Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67203
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนิตา รักษ์พลเมือง-
dc.contributor.advisorวีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา-
dc.contributor.authorปฐมาภรณ์ ปันอินทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-07-22T06:46:51Z-
dc.date.available2020-07-22T06:46:51Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67203-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา 2) นำเสนอกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย 3 กรณีศึกษา ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. กิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้พัฒนา สามารถจำแนกนักเรียนออกเป็นกลุ่มที่มีการเรียนรู้สูงและกลุ่มต่ำ ข้อสังเกตที่พบ คือ 1) วิธีดำเนินกิจกรรมแบบสุนทรียสนทนาเหมาะสมกับนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้สูงและกิจกรรมสันทนาการเหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มที่มีผลการเรียนรู้ต่ำ 2) จำนวนคนที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้แต่ละกลุ่มคือ 5-6 คน 3) นักเรียนที่สามารถเรียนรู้และผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 คือนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับดีและดีมาก 4) นักเรียนที่ไม่มีความต้องการและตั้งใจไม่สามารถผ่านเกณฑ์ที่กำหนดของกิจกรรม สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันสื่อ คือ 1) บริบทด้านผู้ปกครอง ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ การดูแลเอาใจใส่ การมีส่วนร่วมต่อการเปิดรับสื่อ 2) บริบทของนักเรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการใช้เวลาว่าง ลักษณะการเปิดรับสื่อ และความถี่ในการเปิดรับสื่อ 2. การนำกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ต้องพิจารณาสองด้าน คือ ในด้านวิธีการจัดกระบวนการและการจัดสภาพแวดล้อม วิเคราะห์สภาพบริบทของผู้เรียน จัดกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มตามสภาพบริบท ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใส่เนื้อหาการรู้เท่าทันสื่อ เลือกสื่อที่นักเรียนให้ความสนใจ มีความแปลกใหม่ ส่วนด้านสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมควรจัดเป็นพื้นที่เปิด การเรียนรู้ที่ไม่มีอคติ มีความร่วมมือจากสถานศึกษาต่อการเรียนรู้ ปัจจัยด้านเพื่อนมีส่วนสำคัญต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นอกจากนี้กระบวนกรที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ควรเป็นผู้ได้รับการฝึกฝนและไม่มีบทบาทหน้าที่ในสถานศึกษาen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to do research and development of the learning processes in order to promote media literacy for Thai youth based on contemplative education approach 2) to propose the learning processes promoting media literacy for Thai youth based on contemplative education approach. Three case studies selected from students in lower and upper secondary schools were used in this study. The research results could be concluded as follows: 1. The learning activities, which were developed by researcher, could differentiate students with high learning abilities from those with low learning abilities. It was noteworthy that 1) dialoguing were effective for high ability group while recreation activities would be more appropriate for low ability group; 2) 5-6 persons were the optimum size for each learning group; 3) students who could score more than 80% were those with good and very good scholastic achievement; 4) students who did not recognize the need and did not pay attention to this learning process were unable to pass the activity criteria. Factors affecting media literacy learning included: 1) parents: educational level, profession, caring and attention given to their children, participation in media consuming; 2) students: scholastic achievement, spare time spending, characteristics of and frequency in media consuming. 2. In implementing the learning activities, methods in managing learning process and provision of suitable learning environment, were the two aspects which should be taken into consideration. Contextual factors of learners must be analyzed for student grouping. Choosing media which would attract attention from students was important in designing learning content. The learning environment should be one that was opened, unprejudiced, and promoted cooperation from educational institutions. Moreover, it was found that their friends, which were an influential factor for the students, would have impact on learning management. In addition, learning facilitators should have training relating to media literacy and had no obligations to the schools.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจิตตปัญญาศึกษาen_US
dc.subjectการรู้เท่าทันสื่อ -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectContemplative educationen_US
dc.subjectMedia literacy -- Study and teachingen_US
dc.titleกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชนไทยตามแนวจิตตปัญญาศึกษาen_US
dc.title.alternativeLearning processes for the promotion of media literacy Of Thai youth based on contemplative education approachen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patamaphorn_pu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.04 MBAdobe PDFView/Open
Patamaphorn_pu_ch1_p.pdfบทที่ 11.23 MBAdobe PDFView/Open
Patamaphorn_pu_ch2_p.pdfบทที่ 25.63 MBAdobe PDFView/Open
Patamaphorn_pu_ch3_p.pdfบทที่ 31.2 MBAdobe PDFView/Open
Patamaphorn_pu_ch4_p.pdfบทที่ 45.96 MBAdobe PDFView/Open
Patamaphorn_pu_ch5_p.pdfบทที่ 51.73 MBAdobe PDFView/Open
Patamaphorn_pu_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก6.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.