Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42866
Title: การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจต่อการเสพยาเสพติดของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดซ้ำ
Other Titles: DEVELOPMENT OF A NON-FORMAL EDUCATION PROGRAM TO ENHANCE DRUG ABUSE RESILIENCE QUOTIENT OF YOUTH AT RISK OF DRUG RELAPSE
Authors: เมธปิยา เกิดผล แตงรัตนา
Advisors: วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
วิรุฬห์ นิลโมจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
ยาเสพติดกับเยาวชน
เยาวชนที่เป็นปัญหา
Non-formal education
Narcotics and youth
Problem youth
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจต่อการเสพยาเสพติดของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดซ้ำ 2) ศึกษาผลของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจต่อการเสพยาเสพติดของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดซ้ำที่พัฒนาขึ้นไปใช้ 3) วิเคราะห์ปัจจัย เงื่อนไข และปัญหาของการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจต่อการเสพยาเสพติดของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดซ้ำจากผลการทดลองใช้ และ 4) นำเสนอมาตรการทางสังคมในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจต่อการเสพยาเสพติดของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดซ้ำแบบบูรณาการที่ใช้ปัญหาของเยาวชนเป็นศูนย์กลาง ผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดซ้ำที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดคลองเตย จำนวน 60 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน คือ กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยใช้การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มทดสอบก่อนและทดสอบหลังการเข้าร่วมโปรแกรม โดยมีการติดตามผลพฤติกรรมของกลุ่มทดลองหลังสิ้นสุดการเข้าร่วมโปรแกรมเป็นเวลา 2 เดือน ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจต่อการเสพยาเสพติดของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดซ้ำ ดำเนินการตามขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมเชิงพัฒนาของ Boyle โดยมีการบูรณาการแนวคิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ของ Mezirow ร่วมกับแนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญาของ D’Zuriila & Goldfried ซึ่งผลการศึกษาหาความต้องการเรียนรู้ก่อนการสร้างและพัฒนาโปรแกรม พบว่า เยาวชนกลุ่มเสี่ยงมีความต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันทางใจทั้ง 3 มิติในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย มิติด้านความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ มิติด้านความมุ่งมั่นในความสำเร็จ และมิติด้านความกล้าเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ 2. ผลการทดลองใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน พบว่า เยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่เป็นกลุ่มทดลองมีคะแนนของแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันทางใจและคะแนนรวมของแบบวัดภูมิคุ้มกันทางใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนของแบบวัดภูมิคุ้มกันทางใจด้านความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ และด้านความกล้าเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 แต่ด้านความมุ่งมั่นในความสำเร็จ กลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เงื่อนไขความสำเร็จของการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจต่อการเสพยาเสพติดของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดซ้ำ ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านผู้สอน ส่วนปัญหาของการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจต่อการเสพยาเสพติดของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดซ้ำ ได้แก่ ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม สถานที่ในการจัดกิจกรรม และการติดตามผลหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม 4. ข้อเสนอมาตรการทางสังคมในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจต่อการเสพยาเสพติดของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดซ้ำแบบบูรณาการที่ใช้ปัญหาของเยาวชนเป็นศูนย์กลางแบ่งออกได้เป็น 6 มาตรการ ได้แก่ การรวมพลังชุมชนสกัดกั้นยาเสพติด การพัฒนาประสิทธิภาพในการติดตามดูแลและสอบสวนการติดยาเสพติดในชุมชน การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยเน้นการเลิกยาเสพติดถาวร การลดโอกาสการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดของเยาวชน การแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และการบูรณาการกลไกภาคประชาชนกับภาคท้องถิ่นป้องกันและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
Other Abstract: The purposes of this research were: 1) to develop a non-formal education program to enhance drug abuse resilience quotient of youth at risk of drug relapse. 2) to study the impacts of applying a non-formal education program to enhance drug abuse resilience quotient of youth at risk of drug relapse. 3) to analyse the factors conditions and the problems of using the non-formal education program to enhance drug abuse resilience quotient of youth at risk of drug relapse from the results and 4) to present the social measures that reinforced the resilience quotient for the youth at risk of drug relapse which using youth’s problems as a center. The research studies with the youth at risk of drug relapse who live in the congested community in Klongtoey district. The samples of this study were 60 youth at risk of drug relapse that were divided into 2 groups, 30 youth for each group. The experimental group who participated the program using the developed model and the controlled group who didn’t participate the program. The research methodology was the quasi-experimental design approach with two-group pretest and posttest then follow-up the experimental group’s behavior for 2 months subsequently. The results of the research were as followed : 1. The development of a non-formal education program to enhance drug abuse resilience quotient of youth at risk of drug relapse based on Program Development Concept of Boyle; furthermore, it was integrated by the Transformative Learning Theory of Mezirow and the Cognitive Behavioral Modification concepts of D’Zuriila & Goldfried. The results of the learning need before created and developed the program were found: The youth need to learn about 3 dimensions of the resilience quotient in high levels consist of 1) Restraint, 2) Constancy, and 3) Challenge. 2. The results showed that the experimental group had the resilience quotient’s knowledge scores and the resilience quotient test scores higher than the controlled group at .05 level of significance. In addition, the experimental group had the resilience quotient test scores in restraint dimension and challenge dimension higher than the controlled group at .05 level of significance, but not significant in constancy dimension. 3. The successful conditions of using a non-formal education program to enhance drug abuse resilience quotient of youth at risk of drug relapse were: 1) Learning activities and 2) Instructors. The problems of using a non-formal education program to enhance drug abuse resilience quotient of youth at risk of drug relapse were: 1) Time 2) Place and 3) The follow-up study. 4. The social measures that reinforced the resilience quotient for the youth at risk of drug relapse which using youth’s problems as a center were identified in 6 measures: 1) Community mobilization against drugs 2) The development of efficiency in drug monitoring and investigation in communities 3) The therapy and rehabilitation of drug addicts through prolonged addiction abortion 4) The minimization of youth involvement in drug addiction 5) The integrated problem-solving strategy via community-based methods and 6) The integration of civil-local mechanism and the continual solution.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42866
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.361
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.361
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384244327.pdf7.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.