Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49228
Title: การจัดการพลังงานในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง
Other Titles: Energy management in production process of frozen seafood industry
Authors: พงศธร ปียวรรณ
Advisors: วิทยา ยงเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: อุตสาหกรรมอาหารทะเล -- การใช้พลังงาน
อาหารทะเลแช่แข็ง
Seafood industry -- Energy consumption
Frozen seafood
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการใช้พลังงานในโรงงานอาหารแช่เยือกแข็งสำหรับการส่งออก โดยผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย ฟิชบล็อค ฟิชพอร์ชั่น และ กุ้งแช่แข็ง พบว่าวัตถุดิบมีค่าร้อยละ 70 โดยน้ำหนัก ในปี 2554 อัตราการใช้พลังงานต่อผลิตภัณฑ์มีค่า 991 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตันผลิตภัณฑ์ การใช้พลังงานในโรงงานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ เป็นพลังงานจากแสงสว่างร้อยละ 15 พลังงานจากระบบทำความเย็นการแช่เยือกแข็งและกระบวนการผลิตร้อยละ 75 และ พลังงานจากเครื่องปรับอากาศสำนักงานและอื่นๆ ร้อยละ 10 การใช้น้ำในการผลิตปลาและกุ้งจะมีค่าอัตราการใช้น้ำในการผลิตมีค่า 29.45 ลบ.ม.ต่อตัน โดยเมื่อมีการปรับปรุงระบบแสงสว่างพบว่าเมื่อมีการเปลี่ยนหลอดไฟแสงสว่าง จาก T8 เป็น T5 และ LED จะประหยัดพลังงาน 45,291 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปีหรือประหยัดค่าไฟฟ้า 169,886 บาทต่อปี ระยะเวลาคืนทุน 3.31 ปี มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 82,023 บาท อัตราผลตอบแทนของโครงการลงทุน (IRR) = 16.5 % และเมื่อมีการปรับปรุงระบบทำความเย็นโดยนำน้ำล้างและละลายน้ำแข็งในห้องแช่แข็งมาระบายความร้อนของคอนเดนเซอร์จะประหยัดพลังงานไฟฟ้า 79,190 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี หรือ ประหยัดค่าไฟ270,039 บาทต่อปี ระยะเวลาคืนทุน 9 เดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ( NPV) 823,664 บาท อัตราผลตอบแทนของโครงการลงทุน (IRR) มีค่าเท่ากับ 133 % ที่โครงการมีอายุ 5 ปี
Other Abstract: In this research, energy consumption of the exported frozen seafood industry was studied. The product consists of fish block, fish portion and frozen shrimp. The product was found to be 70% of raw materials by weight. The specific energy consumption was 991 kwh/ton of product in 2012. Energy consumption in the factory was divided into 3 parts, 15% for lighting, 75% for refrigeration of frozen product including processing system, and 10% for air conditioning in the office and others. Where as the water consumption was 29.45 m3/ ton of product. The improvement of lighting system,by changing the fluorescent bulb from T8 to T5 and LED, could save the energy of 45,291 kwh/year or save the cost of 169,886 Bath/year. The payback period, NPV and IRR were 3.31 years, 82,023 Bath and 16.5%, respectively. The improvement of refrigeration system, by using waste water from cleaning and defrost in freezing storage for cooling the evaporative condenser, could save the energy of 79,190 kwh/year or save the cost of 270,039 Bath/year. The payback period, NPV and IRR were 9 months, 823,664 Bath and 133 % respectively, at 5 years of project.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49228
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1502
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1502
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pongsatorn_pi.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.