Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46225
Title: การบริหารจัดการชุมชนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : กรณีศึกษา โครงการคลองไผ่สิงโต เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: COMMUNITY ADMINISTRATION AND MANAGEMENT OF THE CROWN PROPERTY BUREAU : A CASE STUDY OF THE KLONG PHAI SINGH TO PROJECT,KLONGTOEI DISTRICT, BANGKOK
Authors: ศิเรมอร สุดชูเกียรติ
Advisors: พรสรร วิเชียรประดิษฐ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยหลายแนวทาง โดยในระยะแรก (ช่วงทศวรรษ 2531) ให้ความสำคัญด้านการแก้ไขชุมชนแออัด โดยการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่และมีการบริหารจัดการชุมชนเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โครงการคลองไผ่สิงโตเป็นโครงการระยะแรกที่ใช้แนวคิดการแบ่งปันที่ดินโดยมีการย้ายคนจากที่อยู่อาศัยแนวราบขึ้นอยู่อาศัยในอาคารสูงและมีการบริหารจัดการชุมชนหลังการเข้าอยู่ที่น่าสนใจ การวิจัยนี้มีจึงวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา นโยบาย แผน และวิธีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการชุมชน ศึกษาผลการดำเนินงานการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของผู้เช่า วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ปัญหา และอุปสรรค สรุปบทเรียนและเสนอแนวทาง โดยระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ การศึกษาเอกสาร การสอบถามผู้เช่า การสำรวจกายภาพ และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการชุมชนของโครงการคลองไผ่สิงโต ได้จำแนกแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ระยะแรก (พ.ศ. 2541 - 2553) ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ร่วมทุนกับบริษัทซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ และสหกรณ์เคหสถานร่วมใจไผ่สิงโต มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เช่าบริหารจัดการชุมชนด้วยตนเอง และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะดูแลด้านการเก็บค่าเช่า ค่าส่วนกลาง ซ่อมแซมสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์และประสานงานชุมชน โดยการบริหารจัดการชุมชนในระยะแรกมีความล่าช้า ไม่มีความเชี่ยวชาญ ประกอบกับผู้เช่าไม่มีความไว้วางใจในตัวบริษัท ที่อยู่อาศัยไม่สะอาดเป็นระเบียบ ทรัพย์ส่วนกลางชำรุดเสียหาย ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมในแต่ละเดือนสูงมาก อีกทั้งยังมีปัญหาความปลอดภัยและปัญหาทางสังคมตามมาอีกด้วย ส่งผลให้ระดับการมีส่วนร่วมและระดับความพึงพอใจในการบริหารจัดการชุมชนของผู้เช่าน้อยมาก แต่ในระยะที่สอง (พ.ศ. 2554- ปัจจุบัน) ที่บริษัทร่วมทุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ว่าจ้างบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือการเคหะแห่งชาติร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ให้ทำหน้าที่บริหารจัดการชุมชนแทน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในการบริหารจัดการชุมชนของผู้เช่ามีมากขึ้น สภาพโครงการมีความสะอาดและเป็นระเบียบมากขึ้น ปัญหาด้านต่างๆลดลง จากการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการชุมชนของบริษัทเอกชนมีการบริหารจัดการชุมชนแตกต่างกับในระยะแรก เนื่องจาก 1) เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการชุมชนหลายโครงการ 2) สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีนโยบายด้านคุณภาพชีวิตและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งการบริหารจัดการชุมชนอยู่ภายใต้แนวคิด “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3) การบริหารจัดการชุมชนเป็นไปในลักษณะการดูแลใกล้ชิดผู้อยู่อาศัยตลอดเวลา 4) เจ้าหน้าที่ด้านบริหารจัดการชุมชนมีความเข้าใจและเอาใจใส่กับผู้อยู่อาศัยจนสามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วและตรงตามความต้องการอย่างเป็นรูปธรรม และ 5) ผู้เช่ามีส่วนร่วมมากขึ้น แต่ปัญหาและอุปสรรคที่ยังคงมีอยู่ ได้แก่ ปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ ความปลอดภัย ความไม่เป็นระเบียบ ตลอดจนปัญหาหนี้สินครัวเรือน ซึ่งต้องมีการเสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อไปในอนาคต ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการชุมชน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งด้วยตนเอง 2) การสร้างความรู้สึกผู้เช่าใหม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน 3) การส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ การลงทุน และการออมทรัพย์ เพื่อลดปัญหาหนี้สิ้นในครัวเรือน 4) การสร้างระเบียบวินัยให้แก่ผู้เช่าในโครงการคลองไผ่สิงโต 5) การสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้เช่าในโครงการคลองไผ่สิงโต อีกทั้งมีการเสนอแนะทางเลือกในการบริหารจัดการชุมชนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในอนาคต 5 ทางเลือก ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับการมีส่วนร่วมของผู้เช่าในโครงการคลองไผ่สิงโตอีกด้วย
Other Abstract: The Crown Property Bureau has many housing development methods. The First method (1989) is interested in resolving congestion in communities through construction and development of housing and infrastructure in surrounding projects to bring a better quality of life. Klong Phai Singh To Project is one of the first Land Sharing Projects that moved local residents from low rises to high rise housing, followed by close administration and management. The administration and management of a community is an interesting process. Therefore, the objectives of this research are 1) to study background policies, plans and methods, 2) to study the result of participation and satisfaction of renters, 3) to analyze strengths, weaknesses, problems and obstacles, and 4) to conclude and suggest community administration and management for the future. The results of the research about the community administration and Management Klong Phai Singh To project are divided two periods. In the first period (1998-2010), The Crown Property Bureau shared investment with a community co-operative for renters to set up a company that renters could use to manage the community by themselves, while the Crown Property Bureau collected common fees charge and rents, provided and repaired infrastructure, and cooperated with representatives of the community. The first Administration and Management Community was delayed, unskilled and unconfident, resulting in untidy, shoddy infrastructure, high monthly operating costs and a prevalence of social problems that followed, caused very low level of renter participation and satisfaction. On the other hand, in the second period (2011-present), the old company hired a private company, National Authority Housing (NHA) manage the community instead of the old company. As a result, the level of participation and satisfaction of renters was higher than before, as almost all concerns were improved. The finding of the research is that there are many differences in the community administration and management of Klong Phai Singh To project between the old company and later private company such as, 1) The private company had more experience with community administration and management 2) During second period, The Crown Property Bureau had policies based on “Understand Access and Develop”, which followed the king’s thoughts or ideas 3) the private company’s community administration and management had a closer relationship with renters 4) The private company’s officers always understood and took care of renters ,and can therefore resolve tangible problems by renters’ requests 5) The level of the renter participation is higher, but some problems still exist, such as community co-operative, lack of safety, uncleanliness and household debt. According problems are found that can be suggested to resolve them in the future. The research suggest many methods for improving community administration and management such as 1) to create community empowerment, 2) to make new renters feel they are part of a community, 3) to promote careers, saving and investment activities for decreased household debt, 4) to encourage renters to be tidy, and 5) to make renters feel safe. The success of these five suggestion for community administration and management of The Crown Property Bureau, however, would depend on the level of renter participation.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46225
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673351225.pdf8.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.