Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55418
Title: สื่อสาธารณะกับการสร้างความเป็นพลเมืองในสังคมไทย: กรณีศึกษารายการนักข่าวพลเมืองขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสื่อสาธารณะแห่งประเทศไทย
Other Titles: PUBLIC MEDIA AND CIVIC EDUCATION IN THAI SOCIETY: A CASE STUDY OF THE CITIZEN JOURNALIST PROGRAMME OF THE THAI PUBLIC BROADCASTING SERVICE
Authors: สไรรา ไกรสิน
Advisors: นฤมล ทับจุมพล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการคือ 1.เพื่อศึกษาบริบทของรายการนักข่าวพลเมืองขององค์การฯ ในฐานะสื่อสาธารณะที่มีผลต่อการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง 2.เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา ประเด็นในการนำเสนอรูปแบบการนำเสนอ รายการนักข่าวพลเมืองขององค์การฯ ในฐานะสื่อสาธารณะ ที่มีผลต่อการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองในสังคมไทย 3.เพื่อศึกษาผลกระทบของรายการนักข่าวพลเมืองที่ส่งผลต่อการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองในสังคมไทยขององค์การฯ ในฐานะสื่อสาธารณะ โดยใช้แนวคิดประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พื้นที่สาธารณะ สื่อสาธารณะ และการรู้เท่าทันสื่อ โดยรวบรวมข้อมูลจากเทปบันทึกรายการนักข่าวพลเมือง ในปี พ.ศ. 2557 เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในระดับนโยบาย ผู้ผลิต นักข่าวพลเมือง ผู้ชมรายการและนักวิชาการ ผลการวิจัยพบว่า จากการดำเนินแนวนโยบายการเป็นสื่อสาธารณะขององค์การฯ ที่ได้กำหนดเอาไว้เรื่อง “การมีส่วนร่วมกับสังคม” อันนำไปสู่การเปิดโอกาสแก่ภาคประชาสังคมในการผลิตและเผยแพร่รายการ อันเป็นที่มาของรายการนักข่าวพลเมือง ทั้งนี้รูปแบบของรายการนักข่าวพลเมืองส่วนมากเป็นการนำเสนอเรื่องราวที่ไม่ใช่ลักษณะการร้องทุกข์ แต่เป็นการนำเสนอกิจกรรมที่ได้ลงมือทำเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้สังคมได้รับรู้ผ่านพื้นที่รายการนักข่าวพลเมืองและคาดหวังให้เกิดการขยายไปยังพื้นที่สื่ออื่นๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือตามวัตถุประสงค์ของตน ด้านเนื้อหาของรายการนักข่าวพลเมืองได้สอดแทรกทั้งแนวคิดประชาธิปไตยและความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย มากไปกว่านั้นยังเป็นต้นแบบของการใช้พื้นที่รายการนักข่าวพลเมืองของภาคพลเมืองที่ได้ใช้ทักษะการผลิตสื่อและตระหนักในพลังของการใช้สื่อในการแสดงออกถึงการเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในการมีส่วนร่วมหรือต่อรองกับรัฐ รวมถึงการนำเสนอข้อเท็จจริงหรือการมีตัวตนของกลุ่มคนที่ไม่มีพื้นที่หรือโอกาสในการสื่อสารเรื่องราวของกลุ่มตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ต่อตัวนักข่าวพลเมือง ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้รายการนักข่าวพลเมืองยังส่งผลต่อประชาชนในพื้นที่ที่มีการออกอากาศ กล่าวคือทำให้เกิดเครือข่ายประชาสังคมในพื้นที่หรือในชุมชน ทำให้ประชาชนมีการตื่นตัวในการมีส่วนร่วม ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้ชมรายการนักข่าวพลเมือง ได้ตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารผ่านพื้นที่ของรายการนักข่าวพลเมืองและต้องการมีส่วนร่วมในการผลิตรายการนักข่าวพลเมืองแต่ภายใต้บริบททางการเมือง สังคม รวมถึงรูปแบบของรายการนักข่าวพลเมืองยังส่งผลต่อความเป็นพื้นที่สาธารณะในฐานะสื่อสาธารณะขององค์การฯ และส่งผลต่อเนื้อหาที่รายการนักข่าวพลเมืองได้นำเสนอ
Other Abstract: This thesis had three objectives: 1) to study the context of the “Citizen Journalist” program of TPBS as a public media source that affects civic education; 2) to analyze the content and topics in the news report patterns of the “Citizen Journalist” program, and 3) to study the effect of the “Citizen Journalist” program as public media that can impact citizenship in Thai Society. The study applied democratic ideas concerning citizenship in a democracy, civic education, public spaces, media for the public, and media literacy. The data were collected from videos of the “Citizen Journalist” program in 2014, from documents, and from in-depth interviews with relevant producers, audiences, and academicians. According to the research, a public media policy specifying “Social Participation” creates opportunities for civil society to produce and broadcast programs. This is the background of the “Citizen Journalist” program. In addition, the pattern of the program seeks to present stories, not petitions. It is about presenting solutions which society can acknowledge, and the goal should expand to other media for change or objective achievement. The content of the program inserts democratic ideals and the citizenship ideals into the country’s democracy. Furthermore, the program provides an original model that adapts media production skills and media power awareness to represent the ownership of sovereignty in participation or negotiation with the state, and offers story narration to society so people will realize the existence of those who cannot communicate their own stories. This leads to the awareness of being citizen journalists and complies with the characteristics of citizenship in a democracy. Moreover, the citizen journalist program also affects people in the broadcasting area through building civil society networks in that area, leading to the awakening of participation. This characteristic is a part of civic education in a democracy. Conversely, although the audiences have become aware of their rights and enjoy liberation in communication through the “Citizen Journalist” program and seek involvement in its production, the patterns of the program and its political or social context will affect the public sphere of the media communication organization and the content the program presents.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การเมืองและการจัดการปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55418
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.128
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.128
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5681054124.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.