Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5272
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต-
dc.contributor.authorพิมพ์เพ็ญ ธนาคุณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-01-04T05:41:14Z-
dc.date.available2008-01-04T05:41:14Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741306172-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5272-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractศึกษาผลของการเยี่ยมชมเว็บไซต์โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ และ ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อเว็บไซต์ของโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการทดลองแบบ Posttest-Only Control Group Design โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 120 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 60 คน ซึ่งจะได้ชมเว็บไซต์จากแผ่นซีดีรอม แล้วตอบแบบทดสอบและแบบสอบถาม อีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มควบคุมจำนวน 60 คน ซึ่งจะตอบแบบทดสอบและแบบสอบถามโดยไม่ได้ชมเว็บไซต์ ผลการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติแบบ MANCOVA พบว่ากลุ่มทดลองมีความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการเลิกบุหรี่มากกว่ากลุ่มควบคุม โดยเว็บไซต์มีความสัมพันธ์กับความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการเลิกบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า Univariate F = 44.88(p = .000), 6.27(p = 0.01) และ F = 9.26 (p = .003) ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเปิดรับข้อมูลจากเว็บไซต์มีความสัมพันธ์กับความรู้ในระดับปานกลาง (n2 = .28) แต่มีระดับความสัมพันธ์กับทัศนคติและความตั้งใจในการเลิกบุหรี่ในระดับต่ำ (n2 = .05 และ .07 ตามลำดับ) ส่วนตัวแปรทางด้านอายุและเพศไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการเลิกบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p.>.05) ในส่วนของการวิเคราะห์เส้นทางระหว่างความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจ พบว่าความรู้ไม่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการเลิกบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความรู้มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อทัศนคติ ซึ่งจะส่งผลต่อทัศนคติให้มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการเลิกบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หรืออาจกล่าวได้ว่า แม้ว่าจะมีความรู้ แต่หากปราศจากทัศนคติที่ดีต่อการเลิกบุหรี่แล้ว ก็ไม่สามารถก่อให้เกิดความตั้งใจในการเลิกบุหรี่ได้ นอกจากนี้การสำรวจถึงความคิดเห็นที่มีต่อเว็บไซต์ พบว่าเว็บไซต์ได้ให้ความรู้เรื่องบุหรี่และการเลิกบุหรี่เพิ่มมากขึ้น มีเนื้อหา จำนวนหน้า การจัดหน้าและภาษาอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีจุดเด่นอยู่ที่เนื้อหาและข้อความ แต่สิ่งที่ควรปรับปรุง คือ การใช้ภาพกราฟฟิค การใช้ระบบมัลติมีเดีย ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์น่าสนใจยิ่งขึ้นen
dc.description.abstractalternativeInvestigates the effectiveness of an anti-smoking campaign web site regarding the change in knowledge, attitude and intention with respect to quitting smoking; and examines the samples's opinion about the web site. Based on the Posttest-Only Control Group Design, the study divided the 120 samples into two groups of equal number. The experimental group was provided with a CD-ROM containing the anti-smoking campaign web site, whereas the control group responded to a questionnaire without exposure to the web site. The results of MANCOVA indicated that the experimental group had higher knowledge, more positive attitude, and intention to quit smoking than did the control group. That is, exposure to the web site was significantly associated with all three dependent variables. The univariate F ratios for knowledge, attitude, and intention were 44.88(p = .00), 6.27(p = .01), and 9.26(p = .00), respectively. However, the web site had a moderate relation with knowledge (n2 = .28). Attitude and intention were slightly explained by visiting the web site; their n2 were .05 and .07, respectively. Whereas the web site was not significantly associated with gender and age (p>.05). The path analysis showed that knowledge did not have a direct relationship with intention to quit smoking. Rather than being a direct factor, knowledge served as an antecedent to attitude toward smoking, which in turn resulted in intention to quit smoking. In other word, high knowledge without proper attitude would not lead to intention to quit smoking. The respondents admitted that the web site contributed to further knowledge on smoking and greater intention to quit smoking. In addition, they said that the contents, number of pages, layout, and language were quite excellent. The strength of the web site as on its contents and messages. Recommendations with respect to the anti-smoking campaign web site centered on the application of graphics and multimedia, which were expected to bring about more attraction.en
dc.format.extent1245479 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.275-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเลิกบุหรี่en
dc.subjectเว็บไซต์en
dc.subjectการสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพen
dc.subjectการสูบบุหรี่en
dc.titleประสิทธิผลของเว็บไซต์โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่en
dc.title.alternativeEffectiveness of anti-smoking campaign web siteen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.275-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimpen.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.