Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77914
Title: | ผลของฟิล์มพอลิพรอพิลีนดัดแปลงต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของข้าวโพดฝักอ่อน Zea mays L. พันธุ์ SG20 และ PA271 |
Other Titles: | Effects of modified polypropylene film on postharvest quality of baby corn Zea mays L. cv. SG20 and PA271 |
Authors: | ปริยกร เพ็ชรรัตน์ |
Advisors: | กนกวรรณ เสรีภาพ รัตนวรรณ มกรพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | ข้าวโพดฝักอ่อน โพลิโพรพิลีน Baby corn Polypropylene |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การทดลองเก็บรักษาข้าวโพดฝักอ่อน (Zea Mays L.) พันธุ์ PA271 และ SG20 ที่อุณหภูมิต่ำ (5 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 35 วัน ในบรรจุภัณฑ์ฟิล์มพอลิพรอพิลีน (PP) (ชุดควบคุม) (TI) และ บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพอลิพรอพิลีนดัดแปลง 2 ชนิด ได้แก่ PP + 1% clay (T2) และ PP + 1% clay + 5% Magnetite (T3) พบว่า บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพอลิพรอพิลีนดัดแปลงสามารถคงลักษณะภายนอกของข้าวโพดฝักอ่อน สีของฝัก และความแน่นเนื้อได้ดีกว่าบรรจุภัณฑ์พอลิพรอพิลีน (ชุดควบคุม) ในข้าวโพดอ่อนทั้ง 2 พันธุ์ ทั้งนี้ การใช้บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพอลิพรอพิลีนดัดแปลงทำให้แอกติวิตีของเอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดสของข้าว โพดฝักอ่อนมีค่าน้อยกว่าชุดการทดลองที่บรรจุในฟิล์มพอลิพรอพิลีนชุดควบคุมอย่างชัดเจนในวันที่ 28 หลังการเก็บรักษา จึงส่งผลต่อการชะลอการเกิดสีน้ำตาลของฝักข้าวโพดที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ฟิล์มพอลิพรอพิลีนดัดแปลง การวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลในข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์ PA271 พบว่า ไม่มีความแตกต่างของปริมาณสารประกอบฟีนอลในข้าวโพดอ่อนที่บรรจุภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิด แต่สำหรับพันธุ์ SG20 นั้นพบว่า บรรจุภัณฑ์พอลิพรอพิลีนดัดแปลงชนิด PP + 1% clay และ PP + 1% clay + 5% mag สามารถคงปริมาณสารประกอบฟีนอลได้ดีกว่าบรรจุภัณฑ์พอลิพรอพิลีน (ชุดควบคุม) อย่างชัดเจน ในส่วนของอัตราการ หายใจ พบว่า ข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์ PA271 ที่เก็บรักษาในบรรจุภัณฑ์พอลิพรอพิลีนดัดแปลงทั้ง 2 ชนิด มีอัตราการหายใจต่ำกว่าข้าวโพดฝักอ่อนในชุดการทดลองควบคุมตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา ในวันที่ 21 หลังการเก็บรักษาข้าวโพดพันธุ์ SG20 ในบรรจุภัณฑ์พอลิพรอพิลีน (ชุดควบคุม) มีอัตราการหายใจสูงสุดก่อนข้าวโพดของชุดการทดลองนี้จะหมดอายุการเก็บรักษาหลังจากการเก็บรักษา 21 วัน เนื่องจากเกิดการฉ่ำน้ำ และมีกลิ่นที่ไม่เป็นที่ยอมรับของตลาด การตรวจสอบปริมาณวิตามินซีในข้าวโพดฝักอ่อนทั้ง 2 พันธุ์ พบว่าในทุก ๆ ชุดการทดลองนั้นไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างชุดการทดลองตลาดระยะเวลาการเก็บรักษา ยกเว้นในพันธุ์ SG20 หลังการเก็บรักษา 35 วัน พบว่าข้าวโพดฝักอ่อนในบรรจุภัณฑ์ PP + 1% clay มีปริมาณวิตามินซีสูงกว่าข้าวโพดฝักอ่อนที่เก็บในบรรจุภัณฑ์ PP + 1% clay + 5% mag อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเส้นใยอาหาร ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญใน ทุกช่วงเวลาของการทดลองในข้าวโพดฝักอ่อนทั้ง 2 พันธุ์ นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์พอลิพรอพิลีนดัดแปลงทั้ง 2 ชนิด สามารถรักษาปริมาณน้ำตาลได้ดีกว่าบรรจุภัณฑ์พอลิพรอพิลีน (ชุดควบคุม) ในข้าวโพดทั้ง 2 พันธุ์ ดังนั้น ฟิล์มพอลิพรอพิลีนดัดแปลงทั้ง 2 ชนิด สามารถรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของข้าวโพดฝักอ่อน พันธุ์ PA271 ได้เป็นเวลา 28 วัน และพันธุ์ SG20 ได้เป็นเวลา 35 วัน ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียล โดย การรักษาลักษณะภายนอก ลดแอกติวิติของเอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส ลดอัตราการหายใจ คงปริมาณวิตามินซีและซะลอการสลายของน้ำตาลที่ละลายน้ำได้ |
Other Abstract: | Storage of baby corn (Zea mays L.) cv. PA271 and SG20 at low temperatue (5 degree Celcius ) for 35 days using polypropylene film (PP) control treatment) (T1) and modified polypropylene films: PP + 1% clay (T2) and PP + 1% clay + 5% magnetite (T3) was investigated. Modified polypropylene films could maintain overall appearance, color and firmness of both cutivars of baby com. Baby corn cv. PA271 stored in PP fil, had significantly higher polyphenol oxidase activity than other treatments on days 28 after storage which resulted in delaying of browning of baby corn ears. The analysis of total phenolic compound in baby corn cv. PA271 exhibited no difference in all treatments, however, for cv. SG20, modified PP + 1% clay and PP + 1% clay + 5% mag could maintane total phenolic compound level better than PP. Baby corn cv. PA271 had lower respiration rate when packed in modified PP films throughout the storage period. After 21 days of storage. Baby corm cv. SG20 kept in PP showed the highest respiration rate before this treatment was eliminated because of its appearance of water soaking and fermentation odor. Measuring vitamin C content in both cultivars of baby corn found no significantly differrance among all treatments, excepted in cv. SG20, vitsmon C content increased after 35 days after storage in PP + 1% lay treatment which was higher than in PP + 1% clay + 5% magnetite significantly. There was no significant difference in fiber content of baby corn during storage. Moreover. modified PP film could preserve total soluble sugar level in both baby corn cultivars. Taken together, modified polypropylene film could maintain quality of baby corn cv. PA271 after harvesting for 28 days and 35 days for cv. SG20 at 5 degree Celsius by maintaining overall appearance, reducing polyphenol oxidase activity and respiration rate, maintaining vitamin C content, and delaying loss of total soluble sugar content. |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พฤกษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77914 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1950 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1950 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pariyakorn_pe_front_p.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pariyakorn_pe_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 730.84 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pariyakorn_pe_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pariyakorn_pe_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 975.55 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pariyakorn_pe_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pariyakorn_pe_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pariyakorn_pe_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 655.75 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pariyakorn_pe_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.