Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17773
Title: การจัดการในส่วนการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด : ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดน่าน
Other Titles: Management in the provincial education authority : acase study of Changwat Nan
Authors: ไพโรจน์ ตั้งจิตนุสรณ์
Advisors: ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: องค์การบริหารส่วนจังหวัด
การบริหารการศึกษา
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาประชาบาลเป็นการศึกษาภาคบังคับซึ่งประชากรในประเทศไทยทุกคนจำเป็นที่จะต้องศึกษา รัฐบาลได้โอนภาระความรับผิดชอบการศึกษาประชาบาลจากกระทรวงศึกษาธิการ เข้าไปสู่ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านการศึกษาประชาบาลในองค์การดังกล่าวโดยตรง คือ ส่วนการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการโอนโรงเรียนประถมศึกษาจาก กระทรวงศึกษาธิการเข้าไปอยู่ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กระทรวงมหาดไทย เมื่อปี พ.ศ. 2509 และโรงเรียนประถมศึกษาที่โอนเข้ามานี้เรียกว่าโรงเรียนประชาบาลตั้งแต่นั้นมา ดังนั้นภาระหน้าที่ในการรับผิดชอบการศึกษาประชาบาลจึงขึ้นส่วนการศึกษาโดยตรงนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา ถ้าหากการจัดการในส่วนการศึกษาผิดพลาดประชากรได้รับประโยชน์จากการศึกษาไม่เต็มที่เกิดมีผู้ไม่รู้หนังสือเป็นจำนวนมากแล้ว จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศโดยงบประมาณทางด้านการศึกษาจำนวนมากจะถูกใช้จ่ายไปโดยเปล่าประโยชน์ก่อให้เกิดผลเสียต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงในทางตรงข้าม ถ้าหากการจัดการในส่วนการศึกษามีประสิทธิภาพดีสามารถบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของส่วนกลางที่ได้วางใจไว้ก็จะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้ารวดเร็วขึ้นด้วย วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. ศึกษานโยบายและวิธีการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการในส่วนการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน เนื่องจากปัจจุบันกำลังเร่งรัดการพัฒนาการศึกษาประชาบาลซึ่งมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อความเจริญของชาติ 2. เพื่อที่จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดจากการดำเนินงานนั้นและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนข้อเสนอแนะอันจะเป็นผลให้การปฏิบัติงานดีขึ้นไปด้วย วิธีดำเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ส่วนหนึ่งใช้วิธีการสำรวจ แต่ก่อนที่จะทำการสำรวจได้ศึกษาทฤษฎี และราบงานต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของส่วนการศึกษาแล้วจึงนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการวางแผนการสำรวจในขั้นต่อไป แหล่งที่มาของข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้จึงประกอบด้วยข้อมูลปฐมภูมิ และ ข้อมูลทุติยภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ : เป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือและเอกสารต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน และ ภาครัฐบาล เพื่อให้เข้าใจในความหมายของการจัดการ ในส่วนการศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเฉพาะกรณีจังหวัดน่าน ประวัติความเป็นมา โครงสร้างของหน่วยงาน ระเบียบวิธีการดำเนินงาน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ข้อมูลปฐมภูมิ : เป็นข้อมูลที่ได้จากการสำรวจประชากรตัวอย่างซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งประชากรตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ นักบริหารการศึกษาชั้นต้น (ครูใหญ่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด) มีจำนวนครูใหญ่ในจังหวัดทั้งหมด 392 ท่าน โดยสุ่มตัวอย่างจากประชากรซึ่งเป็นนักบริหารการศึกษาชั้นต้นนี้ 20℅ ซึ่งจะมีจำนวนประมาณ 80 ท่าน และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 78 ฉบับ นักบริหารการศึกษาชั้นปลายซึ่งมีจำนวนทั้งหมดประมาณ 42 ท่าน ผู้วิจัยได้ใช้ประชากรทั้งหมดและได้แบบสอบถามกลับคืนมา 40 ฉบับ รวมแบบสอบถามที่สามารถเก็บได้คืนมาทั้งหมด 118 ฉบับ หรือร้อยละ 96.73 ของแบบสอบถามที่ได้แจกให้แก่ประชากรตัวอย่างทั้งหมด โดยใช้วิธีการทางสถิติด้วยวิธีคิดอัตราส่วนร้อยละ อนึ่ง ในระดับผู้ใต้บังคับบัญชา คือ ครูประชาบาลและพนักงานที่ปฏิบัติงานในส่วนการศึกษาซึ่งเป็นข้าราชการผู้น้อยนั้น ผู้วิจัยได้ใช้วิธีสัมภาษณ์จากประชากรดังกล่าวเป็นบางส่วน ผลของการวิจัย การจัดการในส่วนการศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดน่านยังมีขอบเขตของการจัดการอยู่อย่างจำกัดไม่สามารถดำเนินงานให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของเป้าหมายตามที่รัฐบาลได้วางใจไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เท่าที่ควร รัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะกระจายอำนาจในการบริหารการศึกษาประชาบาลออกไปสู่ท้องถิ่นตามหลักการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยที่ว่า การบริหารการศึกษาประชาบาลจากประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ แล้ว การจัดการศึกษาในระดับท้องถิ่นยังถูกควบคุมจากส่วนกลางมากเกินไป ทำให้ผู้บริหารการศึกษาไม่มีเอกภาพในการจัดการศึกษาที่แท้จริง ทั้งนี้เพราะบทบาทและอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารยังมีความสับสน การแบ่งขอบเขตอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบยังไม่มีความแน่นอน และชัดเจนพอ ทั้งนี้เพราะการบริหารการศึกษามีลักษณะที่บริหารงาน งานตามคำสั่งจากเบื้องบนขาดเอกภาพในการตัดสินใจ นอกจากนี้ภายในส่วนการศึกษาก็ยังมีความยุ่งยากในการประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทั้งนี้เพราะระเบียบข้อบังคับตลอดจนกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มีขั้นตอนการดำเนินงานมากเกินไป ขาดความคล่องตัว ทำให้การประสานงานติดต่อล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์ ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาวิจัย ทำให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาซึ่งเกิดขึ้นในส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดน่าน และได้เสนอแนะวิธีทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อันจะมีผลให้การพัฒนาการศึกษาประชาบาลเป็นไปตามเป้าหมาย และนโยบายของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น.
Other Abstract: Background: The Changwat Elementary Schooling (Karnsuksa Prachaban) is a compulsory education. Formerly it was under the Ministry of Education. In 1956 this system of education was tranfered to the Changwat or Provincial Administration Organization. The Education section of the Provincial Administration Organization is responsible for performance and success of the educational operation at this level. Had it fails in functioning it means a great wastage of the national resources. This study was conducted to identify educational management problems of the educational section of Nan province so that alternative solution can be made. Objective of Studies (Research) 1. To study educational Policies and Procedure of the Educational Section of the Provincial Administrative Organization of Changwat Nan. 2. To identify management problems and suggest alternative solutions in order to improve the section performance. Research Procedure Documentary study was undertaken to help set a sheme for indept study of the management problems of the educational section. Books and relevant sources were reviewed to clarify meaning of management in education, to understand the provincial administration organization and operation of the education section, especially of the Changwat Nan struction of the section, procedure require for operation and problems concerned were reviewed. A survey were made through two sets of population. First a sample of 80 elementary school principles were laid questionnaire. The returned questionnaire were 78. A total population of educational administrator (42) was also laid questionnaire while 40 returned. Interviewer was also educated to gather needed information from the school teacher and other officers in the educational section at Nan Province. Findings It was found that Educational Section of the Nan Provincial Administration Organization has many limitation in its operation to achieve educational goal. Decentralization of educational administration as it was aimed at was not realized and practiced. Tight control from the central unit (Ministry of Interior) is still going on. Authority for educational administration at the Changwat level was not really deligated. Coordination between agencies concerned was not satisfactory due to regid rules and regulations and inflescibility of operation.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการทั่วไป
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17773
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pairoj_Tu_front.pdf595.46 kBAdobe PDFView/Open
Pairoj_Tu_ch1.pdf370.19 kBAdobe PDFView/Open
Pairoj_Tu_ch2.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Pairoj_Tu_ch3.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Pairoj_Tu_ch4.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Pairoj_Tu_ch5.pdf753.92 kBAdobe PDFView/Open
Pairoj_Tu_back.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.