Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30995
Title: | การคัดเลือกแบคทีเรียทนเค็มที่สามารถสร้างเอนไซม์เดกซ์แทรนเนส และการศึกษาสมบัติของเอนไซม์ทางชีวเคมี : รายงานฉบับสมบูรณ์ |
Other Titles: | Selection of Halophilic microorganisms that can produce dextranase and studies biochemical properties of dextranase |
Authors: | สุเทพ ธนียวัน |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
Subjects: | แบคทีเรียที่ชอบเค็ม เดกซ์แทรนเนส เดกซ์แทรนเนส -- การวิเคราะห์ ไมโครค็อกคัส ฟันผุ -- การป้องกัน |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ได้ทำการคัดแยกเบคทีเรียทนเค็มจากตัวอย่าง ดิน เลน และน้ำทะเล จากแหล่งบริเวณชายฝั่งทะเลของประเทศไทย จากแบคทีเรียทั้งหมดที่แยกได้ 1,092 สายพันธุ์ มีอยู่ 19 สายพันธุ์ที่สามารถสร้างเอนไซม์เดกซ์แทรนเนสได้ จึงได้คัดเลือกสายพันธุ์ z-10 ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นเชื้อ Micrococcus ซึ่งให้ความกว้างของบริเวณใสมากที่สุดมาศึกษาต่อไป การสร้างเอนไซม์เดกซ์แทรนเนสโดยเชื้อ z-10 นี้เกิดได้ดีในอาหารสูตร Yamaguchi เมื่อเทียบกับสูตรอื่น ๆ สภาวะการเลี้ยงเชื้อที่ให้เอนไซม์เดกซ์แทรนเนส คือเลี้ยงที่ 30°C ความเป็นกรดด่างเริ่มต้นเท่ากับ 9 พบว่าระบบควบคุมการสร้างเอนไซม์เดกซ์แทรนเนสเป็นชนิด induction โดยมีสับสเตรทเดกซ์แทรนเป็น inducer สูตรอาหาร Yamaguchi ได้รับการปรับปรุงจนเชื้อ z-10 สามารถสร้างเอนไซม์ในปริมาณ 13 หน่วยต่อมล.อาหารเลี้ยงเชื้อหรือเพิ่มขึ้นกว่าการใช้สูตรที่ยังไม่ได้รับปรับปรุง 33 เท่า นอกจากนี้ยังได้ทดสอบหาสภาวะที่เหมาะสำหรับการทำงานของเอนไซม์อีกด้วย ำหรับเอนไซม์นี้พบว่ามีความจำเพาะต่อการย่อยเดซ์แทรนชนิด a-1,6 แต่ไม่พบแอคติวิติชนิด a-1,3 หรืออื่น ๆ โดยเอนไซ์ที่ได้รับการทำให้อยู่ในรูปกิ่งบริสุทธิ์ โดยการตกตะกอนด้วย NH SO โครมาโตกราฟบน Sepharose-4B และผ่านบน DEAE-cellulose จะมีค่า Km = 0.558 x 10 M ต่อ เดกซ์แทรน T-2000 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30995 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Dent - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
suthep_ta_2533.pdf | 3.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.