Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70925
Title: การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของความสนใจทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A development of a structural relationship model of science interest of Mathayom Suksa Three students in Bangkok metropolis
Authors: ศธิดาพร อุทิศ
Advisors: อุทุมพร จามรมาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การศึกษา -- วิจัย
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Education -- Research
Science -- Study and teaching
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ระบุตัวแปรที่มีผลต่อความสนใจทางวิทยาศาสตร์ และพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงใครงสร้างของความสนใจทางวิทยาศาสตร์ ตัวแปร 20 ตัว ดังกล่าว จำแนกได้ 3 ด้าน คือ ด้านลักษณะของนักเรียน (มี 6 ตัวแปร) ด้านการเรียนการสอน (มี 7 ตัวแปร) และต้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน (มี 7 ตัวแปร) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความสนใจและแบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร 514 คน เก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวแปรที่มีผลต่อความสนใจทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ (1.1) ด้านลักษณะของนักเรียน ได้แก่ ความสามารถทางวิทยาศาสตร์, มโนทัศน์เกี่ยวกับตนเอง และการติดตามข้อมูลข่าวสารทางวิทยาศาสตร์ (1.2) ด้านการเรียนการสอน ได้แก่ สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน, สื่อและอุปกรณ์การสอนวิทยาศาสตร์ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิทยาศาสตร์ (1.3) ด้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน ได้แก่ การสนับสนุนของครอบครัว 2. โมเดลที่พัฒนามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อธิบายความแปรปรวนในตัวแปรความสนใจทางวิทยาศาสตร์ได้ร้อยละ 50 ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลที่ดีที่สุด มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 0.95, p = 0.62 ที่องศาอิสระ 2 ค่าดัชนีวัดกวามสอดคล้องเท่ากับ 1.00 3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสนใจทางวิทยาศาสตร์จากมากไปน้อย ได้แก่ ตัวแปรด้านลักษณะของนักเรียน, ด้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน และด้านการเรียนการสอน ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research were to identify variables effected on science and to develop a structural relationship model of science interest. The 20 variables were classified into 3 groups: student characteristic variables, instructural variables, and home background variables. The 514 this study. The research tools were Science Interest Scale and the questionnaire. Data were collected and analyzed using LISREL program for confirmatory factor analysis and path analysis. The results were as follows: 1. Variables effected on science interest at the .05 significantly level were (1.1) Student characteristics variables: science ability, persue to science news, and self-concept. (1.2) Instructural variables: classroom environment, science media and instruments, and participation level in science curriculum activity. (1.3) Home background variables: home support. 2. The developed model was consistent with empirical data and accounted for 50 percent of variance in science interest. Model validation of the best fitted model provided the X2 test goodness of fit of 0.95, p = 0.62 df = 2, and the GFI = 1.00 3. The factors effecting science interest were student characteristics variable group, home background variable group, and instructural variable group respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70925
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Satidaporn_ut_front_p.pdf991.16 kBAdobe PDFView/Open
Satidaporn_ut_ch1_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Satidaporn_ut_ch2_p.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Satidaporn_ut_ch3_p.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Satidaporn_ut_ch4_p.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Satidaporn_ut_ch5_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Satidaporn_ut_back_p.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.