Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20918
Title: การเปรียบเทียบการหลุดลอกของยางแอสฟัลต์ที่เคลือบบนผิว ของกรวดดินเผากับหินปูน
Other Titles: A comparison of asphalt stripping of calcined clay and limestone aggregates
Authors: พงษ์ศักดิ์ อโณทัยไพบูลย์
Advisors: สุประดิษฐ์ บุนนาค
บุญสม เลิศหิรัญวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
[email protected]
Subjects: กรวดดินเผา
หินปูน
ผิวจราจร -- แอสฟัลต์คอนกรีต
แอสฟัลต์คอนกรีต
ผิวจราจร -- ความเสียหายจากอุทกภัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำกรวดดินเผาไปใช้เป็นมวลรวมหยาบในงานผิวทางแอสฟัลต์ติกในเขตที่มีน้ำท่วมขัง โดยทางผิวทางทดลองจริงขนาด 1.85×3.50 ตารางเมตร เปรียบเทียบกับผิวทางทดลองอีกส่วนหนึ่งซึ่งใช้หินปูนเป็นมวลรวมหยาบขนาด 3.33×3.50 ตารางเมตร ติดตามสังเกตผลที่เกิดจากการกระทำของน้ำ พร้อมทั้งเจาะผิวทางทดลองขึ้นมาตรวจสอบ และหาการเปลี่ยนแปลงค่าเสถียรภาพในผิวทางทั้งสองเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามการทดสอบการหลุดลอกของยางแอสฟัลต์จากผิวของกรวดดินเผากับหินปูนและการหาการเปลี่ยนแปลงค่าเสถียรภาพของก้อนตัวอย่างแอสฟัลต์ติกคอนกรีตทั้ง 2 ชนิด ที่ได้จากการเตรียมโดยวิธีมาร์แชล จะถูกกระทำโดยการแช่ในน้ำนิ่งที่อุณหภูมิ 〖60〗^๐ซ ภายในห้องปฏิบัติการด้วย ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้สภาวะและเงื่อนไขเดียวกัน ผิวทางทดลองแอสฟัลต์ติกรวดดินเผาเกิดการหลุดร่อนที่ผิว ภายหลังเปิดใช้งานได้ไม่นาน และการเปลี่ยนแปลงค่าเสถียรภาพในก้อนตัวอย่างแอสฟัลต์ติกคอนกรีตกรวดดินเผาที่เจาะได้จะมีค่ามากกว่า ในตัวอย่างแอสฟัลต์ติกคอนกรีตหินปูนที่เจาะได้ ซึ่งให้ผลสอดคล้องกับผลการทดลองการเปลี่ยนแปลงค่าเสถียรภาพของก้อนตัวอย่างที่ทำขึ้นในห้องทดลอง
Other Abstract: This research was proposed to study the possibility of using calcined clay as coarse aggregate for asphaltic concrete mixing to be laid in the area subjected to frequent flooding. Test section of 1.85 X 3.50 square metre Using calcined clay as coarse aggregate was laid in order to compare with another test section of 3.33 X 3.50 square metre using limestone as coarse aggregate. Periodic observations of the effect of water on the stability of the two kinds of pavements were done by testing of the corings. Stripping test of the two kinds of aggregates by water actions was performed in the laboratory by submerging the samples prepared by Marshall Method in 60 ℃ water. Under the same condition, it has been found that disintegration failure has occured in the test section of calcined clay as coarse aggregate after short service period. The stability change of the cal¬cined clay cored smaple was greater than that of the limestone cored sample which corresponding to the result in laboratory.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20918
ISBN: 9745665835
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongsak_An_front.pdf401.76 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_An_ch1.pdf241.09 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_An_ch2.pdf716.38 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_An_ch3.pdf377.39 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_An_ch4.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Pongsak_An_ch5.pdf858 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_An_ch6.pdf993.69 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_An_ch7.pdf232.05 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_An_back.pdf524.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.