Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46336
Title: การจัดการพลังงานในโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
Other Titles: ENERGY MANAGEMENT IN HOSPITAL: A CASE STUDY AT CHAOPRAYOMMARAD HOSPITAL
Authors: ชมพูนิกข์ นามสุวรรณ
Advisors: วิทยา ยงเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: พลังงานไฟฟ้า -- การอนุรักษ์ -- ไทย -- สุพรรณบุรี -- โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
Electric power -- Conservation -- Thailand -- Suphan Buri -- Chaophraya Yommarat Hospital
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาระบบการจัดการพลังงานภายในโรงพยาบาล โดยมีโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชเป็นกรณีศึกษา โดยนำข้อมูลการใช้พลังงานเบื้องต้นของโรงพยาบาลมาทำการวิเคราะห์ และกำหนดหามาตรการตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) โรงพยาบาลเจ้าพระยายามราชเป็นโรงพยาบาลขนาด 602 เตียง มีเจ้าหน้าที่ 1,525 คน ดัชนีการใช้พลังงานเฉลี่ยใน 3 ปี เป็น 127.15 MJ/bed-day มีชั่วโมงการทำงาน 8,760 ชั่วโมงต่อปี สามารถแบ่งสัดส่วนการใช้พลังงานภายในโรงพยาบาลได้ออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ระบบปรับอากาศ 71.93% ระบบแสงสว่าง 17.39% และระบบอื่นๆ 10.69% จากการเก็บข้อมูลตัวอย่างในแต่ละระบบ พบว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลมีการใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก เกิดจากประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์มีการเสื่อมลงจากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากโรงพยาบาลมีการเปิดทำการตั้งแต่ปี 2469 ดังนั้นจึงนำเสมอมาตรการการเปลี่ยนอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้ามีปริมาณลดลง ทางโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ได้ดำเนินการจัดการพลังงานตามแนวทางการอนุรักษ์พลังงานของพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) ทั้ง 8 ขั้นตอน ในปี 2257 สามารถลดการใช้พลังงาน เมื่อรวมการใช้พลังงานความร้อน 13.3% จากการตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงงานในระบบปรับอากาศและระบบแสงสว่าง สามารถหามาตรการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุน 4 มาตรการ คือ 1) มาตรการเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าT8 18 watt เป็นหลอดไฟLED 10 watt ระยะเวลาคืนทุน 1.1 เดือน 2) มาตรการเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเก่าแบบแยกส่วนขนาด 5.27 kW เป็นเครื่องใหม่ ที่มี EER 3.49 W/W ระยะเวลาคืนทุน 1.1 ปี 3) มาตรการเปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็นเก่าขนาด 72 RT เป็นเครื่องใหม่ที่มีค่า COP 2.9 W/W ระยะเวลาคืนทุน 4.4 ปี 4) มาตรการติดตั้ง VSD ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์เครื่องสูบน้ำของเครื่องทำน้ำเย็น โดยปรับลดความถี่จาก 50 Hz เป็น 34 Hz ระยะเวลาคืนทุน 7 เดือน
Other Abstract: Hospital’s energy policy and planning was studied for the Chaoprayayommarad Hospital by analyzing and identifying according to the Energy Conservation Promotion Act, B.E. 2535 (Revised Edition, B.E. 2550. The Chaoprayayommarad hospital was 602 beds and 1,525 staffs. The total working hours account for 8,760 hours per year. The energy consumptions consisted of air system (71.93%), light system (17.39%) and others (10.69%). According to the sample collections in each system, the major cause of the huge amount of energy usage within hospital was the machine deterioration from long-term usage as the hospital has been established since 1962. Thus, changing the new machine was recommended as the energy saving measures, to help enhancement of the energy efficiency of machines and thus reducing the electric energy consumption. The Chaoprayayommarad hospital has implemented 8 step policies of the Energy Conservation Promotion Act. Due to the implementation of this measure, the total energy consumption was decreased by 13.3%. After the measurement and analysis of energy usage in air conditioning system and lighting system. The 4 energy measures that was worthiness were: 1) The replacement of light bulbs from 18 watt T8 to 10 watt LED resulted in payback period of 1.1 month. 2) The replacement of 5.27 kW split type air conditioner with a new one which EER was 3.49 W/W resulted in payback period of 1.1 year. 3) The replacement of 72 TR old water Chiller to a new one which COP 2.9 W/W resulted in payback period of 4.4 years and 4) The installation of VSD to control speed of water pump from 50 Hz to 34 Hz resulted in payback period of 7 months.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46336
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1193
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1193
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5687517520.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.