Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71585
Title: | การมองตนเองและโลกทัศน์ของเด็กพิการตาบอด : ศึกษากรณีเด็กในโรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Study of blind children's self-conceptualization and worldview : a case study of students in the School for the Blind, Bangkok Metropolis |
Authors: | แววดาว ทองเจิม |
Advisors: | อมรา พงศาพิชญ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | โรงเรียนสอนคนตาบอด คนตาบอด -- การศึกษา เด็กตาบอด การรับรู้ตนเอง Blind -- Education Blind children Self-perception |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการมองตนเองและโลกทัศน์ของเด็กนักเรียน ในโรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพมหานคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 56 คน วิธีวิจัยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการวิจัยภาคสนาม วิธีการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยตนเองในโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ นักเรียนตาบอด ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมถึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมถึกษาปีที่ 3 จำนวน 56 คน ตลอดจนครู พี่เลี้ยงหรือ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ใด้ข้อมูลต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น ในการวิจัยนี้ยังได้ทำการถึกษาเจาะลึกเฉพาะกรณีอีกจำนวน 5 คน ผลการวิจัยการมองตนเอง เด็กที่อยู่กับพ่อแม่จะมองภาพรวมในครอบครัวว่าทุกคนในครอบครัวรัก และเอาใจใส่ตนเองเป็นอย่างดี ส่วนเด็กที่อยู่กับญาติจะมองว่าความสุขในครอบครัวของตนเองลดน้อยลงกว่าเด็กที่อยู่กับพ่อแม่ แต่ก็พยายามปรับตัวให้เข้ากับบุคคลในครอบครัวได้ การมองตนเองเกี่ยวกับเพื่อน เด็กทุกคนต้องการที่จะมีเพื่อนทั้งที่มีร่างกายปกติ และพิการทางสายตา ซึ่งเด็กจะมีทั้งเพื่อนที่บ้านและโรงเรียน และคิดว่าเพี่อน ๆ ที่ตนเองคบอยู่นั้นเป็นคนดี และจะคบกันตลอดไป การมองตนเองเกี่ยวกับตนเอง เด็กจะมองว่าตนเองพิการและยอมรับในความพิการของตนเองได้ ลักษณะนิสัยของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ที่เกิดมาร่างกายพิการคิดว่าเป็นเพราะโชคชะตา การมองตนเองในด้านสังคม เด็กจะให้ความสำคัญ ในสังคมมาก เพราะตนเองจะต้องเผชิญอยู่ในสังคมตลอดไป และต้องปรับตัวเองเพื่อให้เข้าอยู่ในสังคมใด้ สิ่งที่เด็กต้องการจากสังคม คือ เรื่องการศึกษา และการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับคนพิการ เพราะคิดว่าเป็นความสำคัญกับคนพิการทางสายตามาก โลกทัศน์ในการเข้าใจในฐานะที่ตนเองเป็นสมาชิกของสังคม เด็กมีความเห็นว่า คนในสังคมยอมรับคนพิการมากขึ้น และให้การช่วยเหลือเด็กพิการ และคิดว่าในอนาคตการช่วยเหลืออาจจะดีขึ้นไปอีก โลกทัศน์การเข้าใจในสภาพแวดล้อม เด็กจะมองสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเหมือนกัน แต่สภาพแวดล้อมที่บ้านจะมีความแตกต่างกันใป และสังคมโลกโดยทั่วไปมีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี โลกทัศน์การเข้าใจในธรรมชาติ ความคิดด้านธรรมชาติของเด็กจะเป็นความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการ ที่เด็กได้เรียนรู้มาถึงแม้ว่าจะได้ไปสัมผัสจากสถานที่จริง โลกทัศน์ในสิ่งเหนือธรรมชาติ เด็กจะเชื่อเรื่องของการทำความดีและความชั่ว เชื่อในเรื่องพุทธศาสนา มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องบาปกรรม เพราะคิดว่าตนเองเคยทำกรรมในสิ่งที่ไม่ดีไว้ เมื่อเกิดมาจึงต้องมี สภาพร่างกายเช่นปัจจุบัน และมีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติอยู่มาก |
Other Abstract: | The objective of this research was to study of blind children's self-conceptualization and world view, a case study of students in the School for the Blind, Bangkok Metropolis. This research was based on documentary research and field survey. Data collection was carried out at the School for the Blind, Bangkok Metropolis. Research population comprised 56 blind students studying grade VII - IX, teachers, and students' supervisors in order to obtain more relevant information. In addition five more students were selected for in - depth case study. Research findings concerning self-conceptualization are that : 1) the children who live with parents generally view that family members love and care for them. On the contrary the ones who live with their relatives express less happiness than those who live with the family. Nevertheless the second group voices that they had tried to adapt themself to family members, with regard to self-conceptualization towards friends, all of these students would like to have friends with both normal and eye defected ones. These students have friends both at school and home. They view that their friends are good people and would like to remain good friends towards each other. As for self conceptualizetion towards themselves, they conceive and accept their physical handicap. They view that each one has his/her own characteristics and vary from each other. They express that physical handicap is due to each one’s destination. In terms of self - conceptualization towards society, these students view that they have to live in the society for life thus they know that they have to adapt themselves in order to live in the society appropriately. Their expectation to what society could provide for them are education and physical environment since these things were so important to visual defected people. As a member of society, a lot of children think the handicapped are more acceptable these day and will get better help in the future. They visualize society as a mixture of good and bad. They look at the school atmosphere the same way. In contrast, they think the atmosphere at home is different. Most of the children have good imagination toward nature based on their real experience. They believe in Buddhist teaching about good and bad karma and supernatural power. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (มน.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | มานุษยวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มานุษยวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71585 |
ISBN: | 9746374966 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Waewdow_th_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 366.91 kB | Adobe PDF | View/Open |
Waewdow_th_ch1.pdf | บทที่ 1 | 425.13 kB | Adobe PDF | View/Open |
Waewdow_th_ch2.pdf | บทที่ 2 | 748.59 kB | Adobe PDF | View/Open |
Waewdow_th_ch3.pdf | บทที่ 3 | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Waewdow_th_ch4.pdf | บทที่ 4 | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Waewdow_th_ch5.pdf | บทที่ 5 | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Waewdow_th_ch6.pdf | บทที่ 6 | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Waewdow_th_back.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 867.66 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.