Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16867
Title: | การวิเคราะห์กิจกรรมเพื่อจัดทำระบบต้นทุนการผลิตในโรงงานผลิตมอเตอร์ |
Other Titles: | An activity analysis for setting up the cost of production system in motor factory |
Authors: | นพดล ตรียะประเสริฐพร |
Advisors: | สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ต้นทุนการผลิต มอเตอร์ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เนื่องจากในปัจจุบันโรงงานกรณีศึกษาซึ่งเป็นโรงงานผลิตมอเตอร์ ยังมีการคิดระบบต้นทุนการผลิตยังไม่ถูกต้อง และยังไม่มีการวิเคราะห์กิจกรรมที่มีคุณค่าและไม่มีคุณค่าในการดำเนินงาน ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการวิเคราะห์กิจกรรม เพื่อจัดทำระบบต้นทุนและลดต้นทุนการผลิตในโรงงานผลิตมอเตอร์ ในการจัดทำระบบการคิดต้นทุน จะเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลของแผนกต่างๆ มาทำการวิเคราะห์ จัดสรรทรัพยากรที่ใช้ กำหนดตัวผลักดันต้นทุนของแต่ละกิจกรรม ทำการบันทึกงานที่ได้ในแต่ละกิจกรรม ทำการคำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยของตัวผลักดันต้นทุนในแต่ละกิจกรรม ทำการปันต้นทุนของแผนกสนับสนุนทั้งหมดลงสู่แต่ละกระบวนการ แล้วคำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยของตัวผลักดันต้นทุนในแต่ละกระบวนการ คำนวณหาต้นทุนการผลิตและต้นทุนต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ จากนั้นนำข้อมูลต้นทุนฐานกิจกรรมที่ได้มาทำการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานด้วยระบบการบริหารด้วยฐานกิจกรรม โดยเริ่มจากการคัดเลือกกิจกรรมที่ควรค่าแก่การปรับปรุง ทำการกำหนดเป้าหมายในการปรับปรุง ทำการวิเคราะห์ว่ากิจกรรมใดบ้างที่มีการใช้เงินอย่างไม่คุ้มค่าและไม่ได้ตรงกับเป้าหมายที่วางเอาไว้ซึ่งพิจารณาจากค่าความแปรปรวนของต้นทุนจากนั้นจึงทำการกำหนดมาตรการในการปรับปรุงการดำเนินงานและทำการปรับปรุงการดำเนินงานตามมาตรการที่กำหนด ผลการวิจัยที่ได้ พบว่าต้นทุนการผลิตของโรงงานที่คำนวณได้ มีค่าแตกต่างกัน โดยวิธีการคิดต้นทุนแบบเดิมของโรงงาน คำนวณได้เท่ากับ 34,182,936.76 บาท แต่ด้วยวิธีการคิดต้นทุนการผลิตที่ได้จากการวิเคราะห์กิจกรรม และจัดทำต้นทุนของแต่ละกระบวนการ คำนวณได้เท่ากับ 37,748,369.50 บาท ซึ่งเป็นค่าที่ใกล้เคียงความจริงมากกว่า นอกจากนั้นยังสามารถคำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ในแต่ละกลุ่มซึ่งจะคำนวณได้ในรูปของค่าเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด และจากการนำมาตรการไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานพบว่าค่าความแปรปรวนของต้นทุนที่ได้มีค่าเป็นบวกคือมีการใช้เงินอย่างคุ้มค่าตามเป้าหมายที่วางไว้และต้นทุนการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมมีค่าลดลง ยกตัวอย่าง กิจกรรมปั๊มขึ้นรูป แต่เดิมมีค่าต้นทุนต่อหน่วยของตัวผลักดันต้นทุนเฉลี่ยที่ 691.20 บาทต่อชั่วโมงแรงงาน หลังจากการปรับปรุงการดำเนินงานแล้วเหลือเพียง 628.58 บาทต่อชั่วโมงแรงงานเท่านั้น |
Other Abstract: | Because the motor manufactor in this research's does not have both accurate cost accounting system and valuable/non-valuable activity analysis, its production cost has been rising. The purpose of this research is to develop a cost of production system with activity based costing and reduce production costs in the motor factory. To analyze cost of system, it began with collecting data in each departments to analyze, managing resources, set up cost drivers of activities, record the works derived from the activities, then calculate cost driver rate in each activities, allocating cost of support departments to each production process. The next is calculation of cost of driver rate from each process. To calculate production cost and unit cost, taking the data of activity based cost improves the process by activity based-management. First, select activities that deserves to be improved. Next, set target in improving of which activities are not worth in using fund and not related in setting targets (which are considered by Cost variance : CV). Lastly, the measures are set in order to determine the improvement procedure. The result shows that production cost obtained by traditional cost accounting from the factory is different from the production cost derived by the procedure in this study. The traditional cost accounting is 34,182,936.76 baht while the result of the study shows more practical cost of 37,748,369.50 baht. In addition, the study is able to discover the actual unit costs of each product group and thus only able to roughly estimate unit cost of each product in term of average figures. After implementing the measures, the cost variance become positive; more efficiency improves and cost reduction are in place. For instance, in Pump activity the cost driver rate 691.20 Baht/hour, become 628.58 Baht/hour |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16867 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1221 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1221 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Noppadol_tr.pdf | 2.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.