Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65605
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณและความมีประสิทธิผลของงบประมาณ
Other Titles: Relationship between budgetary participation and budgeting effectiveness
Authors: พงษ์ศักดิ์ สัมพันธ์สิริเจริญ
Advisors: ประจิต หาวัตร
The purpose of this thesis is to study the relationship between budgetary participation and budgeting effectiveness. Budgetary slack and managerial performance are used as surrogate measure of budgeting effectiveness. One thousand and one hundred and sixty four questionnaires were mailed to sales managers and production managers in 582 manufacturing companies listed in the 1000 largest companies in Thailand directory. Two hundred and forty four usable completed questionnaires were received. Attitude of middle management toward budgeting is also surveyed. The analysis revealed that there is a relationship between budgetary participation and budgetary slack at the significant level of .05 with the variance explained of 4.7 %. Similarly, there is a relationship between budgetary participation and managerial performance at the significant level of .05 with the variance explained of 24.5 %. The survey of middle management attitude indicated positive attitude towards budgeting. The majority of the respondents consider budgeting is a very important tool for management and other areas. In addition, the respondents also agreed with the use of variance between budgeted and actual performance as a basis for the consideration to extend rewards to employees. According to the majority of the respondents, internal politic has very minimal impact on the budgeting process of their company.
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การบัญชี
งบประมาณ
Accounting
Budget
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณ (Budgetary Participation) กับความมีประสิทธิผลของงบประมาณ (Budgeting Effectiveness) รวมถึงทัศนคติของผู้บริหารระดับกลางที่มีต่อการงบประมาณของบริษัท โดยในงานวิจัยนี้ใช้ส่วนเผื่อผลการดำเนินงานในงบประมาณ (Budgetary Slack) และผลงานทางการบริหาร (Managerial Performance) เป็นตัวแปรที่แสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิผลของงบประมาณ ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังผู้จัดการฝ่ายขายและผู้จัดการฝ่ายผลิตที่ทำงานอยู่ในบริษัทผู้ผลิตสินค้าที่มีรายชื่อติดอันดับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 1000 อันดับแรกของประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 582 บริษัท และเป็นจำนวนแบบสอบถาม 1,164 ชุด และจากแบบสอบถามที่ส่งไปยังกลุ่มตัวอย่างโดยทางจดหมายพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้ได้จริงกลับคืนมา จำนวน 244 คน ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณมีความสัมพันธ์กับส่วนเผื่อผลการดำเนินงานในงบประมาณในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนที่เกิดขึ้นได้ 4.7% และการมีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณมีความสัมพันธ์กับผลงานทางการบริหารในทิศทางเดียวกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนที่เกิดขึ้นได้ 24.5% ส่วนผลการวิจัยเกี่ยวกับทัศนคติของผู้บริหารระดับกลางที่มีต่อการงบประมาณพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า งบประมาณเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานในปัจจุบันอยู่ในระดับสูง และงบประมาณมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ในระดับสูง โดยงบประมาณที่บริษัทในปัจจุบันใช้อยู่ประสบกับปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ในระดับปานกลาง นอกจากนั้นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยการนำส่วนต่างประหว่างผลการดำเนินงานจริงกับผลการดำเนินงานตามที่กำหนดในงบประมาณ (Variance) มาใช้เป็นเกณฑ์ส่วนหนึ่งในการพิจารณาให้รางวัลหรือลงโทษพนักงาน ส่วนในเรื่องของการเมืองภายในองค์กร ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คิดว่า การเมืองภายในองค์กรมีอิทธิพลต่อการพิจารณาอนุมัติงบประมาณในระดับต่ำโดยบริษัทที่ผู้ตอบแบบสอบถามทำงานอยู่มีการเมืองภายในองค์กรเข้ามามีผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณน้อยมากหรือไม่มีเลย
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65605
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1266
ISBN: 9741734344
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.1266
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongsak_sum_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ844.82 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_sum_ch1_p.pdfบทที่ 1787.5 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_sum_ch2_p.pdfบทที่ 21.66 MBAdobe PDFView/Open
Pongsak_sum_ch3_p.pdfบทที่ 3949.43 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_sum_ch4_p.pdfบทที่ 41.55 MBAdobe PDFView/Open
Pongsak_sum_ch5_p.pdfบทที่ 5857.03 kBAdobe PDFView/Open
Pongsak_sum_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.