Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72428
Title: ประสิทธิภาพการนิเทศของพยาบาลหัวหน้าตึก โรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข ตามการประเมินตนเอง และตามการประเมินโดยผู้ใต้บังคับบัญชา
Other Titles: Efficiency in supervison of head nurse in regional hospital and medical centers, Ministy of Public Health, as evaluated by themselves and subordinates
Authors: สมจิตร ชัยรัตน์
Advisors: ประนอม โอทกานนท์
พวงเพ็ญ ชุณหปราณ
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
[email protected]
Subjects: การนิเทศพยาบาล -- ไทย
ผู้บริหารการพยาบาล -- ไทย
การประเมินตนเอง
การประเมินผลงาน
Nurses -- Supervision of -- Thailand
Nurse administrators -- Thailand
Self-evaluation
Job evaluation
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการนิเทศของพยาบาลหัวหน้าตึก ตามการประเมินตนเองและประเมินโดยผู้ใต้บังคับบัญชา จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างประชากรคือ พยาบาลหัวหน้าตึก จำนวน 129 คน และพยาบาลประจำการ 278 คน จากโ รงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน หาความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟ่า ของครอนบาช ได้ค่าความเที่ยง .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าคะแนนเฉลี่ยการประเมินประสิทธิภาพการนิเทศของพยาบาลหัวหน้าตึกและพยาบาลประจำการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ตารางที่ 3 - 5) โดยพยาบาลหัวหน้าตึกมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าใน 16 กิจกรรมต่อไปนี้ "การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีรีบด่วน" "การประสานงานกับเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน" "การรายงานอาการเปลี่ยนแปลง การรักษาพยาบาล และปัญหาของผู้ป่วย (การส่งเวร) " "การสังเกตอาการเปลี่ยนแปลง" "การประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ภายในโรงพยาบาล" "การสอนสุขศึกษา ให้แก่ผู้ป่วยและญาติ" "การทำนุบำรุงและเก็บรักษาของเครื่องใช้ทุกชนิด" "การวางแผนการพบาบาล" "การวินิจฉัยปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย" "การให้การพยาบาลตามแผนที่วางไว้" "การรายงานข้อมูลผู้ป่วย" การสอนและให้คำแนะนำในเรื่อง "การวินิจฉัยปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย" "การปรับปรุงแผนการพยาบาลให้เหมาะสม" "การวางแผนการพยาบาล" "การทำบุบำรุงและเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ" และ "การให้การพยาบาลตามแผนที่วางไว้" 2. พยาบาลหัวหน้าตึกที่มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีขึ้นไป ประเมินประสิทธิภาพการนิเทศการพยาบาลของพยาบาลหัวหน้าตึกไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เช่นเดียวกับพยาบาลประจำการที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 1 - 5 ปี และ 6 ปีขึ้นไป ประเมินประสิทธิภาพการนิเทศของพยาบาลหัวหน้าตึกไม่แตกต่างกัน 3. อุปสรรคในการนิเทศตามการรายงานของพยาบาลหัวหน้าตึกและพยาบาลประจำการ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ จำนวนพยาบาลไม่ได้สัดส่วนกับผู้ป่วย ของเครื่องใช้มีจำนวนจำกัด เอกสารหรือตำราสำหรับศึกษาค้นคว้ามีไม่พอ ขาดเกณฑ์มาตรฐานสำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน คุณภาพของเครื่องใช้ไม่ได้มาตรฐาน
Other Abstract: The purpose of this study were (1) To compare evaluation of head nurses and staff nurses regarding efficiency in supervision of head nurses. (2) Whether head nurses and staff nurses in different of educational background, and working experiences had different evaluation on efficiency in supervision of head nurses. A Stratified random sampling techniques was employed to draw sampling of 129 head nurses and 278 staff nurses from the Regional Hospital and Medical Centers, Ministry of Public Health. A survey questionnaire, designed by researcher, was tested by 7 experts for content validity, The reliability of instrument tested by coefficiency of alpha was 0.97. The major findings : Regarding of efficiency in supervision of head nurses, the study was found that. 1. At the statistical significant difference of the .05 level, the head nurses gave better score of evaluation than staff nurses in 16 activities namely "Emergency nursing" "Intra depart mental cooperation" "Shift report" "Patient's observation" "Inter-departmental cooperation" "Health education" "Equipment maintenance" "Nursing care plan" "Nursing diagnosis" "Nursing implementation" "Patient report" and teaching in the topic of "Nursing Diagnosis" "Revise nursing care plan" "Nurging care plan" "maintenance of equipments" and "Nursing implementation" 2. There was no statistical significant difference at the .05 level of evaluation on efficiency in supervision of head nurses among head nurses who bad difference in educational background, as well as staff nurses who had difference in working experience. 3. The obstacles of supervision reported by head nurses and staff nurses were disproportion between nurses and patients, shortage of equipments, an inadquancy of academic documents and textbooks, absense of guidelines for job performance and impopper equipments.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72428
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.151
ISBN: 9745680206
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1987.151
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchit_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.08 MBAdobe PDFView/Open
Somchit_ch_ch1_p.pdfบทที่ 11.18 MBAdobe PDFView/Open
Somchit_ch_ch2_p.pdfบทที่ 22.72 MBAdobe PDFView/Open
Somchit_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3959.59 kBAdobe PDFView/Open
Somchit_ch_ch4_p.pdfบทที่ 41.7 MBAdobe PDFView/Open
Somchit_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.23 MBAdobe PDFView/Open
Somchit_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.