Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44926
Title: การออกแบบระบบบริหารการจัดซื้อวัสดุนำเข้า
Other Titles: Design of purchasing management system for imported materials
Authors: ศุภลักษณ์ จงสวัสดิวิบูลย์
Advisors: ปวีณา เชาวลิตวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การควบคุมสินค้าคงคลัง
การจัดซื้อ
การออกแบบการทำงาน
Inventory control
Purchasing
Work design
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการออกแบบระบบบริหารการสั่งซื้อวัสดุนำเข้าที่เหมาะสม รวมถึงการออกแบบการควบคุมการไหลของวัสดุในระบบ โดยนำเอาหลักการของระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง ได้แก่ ระบบปริมาณสั่งคงที่และระบบรอบเวลาการสั่งคงที่มาประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายสั่งซื้อ เพราะการดำเนินงานจัดซื้อวัสดุที่ผ่านมายังไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของความต้องการใช้วัสดุซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกล่าวคือมีค่าพยากรณ์ความต้องการมีความคลาดเคลื่อนสูง อีกทั้งยังไม่ได้มีการกำหนดนโยบายการสั่งซื้ออย่างเป็นรูปธรรม จึงส่งผลทำให้เกิดการเก็บพัสดุคงคลังในมูลค่าที่สูงเมื่อเทียบกับบริษัทคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน ดังนั้นบริษัทกรณีศึกษาจึงมีความจำเป็นในการกำหนดนโยบายการจัดซื้อวัสดุนำเข้าใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับธรรมชาติการทำงาน โดยในงานวิจัยได้มีการนำเสนอวิธีการในการออกแบบนโยบายสั่งซื้อสำหรับวัสดุแต่ละชนิดโดยการประยุกต์ใช้ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง ซึ่งการประยุกต์ใช้ระบบปริมาณสั่งคงที่จะมีการพิจารณาจุดสั่งซื้อที่คำนึงถึงค่าความคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์และความไม่แน่นอนของความต้องการในช่วงระยะเวลานำ และการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อจะนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การสั่งซื้อในปริมาณที่ประหยัด การสั่งซื้อในปริมาณที่เต็มตู้ และการสั่งซื้อในปริมาณการสั่งซื้อร่วม การประยุกต์ใช้ระบบรอบเวลาการสั่งคงที่จะมีการพิจารณาถึงความต้องการที่ไม่แน่นอนในช่วงระยะเวลานำ จากผลการทดสอบนโยบายการสั่งซื้อที่นำเสนอกับข้อมูลความต้องการในช่วงเดือนตุลาคม 2554 จนถึงเดือนตุลาคม 2555 เทียบกับการสั่งซื้อปัจจุบันของวัสดุแต่ละชนิด พบว่านโยบายสั่งซื้อที่นำเสนอสามารถทำให้อัตราส่วนระหว่างมูลค่าสินค้าคงคลังต่อยอดขายลดลงได้ถึง 27.28% เมื่อเทียบกับนโยบายสั่งซื้อปัจจุบัน นอกจากนี้มีการปรับปรุงขั้นตอนการติดตามปริมาณคงคลัง ทำให้มีการติดตามระดับพัสดุคงคลังได้อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับนโยบายที่เหมาะสมของวัสดุแต่ละชนิด
Other Abstract: The purpose of this research aims to present a method to design an appropriate purchasing management system for imported Materials and the flow of materials control in the system. By applying the inventory control system such as fixed order quantity system and fixed order period system to set ordering policy. The as-is ordering procedure does not correspond well with the nature of demand which fluctuates with high level of forecast errors. Moreover, the company has not rigorously set their ordering policy. Hence, their inventory value is higher than their competitors. So the company need to set the new ordering policy which fit the nature of ordering procedure. This research proposes a method to determine an appropriate ordering policy for each type of material. By applying Fixed Order Quantity System which concern about forecast errors and uncertainty demand in during lead time and present the order method, i.e., Economic Order Quantity, Full Container Order Quantity and Joint Order Quantity. By applying Fixed Order Period System which concern about uncertainty demand in during lead time. The test result from Order Quantity and demand from October 2011 to October 2012 found that the setup policy can reduce inventory value by 27.28% compared to current purchasing method. Besides the inventory level is monitored continuously which is conforming with the proposed purchasing model.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44926
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1704
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1704
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supaluk_jo.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.