Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71111
Title: การหมักผักและผลิตโยเกิร์ตโดยเชื้อแล็กโตบาซิลัสสายพันธุ์ที่ผลิตกรดแอล แล็กติก
Other Titles: Vegetables fermentation and yoghurt production by L(+) lactic acid producing lactobacillus strains
Authors: สุชาดา จงรุ่งเรืองโชค
Advisors: สุหร่าย สายศร
สมบูรณ์ ธนาศุภวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
[email protected]
Subjects: กรดแล็กติก
แล็กโตบาซิลลัส
อาหารหมัก
ผักดอง
การหมัก
โยเกิร์ต
Lactic acid
Lactobacillus
Fermented foods
Fermentation
Yogurt
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาความสามารถผลิตกรดแล็กติกชนิดแอล ไอโซเมอร์และไดอะเซตทิลของ Lactobacillus species จำนวน 22 สายพันธุ์เปรียบเทียบกับ Lactobacillus plantamm P7-1 เพื่อนำไปใช้ในการหมักผักและโยเกิร์ต ผล การศึกษาพบว่าเชื้อ 21 สายพันธุ์ เป็นพวก hornofermentative และ 1 สายพันธุ์เป็น heterofermentative เชื้อ 10 สายพันธุ์ สามารถสร้างกรดแล็กติกชนิดแอล ไอโซเมอร์ และ 15 สายพันธุ์สามารถสร้างไดอะเซตทิล เชื้อ Lactobacillus sp. L2-1 ที่ คัดเลือกได้ สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus ATCC 25923 และเชื้อ 73-1 ยับยั้ง S. aureus ATCC 25923 และ Bacillus subtilis ATCC 6633 ได้ใกล้เคียงกับสารไนซินที่ความเข้มข้น 1:50 เชื้อทั้งสองสายพันธุ์ที่อัตราการ เจริญแบบ exponential ในอาหารเหลว GYPB ที่เวลา 8-18 ชม. โดยใเมที่ 30°ซ ความเข้มข้นของเชื้อ P7-1, L2-1 และ 73- 1 ที่ใช้เป็นสตาร์ทเตอร์ในอาหารเหลวจากการสกัดมะเขือเทศ มันฝรั่ง ที่เติมกลูโคส (Tarnato-Potato Glucose) เมื่อบ่ม ไว้ที่ 30°ช เป็นเวลา 1 วัน เป็น 2.9x1016 - 8.5x1016 เซลล์/มล. เชื้อเหลวนี้สามารถเก็บได้นาน 60 วัน ที่อุณหภูมิ 10°ซ โดยยังมีการรอดชีวิตของเชื้อเป็น 5x104- 5.5x107 เซลล์/มล. เชื้อผงของ P7-1, L2-1 และ 73-1 จากการทำแห้งแบนเยือกแข็ง สามารถรอดชีวิต เมื่อเก็บไว้นาน 28 วัน ที่ 30°ซ โดยมีการรอดชีวิตเป็น 4x1018-3.5x1019 เซลล์/กรัม และยังรอดชีวิตได้ดีเมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 10°ซ และ-20°ซ การหมักผักกาดเขียวปลีและผักรวมโดยใช้สตาร์ทเตอร์เหลวของเชื้อ P7-1 . L2-1 และ 73-1 เปรียบเทียบกับการ หมักตามธรรมชาติ โดยแปรปริมาณเกลือเป็นร้อยละ 1 และ 2 ปริมาณน้ำตาลเป็นร้อยละ 2 และ 4 พบว่า การใช้สตาร์ท เตอร์เหลว หมักผักกาดเขียวปลีเป็นเวลา 3 วัน ค่าความเป็นกรดด่างลดลงเป็น 2.60-2.75 ปริมาณกรดแล็กติกเป็น 2.30- 3.09 มก./มล. ขณะที่การหมักตามธรรมชาติ ค่าความเป็นกรดด่างลดลงเป็น 2.82-3.22 ปริมาณกรดแล็กติกเป็น 1.63-2.36 มก./มล. สำหรับการหมักผักรวม 3 วัน ค่าความเป็นกรดด่างลดลงเป็น 2.80-2.93 ปริมาณกรดแล็กติกเป็น 2.02 - 2.32 มก./มล. ขณะที่การหมักตามธรรมชาติ ความเป็นกรดด่างเป็น 2.96 - 3.25 ปริมาณกรดแล็กติกเป็น 1.69 - 2.27 บก./มล. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของผักกาดเขียวปลีและผักรวม พบว่าปริมาณเกลือ น้ำตาล และชนิดของเชื้อมีผลต่อค่าความเป็นกรดด่างและปริมาณกรดแล็กติกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤ 0.05) การทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่าผักดองที่หมักโดยสตาร์ทเตอร์เหลวมีคะแนนความชอบมากกว่าการหมักตามจรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤ 0.05) ผักดอง ที่หมักโดยสตาร์ทเตอร์เหลวจะมีอายุการเก็บได้นานกว่าการหมักตามธรรมชาติ การผลิตโยเกิร์ตโดยใช้เชื้อเหลว L2-1 และ 73-1 แปรปริมาณน้ำตาลเป็นร้อยละ 6. 8 และ 10 บ่มที่ 37°ซ นาน 24 และ 48 ชั่วโมง โดยเปรียบเทียบกับการหมักด้วยโยเกิร์ตสตาร์ทเตอร์ ผงของเชื้อ Lactobacillus bulgaricus และ Streptococcus thermophilus ซึ่งบ่มที่ 45°ซ พบว่า เชื้อ L2-1 สามารถผลิตโยเกิร์ตที่ทีคุณภาพดีกว่าเชื้อ 73-1 ที่ความเข้มข้นน้ำตาลร้อยละ 10 บ่มที่ 37°ซ นาน 24 ชั่วโมง และใกล้เคียงกับโยเกิร์ตสตาร์ทเตอร์ ผลิตภัณฑมีค่าความเป็นกรดด่าง 3.62. 3.75 และ .3.70 ตามลำดับ ปริมาณกรดแล็กติกเป็นร้อยละ 0.82. 0.60 และ 0.92 และมีความหนืด 1203.11. 675.07 และ 1344.51 มิลลิพาสคาลตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่าปริมาณน้ำตาล และชนิดของเชื้อมีผลต่อค่าความเป็นกรดด่าง ปริมาณกรดแล็กติก และความหนืดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) นำโยเกิร์ตที่ได้ผลิตเป็นนมเปรียวพร้อมดื่ม โดยส่วนหนึ่งเติมเพคตินร้อยละ 0.05 อีกส่วนหนึ่งไม่เติมเพคติน การทดสอบทางประสาทสัมผัสเปรียบเทียบกับนมเปรี้ยวพร้อมดื่มที่ขายในท้องตลาด พบว่า นมเปรี้ยวที่ผลิตโดยเชื้อ L2-1 ไม่เติมเพคตินมีรสชาติใกล้เคียงกับนมเปรี้ยวพร้อมดื่มที่ขายในท้องตลาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05)
Other Abstract: This work was studied on the ability to produce L-lactic acid and diacetyl of 22 strains of Lactobacillus species compared with a strain of Lactobacillus plantarum P7-1 for their applications in vegetables and yoghurt fermentation. The results revealed that 21 strains were homofermentative and only one was heterofermentative. Ten strains could produced L-lactic acid and fifteen strains produced diacetyl. The selected Lactobacillus sp. L2-1 inhibited Staphylococcus aureus ATCC 25923 and also the strain 73-1 inhibited S. aureus ATCC 25923 and Bacillus subtilis ATCC 6633 comparing with that of nisin (1:50). They showed exponential growth in GYPB broth incubated at 30 ๐c for 8-18 hours. The cell density of P7-1, L2-1 and 73-1 as starter cultures in Tomato-Potato Glucose broth was between 2.9x1016-8.5x1016 cells/ml incubated at 30°c for a day. The number of cells survival were 5x104-5.5x107 cells/ml when the cultures were kept at 10°c for 60 days. In powder starter cultures, the number of survivals was 4x1018-3.5x1019 cells/g at 30°c for 28 days. They also showed good survival rate at both 10 and -20°c. Green mustard and mixed vegetables were fermented using liquid cultures of P7-1. L2-1 and 73-1 in comparison to natural fermentation. The salt and sugar concentration were varied to 1-2%; and 2-4%. respectively. The results indicated that fermenting green mustard for three days brought the pH down to 2.60-2.75, and contained lactic acid 2.30-3.09 mg/ml while the natural fermentation had pH 2.82-3.22, and contained 1.63-2.36 mg/ml lactic acid. As for mixed vegetables, the three days fermentation had pH 2.80-2.93. and contained 2.02-2.32 mg/ml lactic acid while natural fermentation had pH 2.96-3.25 and contained 1.69-2.27 mg/ml lactic acid. Statistical analysis of green mustard and mixed vegetables showed that the contents of salt, sugar and starter cultures had a significantly effect on the pH and the amount of lactic acid (p ≤ 0.05). Pickles fermented by liquid starters scored markedly higher than its natural counterpart in the organoleptic test (p ≤ 0.05). They can also be kept for a longer period comparing to those fermented naturally. The production of yoghurt by L2-1 and 73-1 using sugar concentration 6. 8 and 10%. incubated at 37°c for 24 and 48 hours were compared to powder yoghurt starter (Lactobacillus bulgaricus and Streptococcus thermophilus) incubated at 45°c. With 10% sugar concentration at 37°c , 24 hours, the quality of yoghurt produced by L2-1 was better than that of 73-1 and was the same as using yoghurt starter. The pH of products were 3.62, 3.75 and 3.70 and lactic acid was 0.82. 0.60 and 0.92 mg/ml. and viscosities were 1203.11. 675.07 and 1344.51 mpas, respectively. Statistical analysis indicated that the pH, lactic acid concentration and the viscosity were effected by the content of sugar and the type of starter cultures (p ≤ 0.05). The yoghurt produced by the previous procedure was made into drinking yoghurt which were then divided into two samples. Pectin (0.05%) was added to the first sample only. Sensory evaluation of these formulations concluded that drinking yoghurt produced by L2-1 without pectin provided statistically the same taste as currently available commercial products.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71111
ISBN: 9743320342
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada_jo_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.13 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_jo_ch1_p.pdfบทที่ 1949.43 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_jo_ch2_p.pdfบทที่ 22.16 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_jo_ch3_p.pdfบทที่ 31.26 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_jo_ch4_p.pdfบทที่ 42.41 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_jo_ch5_p.pdfบทที่ 5957.81 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_jo_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.