Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19013
Title: | การจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดเลย |
Other Titles: | Supervisory management in primary schools under the jurisdiction of the Provincial Primary Education Office : a case study of Loei Province |
Authors: | สุชาติ ศรีสุวรรณ |
Advisors: | นิพนธ์ ไทยพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การนิเทศการศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย จำนวน 450 โรงเรียน ใช้โรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 37 โรงเรียน ซึ่งเลือกมาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนและศึกษาเอกสารของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามซึ่งเป็นแบบตรวจสอบรายการแบบเติมคำในช่องว่าง และแบบปลายเปิด แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง และแบบศึกษาเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับแบบสอบถามใช้วิธีขอความร่วมมือต้นสังกัดโดยส่งไปทั้งหมด 450 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 405 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.0 ส่วนการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนและการศึกษาเอกสารของโรงเรียนนั้น ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 37 คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา แจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ สรุปผลการวิจัย 1. งานนิเทศการศึกษาที่โรงเรียนจัดขึ้น 1.1 งานด้านวิชาการหรืองานการเรียนการสอนโดยตรง งานที่มีจำนวนโรงเรียนจัดขึ้นมากที่สุด คือการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครูเรื่องการวางแผนการสอน 1.2 งานพัฒนาครูภายในโรงเรียน งานที่มีจำนวนโรงเรียนจัดขึ้นมากที่สุด คือการจัดให้มีการสร้างเสริมประสิทธิภาพของครู 1.3 งานด้านการสนับสนุนและบริการ งานที่มีจำนวนโรงเรียนจัดขึ้นมากที่สุด คือ การจัดบริเวณโรงเรียนและห้องเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนให้ได้ผลตามจุดประสงค์ของหลักสูตร 2. กระบวนการในการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน โรงเรียนส่วนใหญ่ใช้วิธีให้ผู้บริหารร่วมกับคณะครูในโรงเรียนกำหนดและจัดทำแผนงานและโครงการขึ้น มีการชี้แจงแผนงานโครงการด้วยการแจกโครงการให้ครูทุกคนอ่าน มีการมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบแผนงานและโครงการเป็นคณะบุคคล และใช้วิธีปฏิบัติงานร่วมกัน ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่มีความสามารถเฉพาะเรื่องนั้น ๆ เป็นผู้ให้ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานแก่คณะครูด้วยการประชุมชี้แจง การสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานโรงเรียนส่วนใหญ่ใช้วิธีชมเชยในที่ประชุมและพิจารณาความชอบให้เป็นกรณีพิเศษภายหลังจากการปฏิบัติงานและใช้การประเมินผลแผนงานและโครงการด้วยการสังเกตและสอบถามจากการปฏิบัติงานของครูในขณะปฏิบัติงานและในที่ประชุม 3. ปัจจัยที่โรงเรียนต้องการนำมาใช้สนับสนุนการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน ได้แก่ ครูที่มีความรู้ความสามารถในการสอนสาขาวิชาต่าง ๆ และต้องการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน เงินงบประมาณและวัสดุหรือสื่อการสอนสำเร็จรูป 4. อุปสรรคและปัญหาในการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนได้แก่ โรงเรียนขาดแคลนวิทยากรและแหล่งวิทยาการสำหรับให้ครูศึกษาเพิ่มเติม ครูขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน ครูขาดความมั่นใจในตนเองและขาดการยอมรับจากคณะครูในโรงเรียน โรงเรียนได้รับงบประมาณน้อยและได้รับช้าไม่ทันต่อการจัดดำเนินงานของโรงเรียน และขั้นตอนการเบิกจ่ายงบประมาณซับซ้อนเกินไป โรงเรียนได้รับวัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพต่ำและไม่ตรงกับความต้องการของโรงเรียน |
Other Abstract: | Purpose of the Research : The purpose of this research is to study the current supervisory management in primary schools under the jurisdiction of Loei Provincial Primary Education Office. Research Procedures: The population of this study consisted of 450 primary schools under the jurisdiction of Loei Provincial Primary Education Office; of these, thirty-seven schools were selected by using the simple random sampling technique as the samples. The administrators in the 37 schools selected were interviewed. Also, the document analysis were done in those 37 schools. The instruments used consisted of questionnaires interview schedule, and the document analysis sheets. The questionnaire was constructed in forms of check list, filling in the blanks and open-ended. Out of the 450 copies of questionnaire sent, 405 or 90.0 percent of the total distributed were completed and returned. Thirty-seven primary school administrators were interviewed. The document analysis sheets were used only in those 37 primary schools. Data obtained were analyzed by using frequency, percentage and content analysis. Research Findings : 1. Supervisory tasks operated in primary schools were instructional task, teacher development task, and supporting task. Concerning the instructional task, informing teachers of lesson-planning was operated at the first level. Promoting of teachers efficiency, in the teacher development task, was performed at the first level. In the supporting task, improving classrooms and school sited to facilitate the instructional management in achieving the curriculum objectives was also performed at the first level. 2. Concerning the supervisory process, it was found that the school administrators together with teachers set up plans and projects. Those projects, well-clarified before practice, were distributed to all teachers. Also, groups of teachers assigned to be responsible to the projects had to work cooperatively. The administrators and teachers of special fields had also informed the teachers of the project implementation in the teacher conference. Teachers were directly reinforced by the administrators in the public meeting after the projects had been implemented. Observation technique and questionnaires were used in evaluating the projects. 3. Concerning the supervisory management factors, it was found that teachers of special subjects were greatly needed. Moreover, teachers in schools needed to be informed of the supervisory management in schools. Budget and ready-made teaching materials were also needed. 4. The problems of the supervisory management in schools: it was found that there were very few resource persons and professional resources for teachers. Teachers lacked the supervisory management knowledge and self-confidence and they weren't accepted among themselves. The small distributed budget sent to schools was very complicated. The low quality, materials, sent to schools could not really serve the teachers' needs. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19013 |
ISBN: | 9745647063 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchat_Sr_front.pdf | 703.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_Sr_ch1.pdf | 739.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_Sr_ch2.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_Sr_ch3.pdf | 409.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_Sr_ch4.pdf | 6.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_Sr_ch5.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_Sr_back.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.