Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52025
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม | - |
dc.contributor.author | วาสินี นันทขว้าง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2017-02-22T06:06:19Z | - |
dc.date.available | 2017-02-22T06:06:19Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52025 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en_US |
dc.description.abstract | การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน อีกทั้งการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย ยังคงยึดถือหลักการบังคับและควบคุม (Command and Control Instruments) ซึ่งไม่อาจบรรเทาความรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงมีแนวความคิดที่จะนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในรูปแบบของกฎหมาย โดยผสมผสานกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับภาระ (Polluter Pays Principle) โดยมาตรการนี้จะทำให้ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการจัดการและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และทำให้ผู้บริโภคร่วมแบ่งส่วนการรับผิดชอบนี้ไปด้วย ในขณะนี้ ยังไม่มีการนำกฎหมายภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้ในประเทศไทย อีกทั้งยังมีข้อคิดเห็นและข้อคัดค้านว่าไม่สามารถนำมาใช้ในประเทศไทยได้ และมีข้อโต้แย้งว่าไม่ควรนำกฎหมายภาษีสิ่งแวดล้อมมาจัดอยู่ในหมวดหมู่ของกฎหมายภาษี อย่างไรก็ตาม กฎหมายภาษีสิ่งแวดล้อมก็มีการนำมาใช้ทั่วไปในต่างประเทศ ดังนั้น การศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการนำภาษีสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของกฎหมายมาใช้แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย อันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหามากขึ้นและยังจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมขึ้นในสังคมอีกด้วย โดยมุ่งศึกษาถึงหลักการ บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศ ในลักษณะ Concept Paper โดยสำรวจระบบกฎหมายภาษีสิ่งแวดล้อมของประเทศเยอรมนี เดนมาร์กและเวียดนาม จากการศึกษาการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศพบว่า การนำกฎหมายภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้นั้นเกิดความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยสามารถเพิ่มระดับการปกป้องสิ่งแวดล้อมได้และใช้ค่าใช้จ่ายน้อยลงมาก ทำให้เกิดแรงจูงใจในการลดมลพิษอย่างต่อเนื่องให้เกิดกับภาคเอกชน นอกจากนี้ ยังสามารถจูงใจให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ๆ ในการควบคุมมลพิษด้วย ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม เพราะฉะนั้น แนวความคิดที่จะนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้ในประเทศไทยในรูปแบบของกฎหมาย จึงต้องศึกษาถึงหลักการและความเป็นไปได้ในการนำใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยอย่างรอบคอบโดยอาศัยประสบการณ์จากต่างประเทศ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Economic and social development of Thailand has huge impacts on the environment and living conditions of people. Because of the enforcement of the law still apply Command and Control Instruments, which could not reduce the severity of environmental problems as efficiently as it should. Thus, the concept is adapted to the environmental tax in the form of law and environmental economics by The Polluter Pays Principle by this measure will be responsible for the pollution costs of management and environmental restoration. And consumers should share the responsibility too. There is currently no legal duty to the environment in Thailand. Additional comments and objections that can not be used in Thailand. The argument that it should not take the environment tax is classified in the category of tax law. However, the environment tax has been used in another countries, this thesis aims to study the environment in the form of tax laws to solve environmental problems in Thailand. This will make the problem more effectively and also to bring about justice in society as well. The study focused on the concept and legal provisions on environmental tax law by exploring the legal system of Germany, Denmark and Vietnam. The study of environmental taxation in those country found that The environmental tax is possible in practice. It can increase the level of environmental protection and cost much less. It can give incentive to reduce pollution to continue with the private sector can also encourage the development and changes in technology and new processes. So, the idea that environmental taxes are used in the form of law. We must study the principles and the possibility of bringing a suit in the context of international experience carefully. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2157 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ค่าธรรมเนียมสิ่งแวดล้อม -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en_US |
dc.subject | กฎหมายสิ่งแวดล้อม -- ไทย | en_US |
dc.subject | Environmental impact charges -- Thailand -- Law and legislation | en_US |
dc.subject | Environmental law -- Thailand | en_US |
dc.title | แนวคิดและหลักการกฎหมายภาษีสิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.title.alternative | Concept and principles on environmental tax law | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายการเงินและภาษีอากร | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.2157 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wasinee_na.pdf | 3.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.