Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53085
Title: การศึกษาการจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 สำหรับทหารกองประจำการของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
Other Titles: A study of the organization of Basic Education Curriculum B.E.2544 of the Office of Non-Formal Education for military conscrips
Authors: พรหมมาศ วรรณสุข
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: No information provided
Subjects: การศึกษาขั้นพื้นฐาน -- หลักสูตร
ทหาร -- การศึกษา
ทหารกองประจำการ -- การศึกษา
Basic education --- Curricula
Soldiers -- Education
Issue Date: 2550
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 สำหรับทหารกองประจำการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/เขต ผู้บังคับบัญชาหน่วยทหาร นายทหารประสานงาน และครูผู้สอน ของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/เขตที่จัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 สำหรับทหารกองประจำการ จำนวน 91 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ แล้วนำเสนอในลักษณะตารางวิเคราะห์ข้อมูลประกอบคำบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการเตรียมการจัดหลักสูตร ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนร่วมกับหน่วยทหารงานที่จัดหลักสูตร วางแผนการจัดหลักสูตร การจัดเตรียมบุคลากร การประชาสัมพันธ์หลักสูตร การจัดเตรียมอาคารสถานที่ การจัดเตรียมวัสดุประกอบหลักสูตร การเตรียมการเทียบโอนผลการเรียน และการเตรียมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ปัญหาที่ประสบ ได้แก่ ขาดแคลนบุคลากรทำให้ไม่มีโอกาสเลือกครูผู้สอนที่ตรงกับวิชา งบประมาณในการจัดหาวัสดุประกอบหลักสูตรและสื่อการสอนไม่เพียงพอ อีกทั้งขาดงบประมาณในการบำรุงรักาวัสดุประกอบหลักสูตรและสื่อการสอน 2. ด้านการดำเนินงานจัดหลักสูตร มีการรับสมัครและลงทะเบียนเรียนภายในหน่วยทหาร มีการจัดอบรมขั้นตอนและวิธีการจัดทำแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นกิจกรรมพบกลุ่ม และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการทำโครงาน การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการนำเสนอโครงการ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีการวัดผลและประเมินผู้เรียนก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังสอน ตามสัดส่วนและเกณฑ์ที่ครูผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกำหนด ปัญหาที่ประสบ ได้แก่ ขาดครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการจัดทำแผนการเรียนรู้ และขาดสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3. ด้านการนิเทศติดตามผลการจัดหลักสูตร มีการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการการนิเทศการเรียนการสอน เช่น กิจกรรมการประชุมชี้แจง การปรึกษาหารือ การเยี่ยมเยียนชั้นเรียน ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/เขต ร่วมกับหน่วยทหารที่จัดหลักสูตรติดตามผลการเตรียมการจัดหลักสูตร และการดำเนินงานการจัดหลักสูตร เพื่อนำผลการกำกับติดตามมาใช้พัฒนาการจัดหลักสูตรในภาคเรียนต่อไป ในด้านการนิเทศติดตามผลการจัดหลักสูตรไม่ประสบปัญหา
Other Abstract: The study intended to study the state and problems of Basic Education Curriculum B.E. 2544 organization for military conscripts under the Office of Non-formal Education. The research population was drawn from district directors of non-formal education service center, military commanders, military coordinators, and teachers of non-formal education service center, based on the organization of Basic Education Curriculum B.E. 2544 for 91 military conscripts. Checklist questionnaires were used as a study tool. In addition, statistical frequency analysis, percentage, and tables associated with descriptive explanation were applied in the study. The study found that: 1. The preparation of curriculum organization – The study revealed that non-formal education service centers and responsible military departments for curriculum organization coordinately planed on curriculum organization, staff arrangement, facility and equipment preparation, credit transfer preparation, and learning evaluation. The problems found in the analysis were inadequate appropriate teaching staffs, limited budgets on teaching media and equipment including budget on equipment maintenance expenditures. 2. The implementation of curriculum organization – Application and registration process was available inside military base. There were training on process of formulating teaching plan, organizing group activities, and learning activities via working project. Moreover, other activities were also provided to improve quality of life by letting students participate in project presentation and learning evaluation prior to, in-between, and after learning program whose evaluation criteria were agreeably set between students and teachers. The problems were a lack of experienced teachers in formulating learning plans and inadequate teaching media and equipment. 3. The advisory of curriculum evaluation – There were activities to promote the advisory of learning and teaching such as declaration activities, consulting activities, and non-formal education service center and classroom visits. These activities were organized coordinately with related military departments in order to evalnate and develop further curriculum. However, there was no problem found in this curriculum evaluatoin process.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53085
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.648
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.648
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prommas_wu_front.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
prommas_wu_ch1.pdf689.46 kBAdobe PDFView/Open
prommas_wu_ch2.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open
prommas_wu_ch3.pdf758.78 kBAdobe PDFView/Open
prommas_wu_ch4.pdf51.21 MBAdobe PDFView/Open
prommas_wu_ch5.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
prommas_wu_back.pdf10.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.