CUIR header image
Home

นโยบายการพัฒนาคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย

CUIR Collection Development Policy

Contents Language: ENGLISH | THAI

Chulalongkorn University Intellectual Repository: CUIR is a digital repository that collects, preserves, and disseminates knowledge that is result from research, learning, and teaching of faculties, researchers, and students of Chulalongkorn University. In addition, to use as scholarly communication between researchers with common interest.

1. Scope of Information Resources

Information resources in CUIR must be:

- Academic works that licenses or ownerships belong to Chulalongkorn University, Chulalongkorn University faculties, researchers, staff, and students.

- Creators or owners of works grant the licenses to CUIR to archive and disseminate works in digital format.

2. Type of Information Resources

2.1 The following information resources can be deposited and archived in CUIR:

  - Theses

  - Independent studies

  - Senior projects

  - Journal articles

  - Research reports

  - Books and textbooks

  - Learning materials

  - Proceeding

  - Lectures

  - Best practice manuals

  - Images and multimedia

  - Other proper academic works

2.2 The following information resources are not deposited and archived in CUIR:

  - Articles in journals or books that publish with publishers and licenses belong to the publishers.

  - Classified or sensitive information or works (Except if creators or owners grant a permission to CUIR to archive and disseminate the works.)

  - News, agendas, memorandums, official letters or documents, events calendars, and editorials.

  - Papers or works which students submit to courses instructors to fulfill requirements to finish the courses.

  - Theses and dissertations from universities other than Chulalongkorn University.

3. Creators or owners of works who have right to send their works to CUIR for deposit and dissemination:

3.1 Chulalongkorn University faculties, researchers, and staff

3.2 Chulalongkorn University graduate students

  Possible works to deposit and disseminate: Theses and dissertations / independent studies from iThesis system.

3.3 Chulalongkorn University undergraduate students

  Possible works to deposit and disseminate: Senior projects or other type of works which students submit to their faculties to fulfill the requirement of earning bachelor’s degree.

4. Selection criteria

Office of Academic Resources acquires information resources to archive and disseminate in CUIR from various sources. For instance, from faculties, schools, research institutions, and other internal organizations of Chulalongkorn University. Other than that, faculties, researchers, and staff of Chulalongkorn University also give their selected works to Office of Academic Resources for archive and dissemination in CUIR. This can be said that to acquire those types of information resources, Office of Academic Resources does not need to allocate budget for this purpose.

Criteria for including or excluding information resources to archive and disseminate in CUIR are as follows:

4.1 Theses and dissertations / Independent studies

  - For theses and dissertations / independent studies from academic year 2013 that transferred from iThesis system to CUIR via API: Office of Academic Resources does not accept physical copies or files directly from students. Only theses and dissertations that are submitted through iThesis system are allowed to archive and disseminate in CUIR.

  - From academic year 2014, Office of Academic Resources does not accept physical copies of theses and dissertations for dissemination in CUIR. Moreover, Office of Academic Resources also campaigns for increasing usage of digital theses and dissertations by library users.

  - For theses and dissertations / independent studies older than academic year 2013: Office of Academic Resources has digitized physical copies then archives and disseminates the digital version in CUIR.

  - For theses and dissertations / independent studies that authors do not allow their works to be disseminated:

    - Graduate School will not transfer those digital files of theses and dissertations / independent studies to Office of Academic Resources until they have passed the period.

    - In case that theses and dissertations / independent studies had been disseminated in CUIR and then authors needed to withdraw their works from CUIR: At first, Office of Academic Resources temporarily withdraws the works from CUIR for 3 months and will permanently withdraws after authors have submitted letters for withdrawal theses and dissertations / independent studies to Graduate School.

  - For theses and dissertations / independent studies that are not in iThesis system: Office of Academic Resources contacts faculties, research institutes, or internal organizations in Chulalongkorn University to acquires original copies or files of academic works and deposits in CUIR. Office of Academic Resources does not directly accept files from students.

4.2 Other type of academic works

  - The works that can be archived and disseminated in CUIR should be the works that created by Chulalongkorn University faculties, researchers, and staff or at least one of the creators are full time staff of Chulalongkorn University.

  - The contents do not have issues about violations of ethics, for instance, academic integrity, ethics in human research, professional ethics, and so on.

  - The contents do not violate Constitution, bring about a change in the Laws of the Country or the Government by the use of force or violence, raise unrest and disaffection amongst the people in a manner likely to cause disturbance in the country

  - The contents do not violate human rights and complied with Thailand's Personal Data Protection Act BE 2562.

  - The contents do not violate intellectual property right laws.

  - The works of practitioner level staff should have evidence that the deans of faculties or directors of organizations have approved the works and allow Office of Academic Resources to disseminate the works.

  - In case that Office of Academic Resources founds works that do not complied with the policy mentioned earlier, withdrawal process will be applied to the works immediately.

  - Creators or authors of works must grant license for deposit, archive, and dissemination to CUIR by fill up “Permission to Publish the Works on Website Form” and attach the form with the works.

5. Ingestion, files management, and creation of information resources description

5.1 Information resources must be ingested only by authorized staff.

5.2 For theses and dissertations, files and basic metadata are transferred directly to CUIR via API.

5.3 In case that faculty libraries need to ingest works to CUIR, Office of Academic Resources will provide session training for faculty libraries staff about how to ingest files to CUIR and about policy that related and applied to works in CUIR.

5.4 The CUIR staff may digitize physical copies if needed and manage digital files as procedures indicated in “CUIR Digital File Management and Submission Manual (WI-LIM-05)

5.5 Preferred file formats

  Information resources that are deposited and archived in CUIR must meet requirement of preferred file formats as shown at Preferred file formats to ensure that all files are in up-to-date formats and can be reused or be transferred to other formats with less problems.

6. Preservations guarantee period

Information resources in CUIR are well preserved as details indicated in Preservation Plan. Each type of information resources has different degree of urgency to be preserved. All information resources archived in CUIR are guaranteed at least 10 years for accessibility of files.

7. Right of authors

Creators or authors of works that grant their licenses to Office of Academic Resources to archive and disseminate their works in CUIR must also grant permissions for processing files for preservation purposes on condition that those processes must not alter or effect original contents of works. In addition, creators or authors should allow CUIR to copy some part of contents from works and uses to promote the works or for public relation purposes.

8. Access

Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR) provides services as an open access repository since 2015. All contents in CUIR such as bibliographic record, abstract and full text are accessible with no authorization required. CUIR also provides manuals for using and searching information resources on website.

9. License

Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR) using Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) License which only allows others to download and share contents with credit and cannot edit contents in any way or use for commercial purposes. (For more information, please refer to https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)

10. Evaluation and Withdrawal

Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR) has no withdrawal policy for information resources accept if those materials do not meet criteria as indicated in item no. 4 “Selection criteria” in this document.

CUIR uses Google Analytics statistics to evaluate usage of the repository together with feedbacks and suggestions from users.

11. Privacy Policy

11.1 CUIR does not collect or share any personal data or usage history on our website.

11.2 CUIR uses international standard to create bibliographic record. CUIR will not add any creators’ personal data such as national identification number, mobile numbers, emails, or addresses into our metadata.

11.3 CUIR commits to protect the privacy of users, creators, or owners under the Personal Data Protection Act B.E. 2562 (“PDPA”).

12. Budget

One of strategy plan of Chulalongkorn University B.E. 2564-2567 is Impactful Research & Innovation. This strategy goal is to connect Chulalongkorn University knowledge and innovations with society and push the knowledge and innovation to be used in real life. Office of Academic Resources obtains the strategy from Chulalongkorn University and set its strategy to support the university’s strategy. The strategy of Office of Academic Resources are as follows.

Strategy: Internal Strengthening

This strategy indicates that Office of Academic Resources supports learning, teaching, and research activities of Chulalongkorn University and increases dissemination of university knowledge. CUIR acts as an institutional repository to archive and disseminate university knowledge to support this strategy.

There are 3 funding sources that fund CUIR annually since 2006.

1. Fund from government (Annual government statement of expenditure): This fund is allocated for CUIR full time staff salary.

2. Fund from university income: This fund is allocated for general operation of CUIR, such as data, hardware, and software maintenance.

3. Fund from Office of Academic Resources income: This fund is allocated for public relation activities of CUIR and to support training and development of CUIR staff.

13. Business Continuity Plan

Office of Academic Resources has issued Business Continuity Plan - BCP (SD-RCM-05) which is the measures for the office to handle with or operates in crisis / emergency situations. The plan can be divided into 5 aspects as follows: Effect of crisis / emergency situations on 1) Buildings and workplaces 2) Essential materials 3) Information technology and essential data 4) Personnel 5) Third party or vendors. CUIR is covered with this plan as a part of Office of Academic Resources.

In case that Office of Academic Resources is restructured, CUIR or other divisions that take charge with archive and dissemination knowledge of university will still maintain the services and hold all previous digital collections as an institutional repository that supports main mission of Chulalongkorn University: “… Through the pursuit, development, dissemination and application of knowledge, Chulalongkorn University works to educate students with professional know-how and research skills …”

14. Risk management

Library Information Management Division, Office of Academic Resources conducts risk assessment of CUIR annually. If high-level risks are identified, director of the division follows instructions to cope with high-level risks in Manual for Risk and Change Management (PM-RCM-01 - a document in quality management system ISO 9001:2015)

คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (Chulalongkorn University Intellectual Repository – CUIR) จัดเก็บและให้บริการสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นภูมิปัญญาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่งานดังกล่าวให้แก่ชุมชนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ให้เป็นที่ประจักษ์รวมทั้งเป็นการสงวนรักษาผลงานเหล่านั้นให้คงไว้ในระยะยาว (Archiving) อีกทั้งใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างนักวิจัยภายนอกและภายในประเทศ ในประเด็นหรือหัวข้อที่มีความสนใจร่วมกัน

1. ขอบเขตทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บ

ทรัพยากรสารสนเทศที่นำมาจัดเก็บและให้บริการในคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (CUIR) เป็นผลงานทางวิชาการ หรือผลงานการวิจัยที่เป็นลิขสิทธิ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณาจารย์ นักวิจัย นิสิต และประชาคมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะต้องเป็นผลงานฉบับสมบูรณ์ ผู้สร้างสรรค์ผลงานหรือเจ้าของผลงาน ต้องให้สิทธิ์สำนักงานวิทยทรัพยากรในการเผยแพร่ผลงานผ่านคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย (CUIR) ในรูปแบบ Open Access

2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ

2.1 ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บและให้บริการในคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย ได้แก่

  - วิทยานิพนธ์ (Thesis)

  - สารนิพนธ์ (Independent Study)

  - โครงงานทางวิชาการ (Senior Project)

  - บทความวารสารวิชาการ (Journal Article)

  - รายงานการวิจัย (Research report)

  - หนังสือ และตำราวิชาการ (Book and textbook)

  - ชุดการเรียนการสอน (Learning material)

  - รายงานการประชุม/สัมมนา (Proceeding)

  - การบรรยาย (Lecture)

  - คู่มือแนวปฏิบัติที่ดี (Best practice manual)

  - รูปภาพและสื่อมัลติมีเดีย (Image and multimedia)

  - อื่นๆ อาทิ หนังสือรวมเรื่องของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

2.2 ทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ได้จัดเก็บและให้บริการในคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย ได้แก่

  - บทความวารสารหรือหนังสือที่ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ และสำนักพิมพ์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

  - สารสนเทศหรือผลงานที่เป็นความลับ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลงาน

  - คำสั่ง ประกาศต่างๆ กำหนดการ หมายกำหนดการ ปฏิทินกิจกรรม บทบรรณาธิการ ข่าว รายงานสถานการณ์ต่าง ๆ

  - ผลงานของนิสิต ที่จัดทำเพื่อใช้ในการเรียนการสอนประจำรายวิชา เช่น ปัญหาพิเศษ และรายงานการค้นคว้าในรายวิชา เป็นต้น

  - วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยอื่นที่บุคลากรสำเร็จการศึกษา

3. ผู้สร้างสรรค์ผลงาน หรือเจ้าของผลงานที่มีสิทธิ์ในการนำผลงานเผยแพร่

3.1 อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรจุฬาฯ

3.2 นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา

  ผลงานที่นำเข้า คือ วิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ โดยสำนักงานฯ นำเข้าผ่านระบบ iThesis

3.3 นิสิตระดับปริญญาตรี

  ผลงานที่นำเข้าคือ โครงงานทางวิชาการ โดยสำนักงานฯ ประสานงานกับคณะในการนำผลงานเข้า

4. การพิจารณานำทรัพยากรสารสนเทศเข้าคลังปัญญาจุฬาฯ

สำนักงานวิทยทรัพยากรติดต่อประสานงานหน่วยงานต่างๆ ภายในจุฬาฯ เพื่อนำทรัพยากรสารสนเทศเข้าคลังปัญญาจุฬาฯ รวมทั้งที่ได้รับมอบจากอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเพื่อการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศดังกล่าว

โดยแบ่งประเภทของการได้มาของทรัพยากรสารสนเทศ ดังนี้

4.1 วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์

  - วิทยานิพนธ์ตั้งแต่ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2556 นำเข้ามาที่คลังปัญญาจุฬาฯ ผ่านระบบ iThesis พัฒนาโดยบัณฑิตวิทยาลัย สำนักงานฯ ไม่รับตัวเล่มและไฟล์วิทยานิพนธ์จากนิสิตเพื่อนำเข้าคลังปัญญาฯ

  - สำนักงานฯ มีนโยบายไม่รับตัวเล่มวิทยานิพนธ์จากบัณฑิตวิทยาลัยมาให้บริการตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 โดยประชาสัมพันธ์ และรณรงค์ให้ผู้รับบริการเข้าใช้วิทยานิพนธ์ในคลังปัญญาจุฬาฯ แทนตัวเล่ม

  - วิทยานิพนธ์ตั้งแต่ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2556 ลงไป สำนักงานฯ นำตัวเล่มมาแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัลและให้บริการที่คลังปัญญาจุฬาฯ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อลดการให้บริการตัวเล่ม

  - หากวิทยานิพนธ์ที่มีสถานะ “ปกปิด” และมีเงื่อนไขในการให้บริการเผยแพร่ มีหลักการปฏิบัติ ดังนี้

    • บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่ส่งไฟล์วิทยานิพนธ์ชื่อนั้นมาให้สำนักงานฯ จนกว่าจะครบกำหนดการปกปิด

    • กรณีที่บัณฑิตวิทยาลัยส่งไฟล์วิทยานิพนธ์และทางสำนักงานฯ ได้ดำเนินการเผยแพร่แล้ว เจ้าของผลงานมีเหตุผลความจำเป็นที่จะไม่เผยแพร่วิทยานิพนธ์แล้ว เบื้องต้นทางสำนักงานฯ จะนำข้อมูลออกจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติและคลังปัญญาจุฬาฯ เป็นระยะเวลา 3 เดือน เจ้าของผลงานจะต้องติดต่อแจ้งบัณฑิตวิทยาลัย และนำผลการพิจารณาจากบัณฑิตวิทยาลัยแจ้งสำนักงานฯ เพื่อดำเนินการตามผลการพิจารณา หากพ้นระยะเวลา 3 เดือน เจ้าของผลงานไม่ได้ติดต่อมาสำนักงานฯ จะนำผลงานขึ้นเผยแพร่ตามปกติ

  - กรณีวิทยานิพนธ์ที่ไม่ได้อยู่ในระบบ iThesis สำนักงานฯ จะประสานงานกับคณะ / วิทยาลัย เพื่อรับข้อมูลในรูปแบบไฟล์ตามที่ CUIR กำหนด และนำเข้าคลังปัญญาจุฬาฯ ทั้งนี้สำนักงานฯ จะไม่รับไฟล์จากนิสิตโดยตรง

4.2 ผลงานอื่น ๆ

  - ผลงานที่เผยแพร่ในคลังปัญญาจุฬาฯ จะต้องเป็นผลงานที่สร้างสรรค์โดยประชาคมจุฬาฯ โดยอย่างน้อยต้องมีบุคคลหนึ่งคนในผลงานนั้น ปฏิบัติงานในหน่วยงาน คณะ สถาบันต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  - เนื้อหาของผลงานจะต้องไม่ละเมิดหลักจริยธรรมต่างๆ เช่น จริยธรรมทางวิชาการจริยธรรมในมนุษย์ และจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นต้น

  - เนื้อหาของผลงานต้องไม่มีลักษณะที่เป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม โจมตี หรือ ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือกระทบต่อความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของ ประเทศชาติ และหน่วยงานต่างๆ

  - เนื้อหาของผลงานต้องคำนึงถึงและเคารพหลักการของสิทธิมนุษยชน และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

  - เนื้อหาของผลงานต้องไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

  - ผลงานของบุคลากรสายปฏิบัติการ จะต้องมีหลักฐานการรับรองผลงานโดยคณบดี หรือ ผู้อำนวยการ

  - หากพบผลงานที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น สำนักงานฯ จะนำผลงานออกจากคลังปัญญาจุฬาฯ และฐานข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  - เจ้าของผลงานต้องการแพร่ผลงานวิชาการผ่านคลังปัญญาจุฬา ฯ จะต้องยินยอมและอนุญาต โดยกรอกข้อมูล “แบบฟอร์มการอนุญาตเผยแพร่ผลงานวิชาการ” หรือผ่านทางอีเมล [email protected] โดยมีข้อความระบุการอนุญาต เผยแพร่ผลงานวิชาการ

5. การนำข้อมูลเข้า การจัดการไฟล์ และการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ

5.1 เจ้าหน้าที่สำนักงานวิทยทรัพยากร เป็นผู้นำเข้าข้อมูลให้

5.2 กรณีวิทยานิพนธ์ นำเข้าสู่คลังปัญญาจุฬาฯ ผ่านระบบ iThesis

5.3 ผลงานของคณะ/สถาบันที่มีความร่วมมือ ทางเจ้าหน้าที่ห้องสมุดคณะ/สถาบัน เป็นผู้นำผลงานเข้าคลังปัญญาจุฬาฯให้ ทั้งนี้สำนักงานวิทยทรัพยากร จะอบรมวิธีการนำข้อมูลเข้าคลังฯ พร้อมแจ้งนโยบาย รายละเอียดและกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงคลังปัญญาจุฬาฯ

5.4 ผู้รับผิดชอบในการนำข้อมูลเข้าคลังปัญญาจุฬาฯ จะทำการจัดการไฟล์และหรือแปลงไฟล์ผลงานให้เป็นดิจิทัล โดยปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนงาน “คู่มือการจัดการไฟล์ดิจิทัลและการนำข้อมูลเข้าสู่คลังปัญญาจุฬาฯ (CUIR)” (WI-LIM-05) พร้อมลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ โดยใช้ Dublin Core Metadata เป็นมาตรฐานการลงรายการทางบรรณานุกรม

5.5 มาตรฐานรูปแบบไฟล์ในการจัดเก็บและให้บริการในคลังปัญญาจุฬาฯ

  ไฟล์ดิจิทัลต่างๆ ที่จัดเก็บอยู่ในคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทยต้องมีรูปแบบที่เหมาะสมต่อการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ การให้บริการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการ อีกทั้งสามารถนำเอาไฟล์ดิจิทัลต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน และช่วยลดปัญหาไฟล์ดิจิทัลล้าสมัย ทางคลังปัญญาจุฬาฯ จึงได้กำหนดรูปแบบมาตรฐานตามชนิดไฟล์ที่จะนำมาจัดเก็บและให้บริการในคลังปัญญาจุฬาฯ ดังรายละเอียดใน มาตรฐานรูปแบบไฟล์ในการจัดเก็บและให้บริการในคลังปัญญาจุฬาฯ

6. ระยะเวลาในการการเก็บรักษาไฟล์

ทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลที่ให้บริการในคลังปัญญาจุฬาฯ จะดำเนินการสงวนรักษาและจัดเก็บในคลังปัญญาจุฬาฯ ตาม แผนการสงวนรักษา (Preservation Plan) ซึ่งแต่ละประเภทมีความสำคัญที่จำเป็นต้องดำเนินการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วนไม่เท่ากัน แต่ทุกประเภทต้องได้รับการการสงวนรักษาเพื่อให้ใช้งานได้อย่างน้อย 10 ปี

7. สิทธิ์ของเจ้าของผลงาน

เจ้าของผลงานมอบผลงานให้แก่สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเผยแพร่บน CUIR เจ้าของผลงานต้องอนุญาตให้คลังปัญญาจุฬาฯ สามารถทำการแปลงรูปแบบเป็นไฟล์ดิจิทัลตามมาตรฐานของคลังปัญญาจุฬาฯ สามารถทำสำเนาไฟล์ดิจิทัลเพื่อประโยชน์ด้านการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ ความเหมาะสมต่อการใช้งาน และการเผยแพร่ โดยไม่ส่งผลให้เนื้อหาในผลงานมีการเปลี่ยนแปลงหรือบิดเบือนไปจากเดิม และอนุญาตให้คัดลอกเนื้อหาบางส่วนเพื่อใช้ในการการประชาสัมพันธ์ให้กับผลงานได้

8. การเข้าถึงคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 สำนักงานวิทยทรัพยากร เปิดให้ประชาคมจุฬาฯ และบุคคลทั่วไป เข้าถึงคลังปัญญาจุฬาฯ ได้แบบเสรี (Open Access) สามารถสืบค้น เข้าถึงได้ทั้งข้อมูลทางบรรณานุกรม บทคัดย่อ เอกสารฉบับเต็ม สามารถบันทึกผลการสืบค้น พิมพ์เอกสารฉบับเต็มได้ และได้จัดเตรียมคู่มือการใช้งาน วิธีการสืบค้นให้ผู้ใช้บริการดาวน์โหลดบนเว็บไซต์ของคลังปัญญาจุฬาฯ ด้วย

9. สิทธิ์การใช้งานคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย

คลังปัญญาจุฬาฯ ประกาศสิทธิ์การใช้งานไฟล์ดิจิทัลในคลังปัญญาจุฬาฯ ด้วยสัญญาอนุญาตการใช้งานแบบเปิด Creative Common Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) คือ เผยแพร่ได้ โดยต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง โดยได้นำรูปของสัญญาอนุญาตดังกล่าวมาติดไว้ที่หน้าเว็บไซต์คลังปัญญาจุฬาฯ แล้ว ผู้ใช้บริการสามารถคลิกที่รูปเพื่อลิงค์ไปยังหน้าเว็บไซต์ของ Creative Commons เพื่ออ่านรายละเอียดการอนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือสามารถดูได้ที่ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/)

10. การประเมินคุณค่า และการคัดทรัพยากรสารสนเทศออกจากการให้บริการ

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการในคลังปัญญาจุฬาฯ ที่มีเนื้อหาตามนโยบายข้างต้น สำนักงาน วิทยทรัพยากร ยังไม่มีนโยบายในการคัดออกจากการให้บริการ แต่ทั้งนี้ทางสำนักงานฯ จะพิจารณาเพิ่มเนื้อที่ (Storage) ในการจัดเก็บคลังปัญญาจุฬาฯ มากขึ้น แต่หากมีเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้บริการเนื้อหานั้นได้ และต้องหยุดให้บริการเนื้อหา จะดำเนินการตามนโยบายข้อ 4. การพิจารณานำทรัพยากรสารสนเทศเข้าคลังปัญญาจุฬาฯ

สำนักงานวิทยทรัพยากรมีการประเมินผลการใช้คลังปัญญาจุฬาฯ โดยรวบรวมข้อมูลสถิติจาก Google Analytics รวมทั้งรวบรวมข้อเสนอแนะผ่านช่องทางต่างๆ เช่น แบบสำรวจความพึงพอใจของสำนักงานฯ แบบฟอร์ม Feedback ของคลังปัญญาจุฬาฯ และอีเมลของคลังปัญญาจุฬาฯ

11. นโยบายความเป็นส่วนตัว

11.1 การเข้าใช้งานของผู้รับบริการจะไม่มีการเก็บข้อมูลประวัติการใช้งาน รวมทั้งไม่ต้องมีการแสดงตัวตนก่อนเข้าใช้งานคลังปัญญาจุฬาฯ และการนำ Google Analytics มาใช้ในการเก็บข้อมูลการใช้งาน CUIR ก็ไม่สามารถระบุตัวบุคคลในการเข้าใช้งานได้เช่นเดียวกัน

11.2 กรณีผู้สร้างสรรค์ผลงาน หรือเจ้าของผลงาน สำนักงานฯ จะลงรายการทรัพยากรสารสนเทศตาม หลักเกณฑ์การลงรายการบรรณานุกรมที่เป็นมาตรฐานสากลและเป็นไปตามหลักวิชาชีพ โดยจะไม่มีการเพิ่มเติมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ส่วนตัว อีเมลส่วนตัว และที่อยู่ ลงในเมทาเดทาของคลังปัญญาจุฬาฯ

11.3 สำนักงานฯ จะปฏิบัติข้อมูลส่วนบุคคลอย่างมั่นคงปลอดภัย ปกปิดเป็นความลับ และปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้เข้าใช้งาน และผู้สร้างสรรค์ผลงาน หรือเจ้าของผลงาน ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

12. งบประมาณ

จากแผนยุทธศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2564 – 2567 ยุทธศาสตร์ด้าน Impactful Research & Innovation โดยมีกลยุทธ์เชื่อมต่อองค์ความรู้และเทคโนโลยีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสู่สาธารณะ พร้อมนำไปใช้งานจริง สำนักงานฯ ได้สนองต่อแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความเข้มแข็งภายใน (Internal strengthening)

กลยุทธ์ มีการสนับสนุนการเรียนการสอน และการเพิ่มการเผยแพร่ผลงานของประชาคมจุฬาฯ โดยมีคลังปัญญาจุฬาฯ เป็นหนึ่งภารกิจที่ขับเคลื่อนให้สำนักงานฯ ดำเนินงานได้สำเร็จบรรลุตามยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้

อีกทั้งการบริหารจัดการคลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทย ดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ปัจจุบันดำเนินการเป็นงานประจำ รับผิดชอบโดยฝ่ายจัดการข้อมูลสารสนเทศ และฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด สำนักงานฯ จึงให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณ และการบำรุงดูแลรักษาคลังปัญญาจุฬาฯ ให้มีความเสถียร มั่นคง และยั่งยืน โดยจัดสรรงบประมาณจาก 3 แหล่งประมาณ (ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภายนอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ดังนี้

1. งบประมาณแผ่นดิน สำหรับเงินเดือนสำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานประจำงานคลังปัญญาจุฬาฯ

2. งบประมาณเงินรายได้ในส่วนมหาวิทยาลัย สำหรับการบริหารจัดการงานประจำ เช่น การแสกนเอกสาร การบำรุงรักษา Hardware และ Software

3. งบประมาณเงินรายได้ในส่วนสำนักงานวิทยทรัพยากร สำหรับการประชาสัมพันธ์คลังปัญญาจุฬาฯ รวมทั้งการเข้ารับการอบรม สัมมนา และการพัฒนาบุคลากร

13. การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน

สำนักงานวิทยทรัพยากร ได้จัดทำ แผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องสำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤติ (Business Continuity Plan : BCP) เพื่อให้สำนักงานฯ สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ไฟฟ้าดับ อัคคีภัย โรคติดต่อ การชุมนุม ประท้วง เหตุการณ์อื่น ๆ ที่ทำให้สำนักงานฯ ต้องหยุดดำเนินงานชั่วคราว ทั้งนี้แผนฯ ได้วิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ ด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ผลกระทบด้านอาคาร สถานที่ปฏิบัติงาน 2) ผลกระทบด้านวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ/การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ 3) ผลกระทบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ 4) ผลกระทบด้านบุคลากร 5) ผลกระทบบริษัท ห้างร้าน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากผลกระทบด้านต่าง ๆ ได้มีกลยุทธ์เตรียมความพร้อม ทันทีที่เกิดสภาวะวิกฤติ สำนักงานฯ จัดให้มีความพร้อมต่อการปฏิบัติงาน และแผนฯ ได้ครอบคลุมการดำเนินงานของคลังปัญญาจุฬาฯ หากเกิดภัยพิบัติหรือเหตุทำให้คลังปัญญาจุฬาฯ หยุดให้บริการชั่วคราว สำนักงานฯ จะต้องปฏิบัติตามแผน BCP (SD-RCM-05 แผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องฯ เอกสารตามมาตรฐานระบบ ISO9001 : 2015)

หากสำนักงานฯ มีการปรับโครงสร้างการดำเนินงาน การจัดเก็บและการให้บริการ คลังปัญญาจุฬาฯ จะยังคงมีให้บริการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคลังปัญญาจุฬาฯ มีพันธกิจในการจัดเก็บผลงานของประชาคมจุฬาฯ รวมถึงวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา สำนักงานวิทยทรัพยากร จะเป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อการดำเนินงานคลังปัญญาจุฬาฯ ให้มีความยั่งยืนในการจัดเก็บ บริการคลังความรู้ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงภูมิปัญญาของประชาคมจุฬาฯตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยได้อย่างต่อเนื่อง

14. ความเสี่ยงในการดำเนินการคลังปัญญาจุฬาฯ

ฝ่ายจัดการข้อมูลสารสนเทศ จะวิเคราะห์ความเสี่ยงการดำเนินงานของคลังปัญญาจุฬาฯ เป็นประจำทุกปี หากพบว่าด้านใดมีความเสี่ยงสูงที่ต้องดำเนินการจัดการลดความเสี่ยง ให้ปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงานการบริหารความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง (PM-RCM-01 ของมาตรฐานระบบ ISO9001 : 2015)