Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58454
Title: การแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะกับวาทกรรมความเป็นชาติไทย
Other Titles: Public grieving and Thai nationhood discourse
Authors: ธันย์ชนก รื่นถวิล
Advisors: จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: ความเศร้า
ชาตินิยม
พลเมืองไทย
Sadness
Nationalism
Civics, Thai
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและวิธีการที่รัฐเข้าแทรกแซงการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะของประชาชน เพื่อศึกษาปัจจัยตัวกำหนดการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะ และเพื่อศึกษาการสร้างวาทกรรมของความเป็นชาติไทย ผ่านการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะในช่วงถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร นับตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2560 จากผลการวิจัยพบว่าช่วงเวลาหลังเหตุการณ์สวรรคตมีความสำคัญและมีความเปราะบางอย่างยิ่งทั้งในด้านการเมืองคือช่วงเวลาของการผลัดแผ่นดิน และด้านอารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกชนที่ต้องเผชิญหน้ากับความสูญเสียองค์พระมหากษัตริย์อย่างกระทันหัน รัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามาเป็นผู้จัดการแทรกแซงในการแสดงออกความโศกเศร้าของปัจเจกเพื่อให้ปัจเจกชนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่ารัฐกับปัจเจกชน ตลอดจนแสดงออกถึงความพวกพ้องในชาติเดียวกัน ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของอำนาจที่จำผูกโยงปัจเจกชนเข้ากับรัฐชาติในฐานะ “พลเมืองไทย” ผ่านการจัดการของรัฐที่จัดการควบคุมเทศะหรือพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งจัดการร่างกายในฐานะตัวแทนหรือสื่อแทนความหมาย (carrier of signification) และการจัดการตรวจตรา (surveillance) การสังเกต (observe) หรือการเพ่งมอง (gaze) โดยกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติตนต่างๆ ที่ได้กลายมาเป็นเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยตัวกำหนดการแสดงความโศกเศร้าสาธารณะ อันได้แก่ ปัจจัยที่หนึ่งพิธีกรรมเป็นตัวกระตุ้นสำนึกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างความคิดของปัจเจกกับสังคม ปัจจัยที่สองสถานภาพที่แสดงให้เห็นถึงสถานภาพของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นศูนย์กลางแห่งความดีงามที่ถูกแสดงผ่านพิธีกรรม ปัจจัยที่สามบทบาทของปัจเจกชนที่จำเป็นจะต้องสวมบทบาทให้สอดคล้องกับสถานภาพของตน ดังนั้นทั้งการแทรกแซงของรัฐและปัจจัยตัวกำหนดการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะได้สะท้อนวาทกรรมของความเป็นชาติไทย อันได้แก่ วาทกรรมกษัตริย์นิยม (Royalism) และ วาทกรรมชาตินิยม (Nationalism) ที่ถูกนำมาใช้ร่วมกันอย่างแยกไม่ออกจนกลายเป็นอัตลักษณ์ร่วม (collective identity) อย่างหนึ่งของความเป็นไทย
Other Abstract: This research is a study of state intervention and performativity of public grief during the 100 days mourning of the death of King Bhumibol Adulyadej, from 13 October 2016 until 20 January 2017. It takes a look at the Thai state’s intervention in public grieving, factors that determine Thai citizen’s expression of public grief, and how such a controlled performativity of public grief creates a discourse about the Thai Nationhood. It found out that the Thai state employed a series of intervention in public grieving in an attempt to mobilize Thai society during the time of uncertainties and to gain control over the framing of discourse in the political public sphere. Through successions of performative codes imposed by the state, the docile body of mourners became carriers of surveillance and signifiers of a discourse about the Thai Nationhood. Important factors which determined the state’s intervention of public grieving include traditions and public protocols, and the status quo of the Thai monarchy. Traditions and public protocol creates a cultural norm and connects individual consciousness to that of the society. The status quo of the monarchy as a God-like political symbol plays an important role in the design of the this intervention, and it is confirmed through a series of performative protocols and rituals performed by the public. Performing of public grief during this period reflects the ideology of the Thai Nationhood under the hegemony of Royalism and Nationalism discourse. Thus, the Monarchy, Thai Nationhood and Thainess becomes dismissible part of Thai's collective identity.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58454
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.908
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.908
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5884656728.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.