Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49131
Title: | การวิเคราะห์ลักษณะการระบายความร้อนของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย 1-1 |
Other Titles: | Analysis of heat removal characteristics of the thai Research Reactor-1-Modification 1 |
Authors: | สันติ จังพานิช |
Advisors: | ธัชชัย สุมิตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ -- การระบายความร้อน ความร้อน -- การถ่ายเท |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากการวิเคราะห์ลักษณะการระบายความร้อนของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย-1/1 ปรับปรุงครั้งที่ 1 ซึ่งใช้บ่อปฏิกรณ์และระบบระบายความร้อนของเดิม เพื่อการระบายความร้อนให้กับแกนเครื่องปฏิกรณ์ตามคุณลักษณะของการระบายความร้อนแบบธรรมชาติ ผลการวิจัยพบว่ามีระยะเวลาหนึ่ง คือ ประมาณ 10 นาที ซึ่งความร้อนที่เกิดจากการเดินเครื่องปฏิกรณ์กระจายไปถึงท้ายบ่อปฏิกรณ์ จึงใช้เป็นเวลามาตรฐานการวัดอุณหภูมิ และได้ทำการวัดอุณหภูมิ และได้ทำการวัดอุณหภูมิตามความลึก 12 ระดับ โดยแต่ละระดับทำการวัด 65 จุด เมื่อเครื่องปฏิกรณ์เดินเครื่องที่กำลัง 1 เมกะวัตต์ การกระจายความร้อนที่ดีที่สุดในแนวตามความยาวของบ่อปฏิกรณ์เกิดระดับความลึก 4,8 เมตร และอุณหภูมิสำหรับนำน้ำในบ่อปฏิกรณ์ออกไประบายความร้อนเท่ากับ 36.8 องศาเซลเซียส ที่ตำแหน่ง 0.885 เมตร ห่างจากแกนเครื่องปฏิกรณ์ไปทางท้ายบ่อตามความยาวของบ่อปฏิกรณ์ ในกรณีที่เดินเครื่องที่กำลัง 2 เมกกะวัตต์ การระบายความร้อนจะดีที่สุดเมื่ออุณหภูมิของน้ำที่ออกมีค่าเท่ากับ 39.6 องศาเซลเซียส ที่ตำแหน่ง 0.40 เมตร ห่างจากแกนเครื่องปฏิกรณ์ไปทางท้ายบ่อตามความยาวของบ่อปฏิกรณ์ |
Other Abstract: | The Thai Research Reactor-1/Modification 1 is a TRIGA MARK III reactor using the old reactor pool. The heat removal is done by natural convection process. It was found from the study that the time required for the heat to travel to the end of the pool was about 10 min. Therefore this was adopted to be a standard time for temperature measurement. The measurement were done at 12 level, each with 65 mesh points. It was found that when the reactor is operated at 1 MW, the optimum heat removal would be to draw out water at 36.8 °C at 4.8 m. below the surface and 0.885 m from the core. For 2 MW the conditions would be 39.6°C at 0.4 m from the core. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิวเคลียร์เทคโนโลยี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49131 |
ISBN: | 974569898 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Santi_ju_front.pdf | 11.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santi_ju_ch1.pdf | 4.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santi_ju_ch2.pdf | 3.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santi_ju_ch3.pdf | 3.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santi_ju_ch4.pdf | 7.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santi_ju_ch5.pdf | 6.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santi_ju_ch6.pdf | 13.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santi_ju_ch7.pdf | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santi_ju_back.pdf | 4.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.