Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58021
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรถสิทธิ์ สุรฤกษ์-
dc.contributor.authorศิริชัย จันทร์สมัคร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-04-09T13:58:04Z-
dc.date.available2018-04-09T13:58:04Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.isbn9741424965-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58021-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractปัจจุบันแผนภาพสถานะยูเอ็มแอลถูกนำมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์กันอย่างแพร่หลายเพื่อช่วยในการอธิบายพฤติกรรมการทำงานของระบบ ซึ่งภายในระบบหนึ่ง ๆ นั้นจะประกอบไปด้วยวัตถุต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกัน โดยที่วัตถุเหล่านี้จะมีการติดต่อสื่อสารทั้งกับสิ่งแวดล้อมภายนอกระบบและติดต่อกับวัตถุต่าง ๆ ภายในระบบด้วยกันเอง ดังนั้นผู้ที่ออกแบบระบบจึงจำเป็นต้องบรรยายพฤติกรรมของแต่ละวัตถุให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกัน แต่ในขณะเดียวกันเมื่อระบบที่ต้องการมีขนาดขยายใหญ่ยิ่งขึ้น ความยากและซับซ้อนของการออกแบบวัตถุก็จะขยายเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการตรวจสอบความต้องกันของแผนภาพของแต่ละวัตถุจึงเข้ามามีส่วนสำคัญเพื่อช่วยให้ขั้นตอนของการออกแบบระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบที่มีความเสี่ยงหรือต้องการความถูกต้องสูงการตรวจสอบความถูกต้องของระบบจึงเป็นสิ่งที่ละไม่ได้และทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ในการตรวจสอบความต้องกันของแผนภาพสถานะยูเอ็มแอลนั้น งานวิจัยชิ้นนี้ได้นำเสนอกฎและวิธีการแปลงแผนภาพไปเป็น ซีอาร์อี และไพแคลคูลัส ซึ่งเป็นภาษารูปนัยที่รองรับการบรรยายพฤติกรรมของระบบที่ทำงานพร้อมกันซึ่งมีความซับซ้อนในการทำงานสูง เพื่อเพิ่มความสามารถในการประยุกต์ใช้วิธีการทางรูปนัยต่าง ๆ นอกจากนั้นยังได้นำเสนอกฎการตรวจสอบความต้องกันระหว่างแผนภาพย่อยของแต่ละวัตถุซึ่งทำงานร่วมกันภายในระบบ คือ ตรวจสอบความเท่าเทียมกันของวัตถุ และพฤติกรรมของวัตถุที่ไม่สอดคล้องกันเมื่อทำงานร่วมกันในระบบโดยผลของการตรวจสอบที่ได้จะแสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดที่สามารถเกิดขึ้นได้ของระบบจากขั้นตอนของการออกแบบที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถนำมาเป็นจุดอ้างอิงเพื่อการปรับปรุงหรือแก้ไขระบบนั้น ๆ เพื่อให้ได้ระบบที่ประสิทธิภาพต่อไปในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeUML statechart diagram is a tool that is widely used in software development project to describe behaviors of system. A system consists of objects that work in the environment. Because these objects will communicate with both environment and other objects in the same system, system designers have to describe their behaviors precisely and consistently. When the size of the system increases, the complexity and effort to develop will go up as well, therefore consistency verification of each object becomes one of important tools to help the system design phase becoming efficient, especially for the real-time or control system of which correctness cannot be overlooked. Regarding the consistency checking of UML statechart diagram, this thesis proposes rules and methodology for transforming this diagram to CRE and [pi]-Calculus, formal languages which support describing behaviors of complex concurrent system. This thesis also introduces some rules of consistency checking between UML statechart diagram of each object working in the same system. Equality of objects and inconsistency behaviors of objects in the same system can be identified. The results of consistency checking will allow the system designer to see the problems that will occur by poor quality design phase. These will be the reference points that help designers to adjust or improve their design for high quality systems.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1320-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไพแคลคูลัสen_US
dc.subjectซอฟต์แวร์ -- การพัฒนาen_US
dc.subjectยูเอ็มแอล (วิทยาการคอมพิวเตอร์)en_US
dc.subjectPi-calculusen_US
dc.subjectUML (Computer science)en_US
dc.subjectComputer software -- Developmenten_US
dc.titleการจัดรูปนัยและตรวจสอบความต้องกันของแผนภาพสถานะยูเอ็มแอลโดยใช้ซีอาร์อีและไพแคลคูลัสen_US
dc.title.alternativeFormalization and consistency checking for UML statechart diagram using CRE and [pi]-calculusen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมคอมพิวเตอร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1320-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sirichai_ja_front.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
sirichai_ja_ch1.pdf622.1 kBAdobe PDFView/Open
sirichai_ja_ch2.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
sirichai_ja_ch3.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
sirichai_ja_ch4.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
sirichai_ja_ch5.pdf370.98 kBAdobe PDFView/Open
sirichai_ja_back.pdf360.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.