Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71470
Title: ขบวนการสิ่งแวดล้อมในสังคมไทยระหว่าง พ.ศ. 2525-2535 : ศึกษาการเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการเขื่อนน้ำโจน เขื่อนแก่งกรุง และเขื่อนปากมูล
Other Titles: Environmental movement in Thai society 1982-1992 : study on movements against Nam Chon, Kaeng Krung and Pak Mun dam
Authors: โดม ไกรปกรณ์
Advisors: สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม -- ไทย
เขื่อน -- แง่สิ่งแวดล้อม
เขื่อนน้ำโจน
เขื่อนแก่งกรุง
เขื่อนปากมูล
Green movement -- Thailand
Dams -- Environmental aspects
Nam Chon Dam
Kaeng Krung Dam
Pak Mun Dam
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ที่จะทำความเข้าใจและอธิบายกระบวนความเปลี่ยนแปลงของการก่อตัวและการเคลื่อนไหวของขบวนการสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย รวมทั้งการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวของขบวนการสิ่งแวดล้อมในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2525-2535 โดยศึกษาจากกรณีการคัดค้านเขื่อนน้ำโจน เขื่อนแก่งกรุง และเขื่อนปากมูล ผลของการศึกษาที่พบว่าเป็นพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ร่วมกันของกรณีศึกษา คือ การเคลื่อนไหวคัดค้านเขื่อนน้ำโจน เขื่อนแก่งกรุง และเขื่อนปากมูล เป็นประวัติศาสตร์ของขบวนการทางสังคมที่มุ่งปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการจัดการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการทรัพยากรแบบรวมศูนย์โดยรัฐไปสู่การจัดการทรัพยากรในลักษณะที่เอื้อต่อประชาชนหรือให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร โดยทำกิจกรรมทางการเมืองวัฒนธรรม ด้านรูปแบบของขบวนการสิ่งแวดล้อมในช่วง พ.ศ. 2525-2535 นั้นพบว่าเป็นขบวนการที่มีลักษณะเฉพาะ คือ รูปแบบของ "ขบวนการทางสังคมแบบใหม่" ภายใต้บริบททางประวัติศาสตร์ ได้แก่ การก่อตัวและแพร่หลายของแนวคิดสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน การวิพากษณ์การพัฒนา ฯลฯ
Other Abstract: This thesis aims to understand and explain process of change of the emergence and activities of the environmental movement in Thai society based on case studies of the movements against Nam Chon, Kaeng Krung and Pak Mun dams during 1982-1992, including their effect on power relations concerning the management of natural resources and the environment between the state and the people. All the case studies selected for this study shared some common characteristics. It is the history of the social movements which focused largely on cultural politic aiming to change power relations concerning nature and environment management, which had hitherto centralized by the state, to a relationship or structure which accepted people rights and participation. The case studies show that the environmental movement during 1982-1992 was a "New Social Movement" which emerged under historical contexts involving the emergence and spread of concepts such as human rights, communal rights, critiques of development theory, etc..
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71470
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.240
ISBN: 9741428944
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.240
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dome_kr_front_p.pdf919.62 kBAdobe PDFView/Open
Dome_kr_ch1_p.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Dome_kr_ch2_p.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open
Dome_kr_ch3_p.pdf6.31 MBAdobe PDFView/Open
Dome_kr_ch4_p.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open
Dome_kr_ch5_p.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open
Dome_kr_ch6_p.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Dome_kr_ch7_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Dome_kr_back_p.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.