Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36443
Title: | การบริหารจัดการอาคารชุดพักอาศัยของการเคหะแห่งชาติ : กรณีศึกษา อาคารชุดพักอาศัย เคหะชุมชนร่มเกล้าระยะ 3 |
Other Titles: | A Management of the National Housing Authority condominium : a case study of Romklao Housing Estate Phase 3 |
Authors: | หาญศึก หับสุภา |
Advisors: | เสริชย์ โชติพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การเคหะแห่งชาติ เคหะชุมชนร่มเกล้าระยะ 3 อาคารชุด -- การจัดการ National Housing Authority Romklao Housing Estate Phase 3 Condominiums -- Management |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อาคารชุดพักอาศัยเคหะชุมชนร่มเกล้าระยะ 3 มีการบริหารจัดการโดยนิติบุคคลอาคารชุด 1-10 มีการก่อสร้าง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน มีความแตกต่างกันในเรื่องของเวลาการก่อสร้าง จำนวนอาคาร จำนวนหน่วยที่พักอาศัย และมีสภาพกายภาพของอาคาร ได้แก่ ภายนอกอาคาร ภายในอาคาร และระบบประกอบอาคาร แตกต่างกันระหว่างแต่ละนิติบุคคล จึงนำไปสู่คำถามที่ว่า ทำไมสภาพทางกายภาพจึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดขึ้น และการบริหารจัดการอาคารชุดพักอาศัย มีส่วนส่งผลให้เกิดสภาพที่แตกต่างกันของสภาพกายภาพแต่ละอาคารหรือไม่ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพกายภาพอาคารชุดที่อยู่อาศัย โครงสร้างการบริหารจัดการ แผนการบริหารจัดการ การบริหารจัดการด้านการเงิน และปัญหาจากการขาดการบริหารจัดการ โดยศึกษาจากนิติบุคคลอาคารชุด 1-10 ดังกล่าว การศึกษานี้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แบบสำรวจและการสัมภาษณ์ผู้จัดการนิติบุคคล จากการศึกษาพบว่า สภาพกายภาพอาคารชุดพักอาศัยมีลักษณะแตกต่างกันในทุกนิติบุคคลอาคารชุด โครงสร้างการบริหารจัดการมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบแยกการปฏิบัติตามตำแหน่งกันชัดเจนและในแบบที่รวมตำแหน่ง ในส่วนการบริหาร การจัดการ และการปฏิบัติการ การวางแผนการปฏิบัติงานมีการจัดแผนงานบริการอาคาร แผนงานการจัดกิจกรรม แผนงานดูแลบำรุงรักษาอาคาร และมีการกำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานในแต่ละส่วน การวางแผนงบประมาณมีแผนการบำรุงรักษา การจัดหาวัสดุ การจัดค่าบริการอาคาร การจัดค่าสาธารณูปโภค การจัดค่าบริหารจัดการนิติบุคคล และอื่นๆ การจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับการบริหารจัดการส่วนใหญ่มาจากค่าส่วนกลาง ค่าน้ำประปา ค่าบริการอุปกรณ์ ดอกเบี้ยรับ และรายรับอื่นๆ ค่าใช้จ่ายอาคารแบ่งเป็น หมวดค่าบริการอาคาร ค่าสาธารณูปโภค ค่าบริหารจัดการ ค่าบำรุงรักษาอาคาร ค่าวัสดุ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ การศึกษานี้สรุปได้ว่า เรื่องสำคัญในการบริหารจัดการอาคารชุดพักอาศัย ได้แก่ 1) การจัดโครงสร้างการบริหาร ที่ชัดเจนตรงตามหน้าที่ ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การวางแผนการปฏิบัติงานโดยการกำหนดระยะเวลาชัดเจนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 3) การวางแผนงบประมาณได้ครอบคลุมทุกส่วนงาน ทำให้สามารถควบคุมงบประมาณที่ใช้ได้อย่างเหมาะสม 4) การหาแหล่งทุนสำหรับการบริหารจัดการ มีความจำเป็นที่ต้องมีการจัดหางบประมาณเพิ่มเติม เนื่องจากการปรับปรุงดูแลอาคารต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก 5) การเลือกบุคคลากรที่มีประสบการณ์จะทำให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ การศึกษานี้เสนอว่า ผู้บริหารอาคารชุดพักอาศัยควรจัดโครงสร้างการบริหารงานตามตำแหน่งงานที่ชัดเจน มีการวางแผนการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกำหนดเวลาชัดเจน มีการวางแผนงบประมาณให้พร้อม สำหรับการดูแลบำรุงรักษาอาคารพักอาศัย เพื่อให้อาคารมีความสมบูรณ์ ปลอดภัย เพื่อตอบสนองกับผู้ใช้อาคารเพื่อการพักอาศัยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ |
Other Abstract: | The Romklao Housing Estate Phase 3 condominiums are managed by different management teams. Their 10 condominiums are divided into three phases. According to the management of each team, these phases are different in terms of construction time, number of buildings and units, physical condition of the building and grounds, and building assembly system. This leads to questions of why their physical conditions are different, what the factors are behind these differences and to what extent these differences are due to having different condo management teams. The aim of this research is to study the physical conditions of these 10 condominiums, as well as their management structures, management plans, financial management and determine whether problems stem from ineffective management. The data were collected through documentary analysis, surveys, and interviewing the condo managers. It was found that under the management of different condo management teams, the physical conditions of these buildings were different. Two types of management structures were found, clear duty description for each position and pooled duties for all positions. In terms of administration, management, and operation, they all had plans for condo services, activities, and maintenance. In addition, each plan contained a timeline, a plan for supplying materials, and budgets for service expenses, public utilities, the condo management team, and other expenses. Their financial sources were mainly from condo fees, water charges, equipment service fees, earned interest, and other incomes. Their expenses were from condo services and maintenance, public utilities, condo management, materials costs, and additional expenses. It can be concluded from this study that the essential factors of condominium management include (1) a clear management structure which results in effective operation, (2) a short and long precise timeline of operations, (3) overall financial plans which lead to effective financial control, (4) seeking additional revenues as the cost of condo service and maintenance is high, and (5) recruiting experienced personnel for effective operation. This study suggests that a condo management team should have a clear organizational structure, timeline, and financial plan so that they can provide condo services and maintenance, and the buildings will be safe and serve their residents effectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36443 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1214 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1214 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
harnsuk_ha.pdf | 13.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.