of an experimental four-tank system
Authors: อลงกรณ์ จรัญชล
Advisors: สุรเทพ เขียวหอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การควบคุมทำนายแบบจำลอง
ตัวควบคุมพีไอดี
วิธีมอนติคาร์โล
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เสนอการประยุกต์ใช้ตัวควบคุมแบบมัลติพาราเมตริกโมเดลพรีดิกทีฟ เพื่อควบคุมระดับของของเหลวในกระบวนการระบบสี่ถัง ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์ภายในต่อกัน โดยเปรียบเทียบสมรรถนะการควบคุมกับตัวควบคุมแบบพีไอดี และตัวควบคุมแบบโมเดลพรีดิกทีฟ โดยสมรรถนะของตัวควบคุมชี้วัดโดยค่าผลรวมความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (ไอเออี) และได้ศึกษาอิทธิพลของความไม่แน่นอนของแบบจำลองต่อสมรรถนะของตัวควบคุม ผู้วิจัยได้ใช้การจำลองกระบวนการเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการควบคุม และศึกษาผลกระทบของความไม่แน่นอนของแบบจำลองโดยวิธีจำลองเทคนิคมอนติคาร์โล เพื่อวิเคราะห์หาอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะของการควบคุมด้วยวิธีทางสถิติ พบว่าอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะการควบคุมคือ ชนิดของตัวควบคุม ร้อยละความผิดพลาดของแบบจำลอง ตลอดจนอันตรกิริยาระหว่างสองปัจจัยนี้ ในช่วงความผิดพลาดของแบบจำลองต่ำกว่า ±20% ตัวควบคุมแบบมัลติพาราเมตริกโมเดลพรีดิกทีฟให้สมรรถนะการควบคุมดีที่สุด และในช่วงความผิดพลาดของแบบจำลองตั้งแต่ ±40% ขึ้นไป ตัวควบคุมแบบพีไอดีให้สมรรถนะการควบคุมดีที่สุดในช่วงตั้งแต่ ±20% ถึง ±30% ของความผิดพลาดของแบบจำลองพบว่า สมรรถนะการควบคุมของตัวควบคุมทั้งสามแบบไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นยังทดสอบสมรรถนะการควบคุมโดยใช้การทดลอง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ตัวควบคุมแบบมัลติพาราเมตริกโมเดลพรีดิกทีฟ ให้สมรรถนะการควบคุมดีกว่าตัวควบคุมแบบโมเดลพรีดิกทีฟและพีไอดี และการเปลี่ยนแปลงตัวแปรปรับของตัวควบคุมแบบมัลติพาราเมตริกโมเดลพรีดิกทีฟไม่รุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกับตัวควบคุมแบบโมเดลพรีดิกทีฟและพีไอดี
Other Abstract: To present the application of multi-parametric model predictive controller (mp-MPC) to control liquid level in a four-tank system which is an interaction process. The control performance of multi-parametric model predictive control is compared with model predictive controller (MPC) and PID controller. The control performance is indicated by integral of the absolute value of the error (IAE). The impacts of model uncertainty to control performance are also studied The control performances are compared using simulation technique, and the impacts of model uncertainty are investigated by Monte Carlo simulation in order to analyze the influence of affecting factors. The results show that the affecting factors are controller type, percent of plant model uncertainty and the interaction between these two factors. In the case that the percent of plant model uncertainty lower than ±20%, mp-MPC gives the best control performance. The PID controller yields better performance when the percent of plant model uncertainty greater than ±40%. In the range of the percent of plant model uncertainty from ±20% to ±40%, significant difference of control performances between each controller cannot be observed. In addition, the control performance of each controller is investigated by experimental work. The results show that mp-MPC provides a better control performance in comparison with MPC and PID controller. Moreover, the control action of mp-MPC is less drastic compared with MPC and PID controller.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16741
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.804
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.804
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
alongkorn_ja.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.