Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59890
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสวภา เวชสุรักษ์-
dc.contributor.authorวิลาสินี น้อยครบุรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T05:25:05Z-
dc.date.available2018-09-14T05:25:05Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59890-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง การจัดการแสดง แสง เสียง ชุด “พนมรุ้งมหาเทวาลัย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการจัดการแสดงแสง เสียง ชุด “พนมรุ้งมหาเทวาลัย” ในประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี พ.ศ. 2559 การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร วารสาร หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการลงภาคสนามเพื่อสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ ผลการศึกษาพบว่าการแสดงแสง เสียง ในประเทศไทยเกิดจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 โดยกรมศิลปากรร่วมกับกองทัพเรือที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กระทั่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดการแสดงแสง เสียง ชุด “รุ่งอรุณแห่งความสุข” ขึ้นที่จังหวัดสุโขทัย กิจกรรมดังกล่าวจึงได้รับความนิยมและเป็นที่แพร่หลายรวมถึงจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งในขณะนั้นนายพร อุดมพงษ์ (ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์) มีความคิดริเริ่มให้จัดประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งขึ้นส่งผลให้เกิดการแสดงแสง เสียง ชุด “พนมรุ้งมหาเทวาลัย” ในปี พ.ศ. 2534 จัดแสดง ณ สถานที่จริง เนื้อเรื่องอิงประวัติศาสตร์ความเป็นมาการสร้างปราสาทพนมรุ้งด้วยวิธีประพันธ์บทละครขึ้นใหม่ผ่านการแสดงของตัวละครโดยใช้กระบวนท่าที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวอย่างธรรมชาติ (กำแบ) และกระบวนท่ารำที่นำท่ารำมาตรฐานแบบหลวงผสมผสานกับท่าที่เลียนแบบจากภาพจำหลัก และการใช้ลิปซิ้ง (Lip - synch) ในการเล่าเรื่องราว รวมถึงดนตรี เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ประกอบการแสดงที่สื่อถึงเชื้อชาติและวัฒนธรรมอีสานใต้ รูปแบบการเข้า – ออก มีทั้งการทำท่านิ่งในตำแหน่งของตนและการเคลื่อนที่เข้า – ออก จากเวที นอกจากนี้ยังมีระบำในการแสดงจำนวน 2 ชุด และการรำเดี่ยวอีก 2 ชุด ประกอบการนำนวัตกรรมแสง สี เสียง และเทคนิคพิเศษเข้ามาในการแสดงทุกฉาก เป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขต 1) ตลอดจนได้รับความอนุเคราะห์จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ปัจจุบันคุณจเร สัตยารักษ์ และคุณธารณา คชเสนี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการจัดการแสดงโดยจัดตั้งเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายเข้ามาดำเนินงาน จึงถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญในประเพณีประจำจังหวัดและดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน-
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to investigate the format and the process of an event organized during the Phanomrung Mountain Festival in Buriram Province in 2016. The methodology included literature review, interviews and observations. The findings revealed that the light and sound production was first introduced in Thailand according to the tourism promotion policy. Co-hosted by the Department of Fine Arts and the Royal Thai Navy, it was staged at the Temple of Dawn in 1976. Later, the Tourism Authority of Thailand organized such event called ‘Dawn of Happiness’ in Sukhothai Province and it has become popular since then. Mr. Porn Udompong, the then Governor of Buriram Province, organized the Phonomrung Mountain Festival, leading to the organization of ‘Phanomrung Mahatewalai’ in 1991 at Phanomrung Historical Park. The show was about the construction of the shrine. Its drama script was rewritten and the dances with natural movements and gestures were combined with the royal dances based on the base relief on the walls of Phanomrung shrine as well as lip-synch. The music, clothing and accessories represented the cultures of those living in Southern E-san. Regarding the show, the dancers had to stay in their designated position on the stage, move towards and leave the stage. There were 2 sets of group dances and 2 sets of solo dances. Each scene was accompanied by innovative production of light and sound. Phanomrung Mahatewalai was jointly organized by the provincial government offices, Phanomrung Historical Park, the Tourism Authority of Thailand (Northeastern Area 1) and the provincial private sectors. Presently, Mr. Charae Satyaruk and Ms. Tharana Kochaseni have been commissioned to organize this event with the support from various sectors. Since this event is an important event, it is assigned as one of the annual events of the province.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.889-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectนาฏยประดิษฐ์-
dc.subjectนาฏศิลป์ไทย-
dc.subjectChoreography-
dc.subjectDramatic arts, Thai-
dc.titleการจัดการแสดง แสง เสียง ชุด “พนมรุ้งมหาเทวาลัย”-
dc.title.alternativeEVENT MANAGEMENT OF “PHANOMRUNG MAHATEWALAI”, LIGHT AND SOUND PRODUCTION-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisor[email protected],[email protected]-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.889-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986607435.pdf24.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.