Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69275
Title: | แนวทางการสร้างความเชื่อของนักโหราศาสตร์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ในบริบททางโหราศาสตร์และทางธุรกิจ |
Other Titles: | The convincing methods of astrologers through printed media in the contexts of astrology and business |
Authors: | นวฤทธิ์ เอิบอิ่ม |
Advisors: | สุกัญญา สุดบรรทัด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การสื่อสาร การโน้มน้าวใจ สัญศาสตร์ โฆษณาชวนเชื่อ โหราศาสตร์ Communication Persuasion (Psychology) Semiotics Propaganda Astrology |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาแนวทางต่าง ๆในการนำเสนอข่าวสารของนักโหราศาสตร์ผ่าน สื่อสิ่งพิมพ์ในบริบททางโหราศาสตร์และทางธุรกิจ กับเพื่อเปรียบเทียบหาความเหมือนและความแตกต่างในการนำเสนอข่าวสารทางด้านโหราศาสตร์ที่ปรากฏตามสื่อสิ่งพิมพ์ ระหว่างนักโหราศาสตร์ที่ใช้วิธีการวิทยาศาสตร์กับนักโหราศาสตร์ที่ใช้วิธีการไสยศาสตร์หรือจิตวิญญาณ การวิจัยครั้งนี้ได้แบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 2 วิธี คือ การวิเคราะห์เนื้อหาและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ในส่วนของการวิเคราะห์เนื้อหาผู้วิจัยได้ศึกษาผลงานของนักโหราศาสตร์จากสื่อสิ่งพิมพ์ 5 ประเภท คือ หนังสือพิมพ์ นิตยสารรายสัปดาห์ นิตยสารรายปักษ์ นิตยสารรายเดือน หนังสือโหราศาสตร์หรือตำราโหราศาสตร์ จำนวนทั้งสิ้น 121 ฉบับ ในส่วนของการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้วิจัยได้ศึกษาตัวนักโหราศาสตร์จำนวน 22 คน เพื่อสัมภาษณ์ถึงวิธีการสร้างความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์ รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพทางด้านต่าง ๆ ของนักโหราศาสตร์แต่ละคน ผลการวิจัยมีตังต่อไปนี้ 1. นักโหราศาสตร์ใช้วิธีการทางสัญญวิทยาสร้างความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ทำนายในเชิงสร้างความผิดหวัง มีการนำเสนอข่าวสารทางโหราศาสตร์ด้าน Negative มากกว่าด้าน Positive 2. ด้านความเหมือนกันจะพบว่า นักโหราศาสตร์ที่ใช้วิธีการวิทยาศาสตร์และนักโหราศาสตร์ที่ใช้วิธีการไสยศาสตร์หรือจิตวิญญาณ มีการใช้วิธีการทางสัญญวิทยาสร้างความเชื่อโดยวิธีการให้ความรู้หรือการแนะนำปรึกษาปัญหาชีวิตผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ 3. ด้านความเหมือนกันจะพบว่า นักโหราศาสตร์ที่ใช้วิธีการวิทยาศาสตร์และนักโหราศาสตร์ที่ใช้วิธีการไสยศาสตร์หรือจิตวิญญาณ มีการใช้กลยุทธ็ในการโน้มน้าวใจเพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับตัวนักโหราศาสตร์ ในบริบททางโหราศาสตร์ในฐานะโหราจารย์ หมอดูชื่อดัง คอลัมนิสต์ที่มีผลงานตามสื่อสิ่งพิมพ์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสื่อมวลชน 4. ด้านความแตกต่างจะพบว่า ในบริบททางโหราศาสตร์มีความแตกต่างในด้านจุดเด่นหรือสไตล์การดูหมอ ของนักโหราศาสตร์แต่ละคน ความแตกต่างในด้านความสามารถในการพยากรณ์ไม่เท่ากันและความแตกต่างในด้านผลงานเขียน ส่วนในบริบททางธุรกิจพบว่ามีความแตกต่างในด้านความสามารถพิเศษ ความแตกต่างในด้านสถานภาพทางประสบการณ์ดูหมอ อายุ การศึกษา และความแตกต่างด้านรายได้ 5. นักโหราศาสตร์ได้สร้างความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์ทั้งในบริบททางโหราศาสตร์และทางธุรกิจโดยอาศัย การจูงใจ ด้านการโฆษณาชวนเชื่อ ด้านการโฆษณา ด้านการตลาด ผ่านสื่อมวลชนประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ |
Other Abstract: | The purpose of this research is to seek for the advisory methods of astrologers in the contexts of astrology and business. This study compare two groups of astrologers who use scientific methods and who use black magic or meditation. This research method use is Content Analysis and Depth Interview. The printed media to be analysed incuded newspapers, weekly magazines, fortnight magazines, monthly magazines and books up to the total of 121 issue. Depth Interview included 22 astrologers. The results of this research are as follow : 1. Astrologers use the semiological method of persuasion through printed media. The informations tended to discourage and were mostly negative. 2. Both groups are similar in using semiological approach to inform and to advice 3. Both groups are similar in using persuasive method, the one which focused on the celebrity, well supported by the printed media, of the astrologers themselves 4. In the context of astrology, two groups are different in the style of prediction, in the expertness in prediction, and in their printed work. In the context of business there are differences in their special gifts in their expertness in prediction, in their age, education, and income. 5. The astrologers, both in the astrological and business contexts, used persuasion, propaganda, advertising, and marketing as their convincing methods through the printed media. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การหนังสือพิมพ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69275 |
ISSN: | 9746380737 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nawarit_er_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 340.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nawarit_er_ch1.pdf | บทที่ 1 | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nawarit_er_ch2.pdf | บทที่ 2 | 1.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nawarit_er_ch3.pdf | บทที่ 3 | 964.79 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nawarit_er_ch4.pdf | บทที่ 4 | 7.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nawarit_er_ch5.pdf | บทที่ 5 | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nawarit_er_back.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 5.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.